ตัวอักษรในภาษขืน มีทั้งหมด 42 ตัว มีรูปแบบการเรียกที่ใกล้เคียงกับภาษาไทย ทำให้เราสามารถจดจำได้ไม่ยากนัก
ต่อไปนี้คือตัวพยัญชนะ ในภาษาขืนทั้งหมด พร้อมรูปแบบการออกเสียง ในการออกเสียง อาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง แต่ไปในทำนองเดียวกัน พยัญชนะเป็นสิ่งสำคัญ แรกที่เราต้องจำรูปแบบ และการออกเสียงให้ได้
ᨠ – ก๊ะ – ไก่ = ไล่กั๋นอยู่ในสวน
ᨡ – ข๊ะ – ไข่ = มีอยู่ไว้ในรัง
ᨣ – ก่ะ/คะ – ควาย = นอนในคายแช่น้ำ
ᨤ – ฅ่ะ – คน = เตียวสนๆเข้ากาด (เตียว คือ เดิน, กาด คือ ตลาด)
ᨥ – ฆ่ะ – สังฆะ = สมณะฑุเจ้า (สังฆะ คือ สงฆ์)
ᨦ – ง่ะ – งู = หลืดมาชูฝั่งน้ำ (หลืด คือ เลื้อย)
ᨧ – จ๊ะ – จ๋าน (จาน) = ใส่เข้าหวานหื้อน้อง (เข้า คือ ข้าว)
ᨨ – ฉ๊ะ – ฉลาก (หรือ แฉ่ง -ฉิ่ง ก็ได้) = จ๋กลากออกมาดู (จ๋ก คือ ดึง,หยิบ)
ᨩ – จ่ะ – จ้าง (ช้าง) = มีอยู่ข้างดงหนา
ᨪ – ซ่ะ – ซิง (ซึง) = เด็ดทิงๆเสียงม่วน (เด็ด คือ ดีด)
ᨫ – ฌ่ะ – ฌาน = ป่ำเปงนานจิ่งได้ ( ป่ำเปง คือ บำเพ็ญ)
ᨬ – ญ่ะ – ญาต = เกิดร่วมชาติวงค์เดียว (ญาต คือ ญาติ)
ᨭ – ฏ๊ะ – ปฏิ = ปฏิบัติเย๊ดแป๋ง (ลงมือปฏิบัติ)
ᨮ – ฐ๊ะ – ฐาน (หรือ สะถี-เศรษฐี ก็ได้) = มีหลักฐานหมั่นแก่น (มีฐานะมั่งคง)
ᨯ – ด๊ะ – ดอย (ภูเขา) = ไก๋จ๋อยวอยส่อมช้ำ
ᨰ – ฒ่ะ – ฑุ = นั่งพร้องชุสูดธรรม (สูด คือ สวด)
ᨱ – ณ่ะ – เณร = อยู่วัดเรียนธรรมสูตร
ᨲ – ต๊ะ – เต่า = อยู่ในเหล่าเงื้อมฝา
ᨳ – ถ๊ะ – ถง (ถุง ย่าม) = ป๊ดป๋งลงจากบ่า (ป๊ดป๋ง คือ ปลด)
ᨴ – ต่ะ – ตุง-ทุง = ห้อยแกว๋นสูงกวัดแกว่ง
ᨵ – ธ่ะ – ธรรม = เป็นคำสอนพระเจ้า (พระเจ้า คือพุทธเจ้า)
ᨶ – น่ะ – นก = จั๊บอยู่ช๊อกเจ๋ฝา (ช๊อก คือ มุม)
ᨷ – บ๊ะ – บ้าน (บ้าน) = คนก่าวต้านเป็นเรือน
ᨸ – ป๊ะ – ป๋า (ปลา) = ลอยไปมาในน้ำ (ปลา คำขึน เรียก ป๋า)
ᨹ – ผ๊ะ – พึง (ผึ้ง) = บินอึ้งๆต๋อมรัง
ᨺ – ฝ๊ะ – ฝา = จงเอามาท้าหม้อ (ท้า คือ ห่ม)
ᨻ – ป่ะ – พับ-ปับ = คับกั๋นอยู่เป็นแถว (ปับ คือ หนังสือ)
