ปัจจัย หรือ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Suffix คือส่วนที่เติมท้ายคำเพื่อเปลี่ยนความหมายหรือหน้าที่ของคำนั้นๆ ซึ่งในภาษาพม่า จะมีด้วยกัน 2 ประเภทคือ นามปัจจัย และ กริยาปัจจัย ซึ่งก็คือ คำปัจจัยที่ผูกกับคำนาม และคำปัจจัยที่ผูกกับคำกริยาตามลำดับ
อุปสรรค หรือ ภาษาอังกฤษเรียกวา Prefix คือส่วนที่เติมด้านหน้าคำ เพื่อเปลี่ยนความหมายหรือหน้าที่ของคำนั้นๆ
นามปัจจัย
นามปัจจัยเป็นหน่วยคำผูกพันที่ทำหน้าที่ขยายนามเพื่อเสริมความหมายต่างๆ เช่น
นามปัจจัย ပဲ แบ (เท่านั้น)
ပဲ แบ เป็นปัจจัยเติมหลังนามเพื่อแสดงการเนันคำนวม มีความหมายเทียบได้กับ เท่านั้น และมักออก
เสียงพยัญชนะก้องว่า ဘဲ ดังเช่น
သူပဲ စားတယ် ။ — เขาเท่านั้นที่กิน
သူပဲ နေတယ် ။ — เขาเท่านั้นที่อยู่
သူပဲ မေးတယ် ။ — เขาเท่านั้นที่ถาม
သူပဲ ရေးတယ် ။ — เขาเท่านั้นที่เขียน
သူပဲ လာတယ် ။ — เขาเท่านั้นที่มา
นามปัจจัย ကော กอ (แล้ว…ล่ะ)
ကော กอ เป็นปัจจัยเดิมหลังนาม มักใช้ในประโยคคำถาม มีความหมายว่า แล้ว…ล่ะ เช่น
မနီ ကော်ဖီသောက်မယ် ။ မဖြူကော ဘာသောက်မလဲ ။
มะหนี่จะดื่มกาแฟ มะพยูล่ะจะดื่มอะไร
မမြ ဖျားတယ် ။ သူ့ကလေးကော ဖျားသလား ။
มะมยะเป็นไข้ ลูกของเขาล่ะเป็นไข้ไหม
အစ်ကို ပုဂံလာလည်မယ် ။ အစ်မကော လာလည်မလား ။
พี่ชายจะมาเที่ยวพุกาม พี่สาวล่ะจะมาไหม
นามปัจจัย လည်း แล (ก็…ด้วย)
လည်း แล เป็นนามปัจจัยแบบย้ำความ ใช้ในความหมาย ก็…ด้วย การใช้ လည်း จะวางไว้หลังคำนาม
ในประโยคถัดจากประโยคที่มีความเกี่ยวเนื่อง โดยที่คำนามนั้นอาจจะมีหน้าที่เป็นประธาน
หรือกรรมของประโยคก็ได้ มักใช้ในประโยคบอกเล่า เช่น
ဆရာ လာမယ် ။ ဆရာမလည်း လာမယ် ။
ครู(ชาย)จะมา ครู(หญิง)ก็จะมาด้วย
ဖေဖေ ဆာတယ် ။ မေမေလည်း ဆာတယ် ။
พ่อหิว แม่ก็หิวด้วย
ဖေဖေ ဖားသားစားမယ် ။ မေမေလည်း ဖားသားစားမယ် ။
พ่อจะกินเนื้อกบ แม่ก็จะกินเนื้อกบด้วย
ဘဘ လာလည်မယ် ။ မမလည်း လာလည်မယ် ။
ลุงจะมาเที่ยว พี่สาวก็จะมาเที่ยวด้วย
မဖြူ စာကူးမယ် ။ မမြလည်း စာကူးမယ် ။
มะพยูจะดัดลอกหนังสือ มะมยะก็จะดัดลอกหนังสือด้วย
