มาถึงตอนสุดท้ายของการฝึกอ่านคำภาษาขืน จากบทท่องพยัญชนะ ลำดับที่
32 – 42 เป็น 11 ตัวสุดท้าย ถึงแม้ว่า รูปแบบจะคล้ายๆ กับหลายๆ ตัวที่ผ่านมา
แต่การทบทวนซ้ำๆ ก็จะทำให้เราคุ้นชินกับการอ่านภาษาขืนได้ง่ายขึ้น ซึ่งก็คือ
เราได้ฝึกจำตัวพยัญชนะบ่อยๆ เวลาอ่านก็จะอ่านได้ไหลลื่นขึ้น
32. ᩀ ᩀᩪ᩵ ᨶ᩠ᨦᩢ᩵ᨻᩕ᩠ᩋᩢᨾᨣᩪ᩵ᨶᩱᩁᩮ᩠ᨶᩨ
ᩀ – อย่ะ – อยู่ = นั่งพร้อมคู่ในเรือน
คำว่า อยู่ ᩀᩪ᩵ กับ คู่ ᨣᩪ᩵ เขียนรูปแบบคล้ายกัน
คำว่า พร้อม ᨻᩕ᩠ᩋᩢᨾ มีอักษรรวมกันค่อยข้างเยอะ และมีการควบกล้ำ พร๊ะ
เวลาพิมพ์ในแป้นพิมพ์ภาษาขืน จะพิมพ์ ᨻ + ᩕ + ᩠ᩋ + ᩢ + ᨾ ตามลำดับ
สำหรับคำว่า ᨶ᩠ᨦᩢ᩵ᨻᩕ᩠ᩋᩢᨾᨣᩪ᩵ᨶᩱᩁᩮ᩠ᨶᩨ แยกออกได้เป็นดังนี้
ᨶ᩠ᨦᩢ᩵ – ᨻᩕ᩠ᩋᩢᨾ – ᨣᩪ᩵ – ᨶᩱ – ᩁᩮ᩠ᨶᩨ
นั่ง – พร้อม – คู่ – ใน – เรือน
33. ᩁ ᩁᩮ᩠ᩋᩨ ᨡᩦ᩵ᨽᩣ᩠ᨿᨾᩮ᩠ᩋᩨᨶᩱᨶᩣᩴᩢ
ᩁ – ร่ะ – เรือ = ขี่ภายเมือในน้ำ
คำว่า เรือ ᩁᩮ᩠ᩋᩨ กับ เมือ ᨾᩮ᩠ᩋᩨ เขียนรูปแบบคล้ายกัน สะกดออกเสียงคล้ายภาษาไทย
ตามที่อธิบายไปบ้างแล้วตัว ร๊ะ จะใช้ในภาษาเขียนแต่เวลาออกเสียงมักเป็นตัว ฮ๊ะ แต่ก็
ไม่ทุกตัวเสมอไป นอกจากนั้นตัว ร๊ะ มักใช้แทนตัวสะกด น๊ะ ในบางกรณี เช่น ᩁ᩠ᨿᩁ
สำหรับคำว่า ᨡᩦ᩵ᨽᩣ᩠ᨿᨾᩮ᩠ᩋᩨᨶᩱᨶᩣᩴᩢ แยกออกได้เป็นดังนี้
ᨡᩦ᩵ – ᨽᩣ᩠ᨿ – ᨾᩮ᩠ᩋᩨ – ᨶᩱ – ᨶᩣᩴᩢ
ขี่ – ภาย – เมือ – ใน – น้ำ
34. ᩃ ᩃ᩠ᨦᩥ ᨶ᩠ᨦᩢ᩵ᩋ᩠ᨦᩥᨴᩦ᩵ᨦ᩵ᩣ᩠ᨾᨾᩱᩢ / ᨠ᩠ᨦᩥ᩵ᩱᨾᩢ
ᩃ – ล่ะ – ลิง = นั่งอิงที่ง่ามไม้ / กิ่งไม้
คำว่า ลิง ᩃ᩠ᨦᩥ กับ อิง ᩋ᩠ᨦᩥ และ กิ่ง ᨠ᩠ᨦᩥ᩵ ใช้รูปแบบการสะกดคล้ายกัน ในตัวอย่างคำอ่าน
ของบทท่องพยัญชนะข้างต้น นำมาจากสองที่ จึงมีลงท้ายต่างกันระหว่าง ง่ามไม้ กับ กิ่งไม้
เลยเอามาอธิบายทั้งสองส่วน
