18/04/2024
น้องคำพู เชียงตุง > อยากรู้ว่า > ปฏิทินไทขืนเชียงตุง

ปฏิทินไทขืนเชียงตุง

มารู้จักเกี่ยวกับเดือนของเมืองเชียงตุง คร่าวๆ ดังนี้ ขอย้อนมาที่ปฏิทินไทย
ในปัจจุบันซึ่งเป็นรูปแบบ ปฏิทินสุริยคติไทย และใช้เป็นทางการ จะเริ่มนับที่ 1 มกราคม เป็นวันปีใหม่
ซึ่งก่อนนี้ประเทศไทยก็ใช้งานปฏิทินในรูปแบบ ปฏิทินจันทรคติไทย ปฏิทินที่นับตามคติการโคจรของ
ดวงจันทร์ โดยอาศัยปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และปัจจุบันก็ยังมีใช้งานอยู่ สำหรับกำหนดหรือแสดง
วันพระ หรือวันสำคัญทางพุทธศาสนาต่างๆ โดยจะนับ วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 เป็นวันปีใหม่ หรือถ้าจะนับจาก
เทศกาลก็อาจจะดูวันลอยกระทง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 นับไปอีก 15 วัน ก็จะเป็นวันขึ้น 1 เดือน 1 หรือเดือน
อ้ายในรูปแบบคำโบราณเรียก

ซึ่งชาวเชียงตุง ก็ยังใช้งานรูปแบบของเดือนทางจันทรคติ ในปฏิทิน ดังนั้นวันพระ
และวันสำคัญทางศาสนาก็จะตรงกับทางเมืองไทย เพียงแต่มีข้อแตกต่างคือ เดือนของเชียงตุง จะนับเร็วกว่าเดือน
ของแบบไทย 1 เดือน สมมติเช่น วันออกพรรษา เมืองไทยจะเป็น ขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ที่เชียงตุง จะเป็นขึ้น 15 ค่ำ
เดือน 12 แบบนี้เป็นต้น

**แต่ก็ไม่ตรงหรือเหมือนกันทุกปี บางปี วันเข้าพรรษา และออกพรรษา จะขยับ
เข้ามาเร็วกว่าไทย 1 เดือน ก็เป็นได้ เช่นปี 2566 เข้าพรรษาที่เชียงตุงจะเริ่ม 2
กรกฏาคม ของไทยเป้น 2 สิงหาคม และ ออกพรรษาเชียงตุงเป็น 29 กันยายน
ของไทยเป็น 29 ตุงลาคม ทั้งนี้ก็เพราะว่าในบางปี ที่ไทยมีเดือน 8 สองหน
ทางเชียงตุงจะเป็นเดือน 9 สองหน(เดือน 99 หรือ เดือน 9 ครั้งที่ 2) และเข้าพรรษา
ก็จะเป็นช่วง เดือน 9 ถึงเดือน 12 เป็นระยะเวลา 3 เดือน จึงใช้เป็นเดือน 9 ครั้งที่ 2
ซึ่งก็จะทำให้วันเข้าพรรษาและออกพรรษาไม่ต่างจากที่ไทยมากนัก แต่ปรากฏว่า
ในบางปี เดือนที่ไทยมีเดือน 8 สองหน แต่ปีนั้นๆ ทางเชียงตุง มีเดือน 9 หนเดียว

จึงใช้เดือน 9 แรก เป็นช่วงเข้าพรรษาแทนจึงเร็วกว่าไทยประมาณ 1 เดือน เป็นต้น

วันปีใหม่ของไทขืนจะอยู่ในช่วงวันสงกรานต์เดือนหกของไทขืน และประมาณ
เดือนเมษายนของปฏิทินสากล จะเริ่มเฉลิมฉลองตั้งแต่วันสงกรานต์ ต่อไปวันเนา และวันพระยาวันมา
ของไทขืน ถ้าเทียบกับเมืองไทย ก็จะเป็น วันมหาสงกรานต์ ต่อด้วยวันเนา และจบที่วันเถลิงศก
มักจะตรงกับวันที่ 16 เมษายน ซึ่งเป็นวันขึ้น จุลศักราชใหม่ แต่เวลาของการเถลิงศกที่สำหรับ
ขึ้นจุลศักราชใหม่ อาจจะอยู่ในช่วงบ่าย ของวันที่ 16 ดังนั้นอาจจะด้วยรูปแบบนี้ วันเริ่มปีใหม่ของไทขืน
จึงอาจจะนับไปเป็นวันที่ 17 เมษายน หรือหลังวันพระยาวันมา 1 วัน ก็ได้
ดังนั้นเพื่อไม่ให้สับสนกับคำว่าวันปีใหม่ไทขืน กับ วันเริ่มปีใหม่ ให้เราเข้าใจคร่าวๆ ว่าเป็นช่วง
วันเทศกาลปีใหม่ไทขืนจะเริ่มในช่วงวันสงกรานต์เป็นต้นไป

ลองเปรียบเทียบวันของไทย – วันไทขืน – และกิจกรรมที่ยืดปฏิบัติของคนไทขืนในเชียงตุง

วันมหาสงกรานต์ – วันสงกรานต์ – วันกินข้าวซอย
วันเนา – วันเนา – วันทำขนมแอ๊ป
วันเถลิงศก – วันพระยาวันมา – วันเที่ยวทำบุญวัดต่างๆ