ဖေဖေ ဆီးသီးစားတယ် ။ မာလကာသီးလည်း စားတယ် ။
พ่อกินพุทรา แล้วก็กินฝรั่งด้วย
မနီ ကော်ဖီသောက်မယ် ။ မဖြူလည်း ကော်ဖီသောက်မယ် ။
มะหนี่จะดื่มกาแฟ มะพยูก็จะดื่มกาแฟ
ညီလေး နို့သောက်မယ် ။ ညီမလေးလညါး နို့သောက်မယ် ။
น้องชายจะดื่มนม น้องสาวก็จะดื่มนม
အစ်ကို နောက်ကျတယ် ။ အစ်မလည်း နောက်ကျတယ် ။
พี่ชายสาย พี่สาวก็สายด้วย
ဦးနု တော်တယ် ။ ဦးအေးလည်း တော်တယ် ။
อูนุ้เก่ง อูเอก็เก่ง
မအိ ပန်းသီးဝယ်မယ် ။ သူက မာလိာသီးကိုလည်း ဝယ်မယ် ။
มะอิจะซื้อแอปเปิ้ล เขาก็จะซื้อฝรั่งด้วย
အစ်ကို နို့သောက်မယ် ။ သူက ကော်ဖီကိုလည်း သောက်မယ် ။
พี่ชายจะดื่มนม เขาก็จะดื่มกาแฟด้วย
นามปัจจัย လောက် เล่า (ราว,สัก)
လောက် เล่า เป็นปัจจัยวางท้ายนาม แสดงจำนวนโดยประมาณ มีความหมายว่า ราว,สัก เช่น
ပဝါ ၅ ထည်လောက် ဝယ်မယ် ။ — จะซื้อผ้าคลุมไหล่ราว 5 ผืน
ရေ ၁ ဗူးလောက် ပေးပါ ။ — ขอน้ำสัก 1 ขวด
လယ် ၄ ဧကလောက် ဝယ်ခဲ့တယ် ။ — ได้ซื้อนาราว 4 เอเคอร์
လူ ၄၅ ယောက်လောက် သေတယ် ။ — คนตายราว 45 คน
นามปัจจัย မှ หมะ (เท่านั้น)
မှ หมะ เป็นนามปัจจัยเนันความ ใช้เกาะหลังคำนามที่ถูกเนัน แปลว่า เท่านั้น เช่น
သူမှ သိလိမ့်မယ် ။ — เขาเท่านั้นที่น่าจะรู้
သမီးက သူ့ကိုမှ ချစ်မိတယ် ။ — หนูรักเพียงเขาเท่านั้น
นามปัจจัย မှ มักใช้ในรูปประโยดปฏิเสธ เทียบได้กับ สัก ในภาษาไทย เช่น ไม่เอาสักอย่าง ไม่มีสักคน
ส่วนมากใช้ မှ กับนามวลีแสดงจำนวน ในรูปแบบ
นามหลัก + จำนวน + คำลักษณะนาม + မှ
ကားတစ်စီးမှ မဝယ်ချင်ဘူး ။ — ไม่อยากซื้อรถสักคัน
ထမင်းတစ်ထုပ်မှ မပါလာဘူး ။ — ไม่มีข้าวมาสักห่อ
ရေတစ်ဗူးမှ မပေးဘူး ။ — ไม่ให้น้ำสักขวด
လူတစ်ယောက်မှ မလာဘူး ။ — ไม่มีคนมาสักคน
ในบางกรณีอาจละคำนามหลักในนามวสีได้ โดยให้เหลือเฉพาะ
จำนวน + คำลักษณะนาม + မှ
တစ်ခုမှ မပေးဘူး ။ — ไม่ให้สักอัน
တစ်ခုမှ မဝယ်ချင်ဘူး ။ — ไม่อยากซื้อสักอัน
တစ်စီးမှ မဝယ်ချင်ဘူး ။ — ไม่อยากซื้อสักคัน
တစ်ပြားမှ မပေးဘူး ။ — ไม่ให้สักสดางค์
တစ်ယောက်မှ မလာဘူး ။ — ไม่มาสักคน
นามปัจจัย မှ ยังอาจใช้กับการแสดงคำถามแบบปฏิเสธ เพื่อแสดงความหมายไม่เจาะจง