ตัว ล๊ะ จะมีที่แตกต่างอยู่ด้วยกัน 3 – 4 แบบ คือ
ล๊ะ ᩃ ปกติ
ล๊ะ ᩠ᩃ ที่ใช้เป็นตัวควบกล้ำ หรือตัวซ้อน ในแป้นพิมพ์ภาษาขืน จะพิมพ์ ᩠ + ᩃ จะได้เป็น ᩠ᩃ
ล๊ะ ᩖ ที่ใช้เป็นตัวควบกลั้า หรือตัวซ้อนอีกตัว ในแป้นพิมพ์ภาษาขืน จะอยู่ ใกล้แป้น shift ฝั่งขวา
ถ้าแป้นภาษาไทย คือแป้นตัว ฝ โดยกด shift ค้างแล้วพิมพ์ จะได้เป็น ᩖ รูปแบบจะคล้ายแบบแรก
เพียงแต่ไม่มีหาง
และตัวสุดท้ายตัว แล ᩓ ในคำตาย อยู่ที่ตำแหน่งตำแหน่ง ตัว ล๊ะ ᩃ ปกติ เพียงแต่กด shift ก่อนพิมพ์
ตัว แล ᩓ ในคำตายก็เช่นคำว่า และ ᩓᩢ กับคำว่า แล้ว ᩓ᩠ᩅᩢ
สำหรับคำว่า ᨶ᩠ᨦᩢ᩵ᩋ᩠ᨦᩥᨴᩦ᩵ᨦ᩵ᩣ᩠ᨾᨾᩱᩢ / ᨠ᩠ᨦᩥ᩵ᩱᨾᩢ แยกออกได้เป็นดังนี้
ᨶ᩠ᨦᩢ᩵ – ᩋ᩠ᨦᩥ – ᨴᩦ᩵ – ᨦ᩵ᩣ᩠ᨾ – ᨾᩱᩢ / ᨠ᩠ᨦᩥ᩵ – ᩱᨾᩢ
นั่ง – อิง – ที่ – ง่าม – ไม้ / กิ่ง – ไม้
35. ᩅ ᩅ᩠ᩅᩫ ᩁ᩠ᩋᩢᨦᩉ᩠ᩅᨯᩋ᩠ᩅᩫᨠᩣ᩠ᨦᨴ᩠ᨦᩫ᩵
ᩅ – ว่ะ – วัว = ร้องหวดอั๊วก๋างต่ง (ต่ง คือ ทุ่ง)
คำว่า วัว ᩅ᩠ᩅᩫ กับ อั๊ว ᩋ᩠ᩅᩫ จะใช้สระไม้โก๋ เมื่อมีตัว ว๊ะ เป็นตัวสะกดจะเสียงคล้ายๆ โก๋ว หรือ กัว
ดังนั้น พยัญชนะที่เข้ามาแทนก็จะผันเสียงตามพยัญชนะนั้น
สำหรับคำว่า ᩁ᩠ᩋᩢᨦᩉ᩠ᩅᨯᩋ᩠ᩅᩫᨠᩣ᩠ᨦᨴ᩠ᨦᩫ᩵ แยกออกได้เป็นดังนี้
ᩁ᩠ᩋᩢᨦ – ᩉ᩠ᩅᨯ – ᩋ᩠ᩅᩫ – ᨠᩣ᩠ᨦ – ᨴ᩠ᨦᩫ᩵
ร้อง – หวด – อั๊ว – ก๋าง – ต่ง
36. ᩆ ᩋᩣᨠᩣ᩠ᩆ ᨧᩯ᩠ᨦᩢᩅᩅᩤ᩠ᨯᨠᩣ᩠ᨦᩉᩣ᩠ᩅ
ᩆ – ศ๊ะ – อากาศ = แจ้งวะวาดก๋างหาว
คำว่า อากาศ ᩋᩣᨠᩣ สะกดตามตัวคล้ายภาษาไทย ตัว ศ ᩆ เวลาพิมพ์ในแป้นพิมพ์
ภาษาชืน ต้องกดปุ่ม ctrl + alt + j
คำว่า วะวาด ᩅᩅᩤ᩠ᨯ ตัว ว๊ะ ไม่มีตัวสะกด จะออกเสียงสระอะ สำหรับคำอื่นๆ ก็ออกเสียงตามตัว
ᨧᩯ᩠ᨦᩢ – ᩅᩅᩤ᩠ᨯ – ᨠᩣ᩠ᨦ – ᩉᩣ᩠ᩅ
แจ้ง – วะวาด – ก๋าง – หาว
37. ᩇ ᩰᨴ᩠ᩇ ᨹᩱᨣᩢᩰᨷᩕ᩠ᨯᨷᩢᨯᩱᩢ
