สระในภาษาขืน ไม่ค่อยชัดเจนในจำนวนมากนัก แตกต่างจะสระในภาษาไทย ในภาษาขืนมีการใช้สระที่มีตัวสะกด นับเป็นสระด้วย ทำให้ไม่สามารถบอกหรือแบ่งจำนวนได้ชัดเจน ต่อไปนี้คือสระเบื้องต้นที่มีใช้ในภาษาขืน จะเรียกชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ไม้ เช่น -ᩡ (เรียกว่า ไม้ก๊ะ) ถ้าเทียบกับภาษาไทย ก็คือสระ อะ
ᨠᩡ ᨠᩣ ᨠᩥ ᨠᩦ
ไม้ก๊ะ ไม้ก๋า ไม้กิ๊ ไม้กี๋
ᨠᩧ ᨠᩨ ᨠᩩ ᨠᩪ
ไม้กึ๊ ไม้กื๋อ ไม้กุ๊ ไม้กู๋
ᨠᩮᩡ ᨠᩮ ᨠᩯᩡ ᨠᩯ
ไม้เก๊ะ ไม้เก๋ ไม้แก๊ะ ไม้แก๋
ᨠᩰᩡ ᨠᩰ ᨠ᩠ᩅᩫᩡ ᨠ᩠ᩅᩫ
ไม้โก๊ะ ไม้โก๋ ไม้โก๊ะ ไม้โก๋
ᨠᩰ᩠ᩋᩡ ᨠᩳ ᨠᩮ᩠ᩋᩨᩡ ᨠᩮ᩠ᩋᩨ
ไม้เก๊าะ ไม้ก๋อ ไม้เก๊อะ ไม้เก๋อ
ᨠᩱ ᩱᨠ᩠ᨿ ᨠᩮᩢᩣ ᨠᩣᩴ
ไม้ไก๋ ไม้ไก๋ย ไม้เก๋า ไม้ก๋ำ
ᨠᨾ᩠ᨾ᩼ ᨠᩥᩴ ᨠᩴ ᨠᩘ
ไม้ก๋ำม๊ะ ไม้กิ๋ง ไม้กั๋ง(ต้อม) ไม้กั๋ง(ไหล)
ไม้ก๋า ในภาษาขีนจะมีด้วยกัน 2 รูปแบบคือ ᩣ กับ ᩤ เรียกว่าไม้ก๋า(น้อย) กับไม้ก๋าหลวง
หรือเข้าใจอย่างง่ายเทียบกับภาษาไทยก็คือ สระอาแบบสั้น และแบบยาว ซึ่งตัวสระอา
แบบยาว จะใช้เฉพาะตัวอักษร 5 ตัวดังนี้
ᨣᩤ ᨷᩤ ᨴᩤ ᩅᩤ ᨵᩤ
กา บา ทา วา ธา
ᨠᩣ᩠ᨿ ᨠᩣ᩠ᩅ ᨠ᩠ᩅᩥ ᨠᩭ
ไม้ก๋าย ไม้ก๋าว ไม้กิ๋ว ไม้ก๋อย
ᨠ᩠ᨿᩩ ᨠᩯ᩠ᩅ ᨠᩨ᩠ᨿ ᨠᩴ᩠ᨿ
ไม้กุ๋ย ไม้แก๋ว ไม้กื๋ย ไม้เกี๋ยว
ᨠ᩠ᩅ᩠ᨿ ᨠᩮᩨ᩠ᨿ
ไม้ก๋วย ไม้เก๋ย
ฟังการออกเสียง
นอกจากนี้ในภาษาขืนยังมีสระอีก 8 ตัวที่ใช้ในภาษาบาลี ได้แก่
โดยจะเป็นสระเสียงสั้น เสียงยาว คู่กัน 4 คู่ รวม 8 ตัวอักษร ตัวอย่างคำเช่น ᩍᨧ᩠ᨨᩣ อ่านว่า อิจฉา ถ้าเราไม่เข้าใจหรือไม่รู้มาก่อน
ว่าเป็นสระสำหรับใช้ในภาษาบาลี เราอาจจะเข้าใจผิดเป็นตัว ᨻ กับตัว ᨦ อาจจะเข้าใจเป็นคำว่า ปง แทนที่จะเป็นคำว่า อิ
สามารถพิมพ์ตัวสระพิเศษนี้ได้จาตำแหน่งตัวอักษรในแป้นพิมพ์ตามรูปด้านล่าง
การฝีกออกเสียง
วิธีฝึกออกเสียงผสมคำ ใช้รูปแบบดังนี้
(สระ) ใส่ (พยัญชนะ) ว่า (คำอ่านออกเสียง)
ตัวอย่างเช่น
ᨸᩡ – ไม้ก๊ะ ใส่ ป๊ะ ว่า ป๊ะ
ᨤᩣ – ไม้ก๋า ใส่ ฅ่ะ ว่า ฅา
ᨾᩣ – ไม้ก๋า ใส่ ม่ะ ว่า มา
ฝึกทดสอบผสมกับพยัญชนะในภาษาขืน
ตัวอย่างการฝึกประสมคำ
ตัวอย่างสมมติ เราต้องการคำว่า สาวสวย
เรามี พยัญชนะ สอ มี สระ อาว และ อวย (ในภาษาไทยไม่เรียกว่าสระแบบนี้ แต่สมมติเทียบเคียงภาษาขืน)
เราก็สามารถประสมคำเป็น สาวสวย โดยเอา พยัญชนะ กับ สระมาต่อกันได้เลย
เทียบเคียงกรณีกับภาษาขืน ก็จะเป็น
ᩈ + ᩣ᩠ᩅ = ᩈᩣ᩠ᩅ
ᩈ + ᩠ᩅ᩠ᨿ = ᩈ᩠ᩅ᩠ᨿ
รวมกัน ก็จะเป็น ᩈᩣ᩠ᩅᩈ᩠ᩅ᩠ᨿ
ให้เราจำไว้ว่า ภาษาขืน เมื่อมีการควบพยัญชนะ หรือการควบสระ เพื่อใช้ร่วมกัน ในบางกรณี ต้องลดรูปของตัวอักษรในลักษณะการซ้อน เช่น ตัว ᩣ กับ ᩅ หรือ ᩅ กับ ᨿ แต่ไม่ได้ถือเป็นรูปแบบตายตัวสำหรับทุกการใช้งาน เราต้องคอยจดจำ และปรับให้ถูกต้องเหมาะสม เพราะบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องลดรูปเป็นแบบซ้อนก็ได้