ᨼ – ฟ่ะ – ฟาน = แล่นห๊กคานในเถื่อน (แล่น คือ วิ่ง , ห๊กคาน คือ กระโดด)
ᨽ – ภ่ะ – พริก = ต้นติ๊กสิ๊กใบเขียว
ᨾ – ม่ะ – แมว = กิ๋นของแควทุกเมื่อ (แคว คือ คาว)
ᨿ – ย่ะ – ยัก (ยักษ์) = อยู่ไป้รักษาดอย (ไป้ คือ เฝ้า)
ᩀ – อย่ะ – อยู่ = นั่งพร้อมคู่ในเรือน
ᩁ – ร่ะ – เรือ = ขี่ภายเมือในน้ำ
ᩃ – ล่ะ – ลิง = นั่งอิงที่ง่ามไม้
ᩅ – ว่ะ – วัว = ร้องหวดอั๊วก๋างต่ง (ต่ง คือ ทุ่ง)
ᩆ – ศ๊ะ – อากาศ = แจ้งวะวาดก๋างหาว
ᩇ – ษ๊ะ – โทษ = ไผ๋ก็โปรดบ่ได้
ᩈ – ส๊ะ – เสือ = นั่งอยู่เหนือตุ๋มไม้
ᩉ – ห๊ะ – หอย = ไปลอยๆในน้ำ
ᩊ – ฬ่ะ – นาฬิกา = ถึงเวลาก็ต่อย
ᩋ – อ๊ะ – อ่าง = กิ๋นน้ำอ่างจิ๋งดาย
ᩌ – ฮ่ะ – ฮือ = วันรือจักไปไหน – มะรืนจะไปไหน
ปกติแล้ว ตำแหน่งตัวอักษร ภาษาขีน ในแป้นพิมพ์ เกือบทุกตัวจะตรงหรือใกล้เคียงกับตำแหน่งในภาษาไทย
จะมีตัว ᩆ กับ ตัว ᩇ ที่ต้องกดปุ่ม ctrl + alt ฝั่งซ้ายค้างไว้ แล้วพิมพ์ตำแหน่งตัวอักษร ดังนี้
ตัว ᩆ กด ctrl + alt ฝั่งซ้ายค้างไว้ แล้วพิมพ์ j
ตัว ᩇ กด ctrl + alt ฝั่งซ้ายค้างไว้ แล้วพิมพ์ k
สำหรับตัว ᩀ จะอยู่ที่ตำแหน่งตัว a โดยให้กด shift แล้วกด a
ฟังการออกเสียง
ในพยัญชนะ 42 ตัว สามารถแบ่งออก ตามการออกเสียง เป็น เสียงกลาง เสียงต่ำ และ เสียงสูง ได้ดังนี้
ตัวเสียงกลาง
ตัวเสียงสูง
ตัวเสียงต่ำ
ตัว ᨣ หรือเทียบได้กับ ค ในภาษาไทย เวลาออกเสียงในภาษาขืน จะเป็นเหมือน ก
เช่นออกเสียงเป็น ก่ะ เช่นคำว่าควาย ก็จะเป็น กวาย และเพื่อไม่ให้
สับสนกับตัว ᨠ ก๊ะ กับตัว ᨣ ก่ะ ในตารางจึงใช้เป็นตัว คะ แทน
ถ้าเรารู้ว่าพยัญชนะใด อยู่ในเสียงใด ก็จะช่วยแยก และทำความเข้าใจจากเสียง หรือคำพูดได้ เพราะบางตัว มีการออกเสียงที่เหมือนกัน แต่ถ้า มีความสูงต่ำ ของเสียง ที่แตกต่างกัน ก็ทำให้สามารถรู้ได้ว่าเป็นตัวอักษรใด และน่าจะอยู่ในคำที่สื่อความหมายใด แบบนี้เป็นต้น
ในตอนหน้าเราจะมาเล่นเกมฝึกจำตัวพยัญชนะ ในภาษาขืนกัน