ᩇ – ษ๊ะ – โทษ = ไผ๋ก็โปรดบ่ได้
คำว่า โทษ ᩰᨴ᩠ᩇ สะกดออกเสียงคล้ายภาษาไทย ตัว ษ๊ะ ᩇ ปกติ เวลาพิมพ์ในแป้นพิมพ์
ภาษาชืน ต้องกดปุ่ม ctrl + alt + k คำข้างตันตัว ษ๊ะ ᩇ เขียนแบบตัวซ้อนจึงเป็น ᩠ᩇ
คำว่า ก็ ᨣᩢ กับ บ่ ᨷᩢ มีรูปแบบการเขียนคล้ายกัน
สำหรับคำว่า ᨹᩱᨣᩢᩰᨷᩕ᩠ᨯᨷᩢᨯᩱᩢ แยกออกได้เป็นดังนี้
ᨹᩱ – ᨣᩢ – ᩰᨷᩕ᩠ᨯ – ᨷᩢ – ᨯᩱᩢ
ไผ๋ – ก็ – โปรด – บ่ – ได้
38. ᩈ ᩈᩮ᩠ᩋᩨ ᨶ᩠ᨦᩢ᩵ᩀᩪ᩵ᩉᩮ᩠ᨶᩨᩋᨲᩩᨾᨾᩱᩢ
ᩈ – ส๊ะ – เสือ = นั่งอยู่เหนือตุ๋มไม้
คำว่า เสือ ᩈᩮ᩠ᩋᩨ กับ เหนือ ᩉᩮ᩠ᨶᩨᩋ มีรูปแบบการเขียนคล้ายกัน แต่สังเกตว่าคำว่ ᩉᩮ᩠ᨶᩨᩋ จะมี
อ๊ะ หรือ อ ต่อท้ายแบบไม้ซ้อน ในขณะที่คำว่า ᩈᩮ᩠ᩋᩨ มี อ แบบเขียนซ้อน ทั้งนี้ก็เพราะว่า คำว่า เหนือ
มี น๊ะ หรือ น เป็นตัวซ้อนอยู่แล้ว
สำหรับคำว่า ᨶ᩠ᨦᩢ᩵ᩀᩪ᩵ᩉᩮ᩠ᨶᩨᩋᨲᩩᨾᨾᩱᩢ แยกออกได้เป็น
ᨶ᩠ᨦᩢ᩵ – ᩀᩪ᩵ – ᩉᩮ᩠ᨶᩨᩋ – ᨲᩩᨾ – ᨾᩱᩢ
นั่ง – อยู่ – เหนือ – ตุ๋ม – ไม้
39. ᩉ ᩉᩭ ᨻᩱᩃᩭᪧᨶᩱᨶᩣᩴᩢ
ᩉ – ห๊ะ – หอย = ไปลอยๆในน้ำ
คำว่า หอย ᩉᩭ กับ ลอย ᩃᩭ มีรูปแบบการเขียนคล้ายกัน ตัว -อย ᩭ เวลาพิมพ์ในแป้นพิมพ์
ภาษาชืน ต้องกดปุ่ม shift + q
สำหรับคำว่า ᨻᩱᩃᩭᪧᨶᩱᨶᩣᩴᩢ แยกออกได้เป็น
ᨻᩱ – ᩃᩭᪧ – ᨶᩱ – ᨶᩣᩴᩢ
ไป – ลอยๆ – ใน – น้ำ
40. ᩊ ᨶᩣᩊᩥᨠᩣ ᨳ᩠ᨦᩨᩅᩮᩃᩣᨣᩢᨲᩭ᩵
ᩊ – ฬ่ะ – นาฬิกา = ถึงเวลาก็ต่อย
คำว่า นาฬิกา ᨶᩣᩊᩥᨠᩣ มีลักษณะคล้ายกับภาษาไทยเพียงแค่ใช้อักษรขืน ตัว ᨶ + ᩣ จะมีรูปแบบ
พิเศษ เป็น ᨶᩣ อ่านว่า นา เราคุ้นกับคำว่า น้ำ ᨶᩣᩴᩢ ที่ได้อธิบายไปบ้างแล้ว ตัว ฬ่ะ / ฬ ในภาษาไทยส่วนใหญ่
ก็ไม่ค่อยใช้เท่าไหร่ เช่นกันกับภาษาขืน แต่เราก็ต้องจำเอาไว้
สำหรับคำว่า ᨳ᩠ᨦᩨᩅᩮᩃᩣᨣᩢᨲᩭ᩵ แยกออกได้เป็นดังนี้