เช่น อะไรสักอย่าง อันไหนสักอย่าง หรือ ใครสักคน ดังเช่น
ဘာမှ บ่าหมะ ใช้ในการปฏิเสธ มีความหมายว่า ไม่ (อะไร… สักอย่าง เช่น
ဘာမှ မကြားဘူး ။ — ไม่ได้ยินอะไรสักอย่าง
ဘာမှ မကြိုက်ဘူး ။ — ไม่ชอบสักอย่าง
ဘာမှ မစားတော့ဘူး ။ — ไม่กินอะไรอีกแล้ว
ဘာမှ မပြောဘူး ။ — ไม่พูดอะไรสักอย่าง
ဘာမှ မယူပါဘူး ။ — ไม่เอาสักอย่าง
ဘာမှ မလိုချင်ဘူး ။ — ไม่อยากได้สักอย่าง
ဘာမှ မလုပ်ဘူး ။ — ไม่ทำอะไรสักอย่าง
ဘာမှ မဝယ်ဘူး ။ — ไม่ซื้ออะไรสักอย่าง
ဘာမှ မသိဘူး ။ — ไม่รู้อะไรสักอย่าง
ဘယ်မှ แบ่หมะ สักที่.สักแห่ง ใช้ในการปฏิเสธ มีความหมาย ไม่ …สักแห่ง เช่น
ဘယ်မှ မရောက်ဖူးဘူး ။ — ไม่เคยไปถึงไหนสักแห่ง
ဘယ်သူမှ แบ่ตู่หมะ สักคน ใช้ในการปฏิเสธส่วนประธาน มีความหมาย ไม่มีใคร…สักคน เช่น
ဘယ်သူမှ မကြောက်ဘူး ။ — ไม่มีใครกลัวสักคน
ဘယ်သူမှ မငြင်းဘူး ။ — ไม่มีใครแย้งสักคน
ဘယ်သူမှ မနိုးသေးဘူး ။ — ยังไม่มีใครตื่นสักคน
ဘယ်သူမှ မမြင်ဘူး ။ — ไม่มีใครเห็นสักคน
ဘယ်သူမှ မမေးချင်ဘူး ။ — ไม่มีใครอยากถามสักคน
ဘယ်သူမှ မမှားဘူး ။ — ไม่มีใครผิดสักคน
ဘယ်သူမှ မရောက်သေးဘူး ။ — ยังไม่มีใครมาถึงสักคน
ဘယ်သူမှ မလိုက်ဘူး ။ — ไม่มีใครตามสักคน
ဘယ်သူမှ မလှဘူး ။ — ไม่มีใครสวยสักคน
ဘယ်သူမှ သူ့ကို မချစ်ဘူး ။ — ไม่มีใครสักคนรักเขา
ဘယ်သူမှ သူ့ကို မကြိုက်ဘူး ။ — ไม่มีใครสักคนชอบเขา
ဘယ်သူ့ကိုမှ แบ่ตู้โก่หมะ สักคน ไช้ในการปฏิเสธส่วนกรรม มีความหมาย ไม่…ใครสักคน เช่น
ဘယ်သူ့ကိုမှ မကိုက်ဘူး ။ — ไม่กัดใครสักคน
ဘယ်သူ့ကိုမှ မခေါ်ဘူး ။ — ไม่เรียกใครสักคน
ဘယ်သူ့ကိုမှ မချိန်းထားဘူး ။ — ไม่ได้นัดใครไว้สักคน
ဘယ်သူ့ကိုမှ မပေးချင်ဘူး ။ — ไม่อยากให้ใครสักคน
မမြက ဘယ်သူ့ကိုမှ မကြိုက်ဘူး ။ — มะ-มยะไม่ชอบใครสักคน
သူက ဘယ်သူ့ကိုမှ မချစ်ဘူး ။ — เขาไม่รักใครสักคน
นามปัจจัย မှု หมุ (การ, ความ)
မှု หมุ มีความหมายว่า การ หรือ ความ
ကောင်း – ดี — ကောင်းမှု – ความดี
ဆိုး – เลว — ဆိုးမှု – ความเลย
စားသောက် – ดื่มกิน — စားမှုသောက်မှု – การบริโภค
นามปัจจัย ခြင်း ชิน (การ, ความ)