***คำว่า เนา ใน ภาษาสันสกฤต คือ นว ภาษากรีก คือ นีโอ (neo) ภาษาอังกฤษ คือ นิว (new) แปลว่าใหม่
ในภาษาไทย คำว่า เนา เป็นคำเรียกวันที่อยู่ระหว่างวันมหาสงกรานต์กับวันเถลิงศก ว่า วันเนา เป็นวันที่คาบเกี่ยวระหว่างวันที่พระอาทิตย์โคจรจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ วันเนา มีความหมายว่า วันนิ่ง


ปฏิทินของไทยขืนจะมีคาบเกี่ยวของ 2 ปี คือ เริ่ม 16 (หรือ 17) เมษายน ปีปัจจุบัน ถึง 15 (หรือ 16) เมษายน
ของปีถัดไป ปีไทขืนใช้จุลศักราช คิดจากปี พ.ศ. ลบด้วย 1181 ถ้าปีนี้คือปี 2565 ก็จะเป็นปี 1384
เวลาขึ้นปีปฏิทินก็จะเริ่มตั้งแต่เดือน 6
ในปีที่มีแปดสองหน ตามปฏิทินไทย ในปฏิทินไทขืน จะเป็นเดือนเก้าสองหน

ด้านล่างเป็นปฏิทินไทขืนประยุกต์ที่บอกเดือนและข้างขื้นข้างแรมตามปฏิทินไทขืน
**สามารถเลือกดูเดือนที่ต้องการและดาวน์โหลดรูปภาพปฏิทินไทขืนเดือนนั้นๆ ได้
**สร้างปฏิทินไทขืนด้วยรูปภาพส่วนตัว บันทึกไว้ใช้หรือส่งให้เพื่อนได้

เดือน-ปี

เปลี่ยนรูปภาพ :
เลือกรูปจากเครื่อง
รูปภาพแนวนอน กว้าง 580px ขึ้นไป

*ดูผ่านมือถือ หรือหน้าจอเล็ก ปัดเลื่อนซ้ายขวาเพื่อดูปฏิทิน

ตัวอักษรขืน ในปฏิทิน และการใช้งาน

ข้างขึ้น จะใช้เป็น เดือนขื้น ᩮᨯ᩠ᨶᩨᨡ᩠ᨶᩨᩢ หรือ เดือนออก ᨯᩮ᩠ᨶᩨᩋ᩠ᩋᨠ
ข้างแรม จะใช้เป็น เดือนแรม ᩮᨯ᩠ᨶᩨᩯᩁ᩠ᨾ หรือ เดือนลง ᩮᨯ᩠ᨶᩨᩃ᩠ᨦᩫ
วันพระทั้ง 4 วันในแต่ละเดือน จะเรียกว่า วันศีล ᩅ᩠ᨶᩢᩈᩦ᩠ᩃ
ขึ้น 15 ค่ำ วันเพ็ญ จะเรียก เดือนแปง ᨯᩮ᩠ᨶᩨᨻᩯ᩠ᨦ / ᨯᩮ᩠ᨶᩨᨻᩮ᩠ᨦ
แรม 14 ค่ำ ( หรือ แรม 15 ค่ำ ถ้าเดือนนั้นมีแรม 15 ค่ำ) จะเรียก เดือนดับ ᨯᩮ᩠ᨶᩨᨯ᩠ᨷᩢ

สีแสดงวันที่มีกาดหรือตลาดในปฏิทิน ของเชียงตุง

ᩅ᩠ᨶᩢᨠᩣ᩠ᨯ ᪅ ᩅ᩠ᨶᩢᨤ᩠ᩋᨷ วันกาด หรือวันที่มีตลาดแต่ละที่ของเชียงตุง

  • ᩅ᩠ᨶᩢᨠᩣ᩠ᨯᨳᩢᩣ᩠ᨿ ตลาดกาดถ้าย
  • ᩅ᩠ᨶᩢᨠᩣ᩠ᨯᨼᩢᩣ ตลาดกาดฟ้า
  • ᩅ᩠ᨶᩢᨠᩣ᩠ᨯᨲᩩᨦ ตลาดกาดตุง
  • ᩅ᩠ᨶᩢᨠᩣ᩠ᨯᨷᩩᩢᨦ ตลาดกาดบุ้ง
  • ᩅ᩠ᨶᩢᨠᩣ᩠ᨯᨴᩮᩤᩢ᩵ ตลาดกาดเต่า

การเทียบปีปฏิทิน

เทียบ ปีจุลศักราช ต่างกับ คริสต์ศักราช ปี ค.ศ. ลบ ด้วย 638
เทียบ ปีจุลศักราช ต่างกับ พุทธศักราช ปี พ.ศ. ลบ ด้วย 1181
ปีของปฏิทินไทขืน จะคาบเกี่ยวของสองปี เนื่องจากเริ่มปีตั้งแต่เดือนหก ของปีก่อนหน้า
เช่น สมมติขณะนี้เป็นปี 2565 แสดงว่า ต้นปีของจุลศักราชจะเป็น เดือนหก
ของปี 2564 หรือ จุลศักราชที่ 1383
ดังนั้นคาบเกี่ยวของปีแต่ละแบบจะเป็นดังนี้
จ.ศ. 1383 - 1384
ค.ศ. 2021 - 2022
พ.ศ. 2564 - 2565

ประเพณีไทขืน ทั้ง 12 เดือน

ประเพณีไทขืนทั้ง 12 เดือน ดูเพิ่มเติมคลิก

ตัวอย่างหน้าตาปฏิทินไทขืน

อยากอ่านภาษาขืน / ไทขืน / ไทธรรม

แชร์เนื้อหานี้