ᨳ᩠ᨦᩨ – ᩅᩮᩃᩣ – ᨣᩢ – ᨲᩭ᩵
ถึง – เวลา – ก็ – ต่อย
41. ᩋ ᩋ᩵ᩣ᩠ᨦ ᨠ᩠ᨶᩥᨶᩣᩴᩢᩋ᩵ᩣ᩠ᨦᨧ᩠ᨦᩥᨯᩣ᩠ᨿ
ᩋ – อ๊ะ – อ่าง = กิ๋นน้ำอ่างจิ๋งดาย
คำว่า อ่าง ᩋ᩵ᩣ᩠ᨦ สะกดออกเสียงตามตัวคล้ายภาษาไทย
ส่วนใหญ่เราจะพบตัว อ๊ะ หรือ อ ในรูปแบบตัวซ้อน ᩠ᩋ
สำหรับคำว่า ᨠ᩠ᨶᩥᨶᩣᩴᩢᩋ᩵ᩣ᩠ᨦᨧ᩠ᨦᩥᨯᩣ᩠ᨿ แยกออกได้เป็น
ᨠ᩠ᨶᩥ – ᨶᩣᩴᩢ – ᩋ᩵ᩣ᩠ᨦ – ᨧ᩠ᨦᩥ – ᨯᩣ᩠ᨿ
กิ๋น – น้ำ – อ่าง – จิ๋ง – ดาย
42. ᩌ ᩌᩨ ᩅ᩠ᨶᩢᩁᩨᨧᩢᨻᩱᩉᩱ᩠ᨶ
ᩌ – ฮ่ะ – ฮือ = วันรือจักไปไหน – มะรืนจะไปไหน
คำว่า ฮือ ᩌᩨ กับ รือ ᩁᩨ ใช้ไม้กื๋อ ออกเสียงคล้ายภาษาไทย
ตัว ฮ่ะ / ฮ ในภาษาไทยส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยใช้เท่าไหร่ เช่นกันกับภาษาขืน
แต่อาจจะเห็นบ่อยในบางคำ เช่น ฮ่า ᩌᩣ ที่มักใช้กับประโยคคำถาม
สำหรับคำว่า ᩅ᩠ᨶᩢᩁᩨᨧᩢᨻᩱᩉᩱ᩠ᨶ แยกออกได้เป็นดังนี้
ᩅ᩠ᨶᩢ – ᩁᩨ – ᨧᩢ – ᨻᩱ – ᩉᩱ᩠ᨶ
วัน – รือ – จัก – ไป – ไหน
จบไปแล้วกับการฝึกอ่านบทท่องพยัญชนะภาษาขืนทั้ง 42 ตัว สิ่งที่ผู้เขียนสังเกตเห็นความยากหรือ
อุปสรรคในการอ่านภาษาขืนคือ การที่พยัญชนะ ถูกนำมาเขียนซ้อนด้านล่าง ทำให้การกวาดสายตา
เพื่ออ่านข้อความภาษาขืน สำหรับคนที่ใช้ภาษาไทยจะดูลำบากในการฝึก เพราะในภาษาไทย ตัวพยัญชนะ
จะอยู่ในระนาบเดียวกันตลอดคำ เวลาอ่านทอดสายตา ก็จะอ่านยาวๆ ได้ ในขณะที่ภาษาขืน การที่เราจะ
อ่านจากคำแรกไปคำที่สอง เราต้องกวาดสายตา ขึ้นลงๆ เพื่อสังเกตว่า ตัวซ้อนเป็นพยัญชนะตัวไหน และ
ด้วยที่บางตัว พยัญชนะตัวซ้อน ก็มีการเปลี่ยนรูปไปจากปกติ หากศึกษาแรกๆ ก็อาจจะอ่านได้ช้า อย่างไร
ก็ตาม ถ้าฝึกฝนบ่อยๆ เราก็สามารถอ่านภาษาขืนได้คล่องได้