ခြင်း ชิน มีความหมายว่า การ หรือ ความ
သွား – ไป — သွားခြင်း – การไป
စား – กิน — စားခြင်း – การกิน
သွားလာ – ไปมา — သွားခြင်းလာခြင်း – การไปมา
นามปัจจัย တွေ ดเว (ทั้งหลาย)
တွေ ดเว เป็นปัจจัยแสดงพหูพจน์ มีความหมายว่า ทั้งหลาย เช่น
ကလေးတွေ ဆော့ကစားနေကြတယ် ။ — เด็กทั้งหลายกำลังเล่นซุกชน
ခွေးတွေ အမဲသားစားကြတယ် ။ — หมาทั้งหลายกินเนื้อวัว
ပန်းတွေ ပွင့်နေပြီ ။ — ดอกไม้ทั้งหลายบานแล้ว
ရဲတွေ လူဆိုးကို လိုက်ဖမ်းတယ် ။ — ตำรวจทั้งหลายตามจับผู้ร้าย
သားသမီးတွေ မိဘကို လေးစားကြရမယ် ။ — ลูกชายหญิงต้องเคารพบิดามารดา
นามปัจจัย တောင် ต่อง (ขนาด, แค่)
တောင် ต่อง เป็นปัจจัยสำหรับเน้นความ มีความหมายว่า ขนาด, แค่ เช่น
မဝါတောင် မနေရဲဘူး — ขนาดมะหว่ายังไม่กลัาอยู่เลย
မနီတောင် မမေးရဲဘူး ။ — ขนาดมะนียังไม่กล้าถามเลย
ဖေဖေတောင် မလာရဲဘူး ။ — ขนาดพ่อยังไม่กล้ามาเลย
นามปัจจัย တောင်မှ ต่องหมะ (ขนาด, แค่)
တောင်မှ ต่องหมะ เป็นปัจจัยสำหรับเน้นความ มีความหมายว่า ขนาด, แค่ เช่น
ဒီအကြောင်း မေမေတောင်မှ မသိဘူး ။ — ขนาดแม่ยังไม่รู้เรื่องนี้เลย
ဒါလေးတောင်မှ မလုပ်နိုင်ဘူးလား ။ — แค่นี้ยังทำไม่ได้หรือ
นามอุปสรรค အ- อะ (การ,ความ)
အ- อะ เป็นอุปสรรค ใช้ประกอบหน้าคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ เพื่อสร้างคำนาม เช่น
คำกริยาหรือคำวิเศษณ์ — คำนาม
ပိုင်း – แบ่ง — အပိုင်း – ท่อน,ตอน
ရူံး – แพ้ — အရူံး – การพ่ายแพ้
နိုင် – ชนะ — အနိုင် – ชัยชนะ
ဟောင်း – เก่า — အဟောင်း – ของเก่า
သစ် – ใหม่ — အသစ် – ของใหม่
ရောင်း – ขาย — အရောင်း – การขาย
သွားလာ – ไปมา — အသွားလာ – การไปมา
ပြောဆို – พูดจา — အပြောဆို – การพูดจา
กริยาปัจจัย
กริยาปัจจัยคือที่ใช้คำประกอบกริยาเพื่อแปลงกริยาให้ทำหน้าที่อื่น อาทิ เป็นส่วนขยาย เช่น
တဲ့ ที่ ซึ่ง และ မယ့် ที่จะ ซึ่งจะ หรือ ทำประโยคให้ทำหน้าที่ได้อย่างนามซึ่งเรียกว่าประโยคนาม
เช่น သလို คล้ายๆ
กริยาปัจจัย တဲ့ แด่ะ (ที่… ซึ่ง…)
တဲ့ แด่ะ เป็นกริยาปัจจัยที่ใช้สร้างประโยครองให้ใช้เป็นส่วนขยายในนามวลี กริยาปัจจัยตัวนี้เป็นรูปแปลง
ของ တယ် ซึ่งเป็นกริยาวิภัตติในประโยคปกติกาล กริยาปัจจัย တဲ့ จะมีความหมายเทียบได้กับ
ที่…. หรือ ซึ่ง…. สำหรับในภาษาพม่านั้น ประโยดรองที่ลงท้ายด้วย တဲ့ จะอยู่หน้าคำนามเพื่อ
ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายของนามนั้น เช่น
ส่วนขยาย – นามหลัก
ငယ်သေးတဲ့ – ကလေး – ငယ်သေးတဲ့ကလေး — เด็กที่ยังเยาว์อยู่
ပေးတဲ့ – စာ – ပေးတဲ့စာ — จดหมายที่ให้
သူခိုးပေါတဲ့ – နေရာ – သူခိုးပေါတဲ့နေရာ — สถานที่ที่ขโมยชุกชุม
ဝယ်ထားတဲ့ – ပုဆိုး – ဝယ်ထားတဲ့ပုဆိုး — โสร่งที่ซื้อไว้
กริยาปัจจัย တာ ด่า (การ)
တာ ด่า เป็นปัจจัยวางท้ายกริยา เพื่อเปลี่ยนกริยาให้เป็นนาม มีความหมาย การ มักใช้
ในการเล่าความ ในภาษาหม่านั้น หากจะพูดว่า กินน้อย จะใช้ว่า การกินน้อย เช่น
စားတာ နည်းတယ် ။ — (การ)กินน้อย
ရေးတာ မြန်တယ် ။ — (การ)เขียนไว
ပြောတာ တော်တယ် ။ — (การ)พูดเก่ง
กริยาปัจจัย လို့ โล้ะ (การ…นั้น)
လို့ โล้ะ เป็นปัจจัยวางท้ายกริยา เพื่อเปลี่ยนกริยาให้เป็นนาม มีความหมาย การ…นั้น
มักใช้ในการยืนยัน ในภาษาพม่านั้น หากจะถามว่า กินได้ไหม จะใช้ว่า การกินนั้นได้ไหม เช่น
စားလို့ ရလား ။ — กินได้ไหม
နေလို့ ရလား ။ — อยู่ได้ไหม
စားလို့ ရတယ် ။ — กินได้
နေလို့ ရတယ် ။ — อยู่ได้
ဖြေလို့ ရတယ် ။ — ตอบได้
မေးလို့ ရတယ် ။ — ถามได้
စားလို့ မရဘူး ။ — กินไม่ได้
နေလို့ မရဘူး ။ — อยู่ไม่ได้
ဖြေလို့ မရဘူး ။ — ตอบไม่ได้
မေးလို့ မရဘူး ။ — ถามไม่ได้
ရေးလို့ မရဘူး ။ — เขียนไม่ได้
လာလို့ မရဘူး ။ — มาไม่ได้
ဝယ်လို့ မရဘူး ။ — ซื้อไม่ได้
ကော်ဖီသောက်လို့ မရဘူး ။ — ดื่มกาแฟไม่ได้
ရေခဲစားလို့ မရဘူး ။ — กินน้ำแข็งไม่ได้
ရေအေးသောက်လို့ မရဘူးလား ။ — ดื่มน้ำเย็นไม่ได้หรือ
กริยาปัจจัย လို့ ကောင်း โล้ะ กอง (…ดี)
လို့ โล้ะ เป็นกริยาปัจจัยที่ใช้เกาะหลังคำกริยาเพื่อสร้างประโยครองให้มีลักษณะแบบประโยคนาม
เมื่อประกอบกันแล้วมักจะทำหน้าที่เป็นประเด็นของประโยค
กริยาปัจจัย လို့ มักใช้ร่วมกับกริยาหลัก ကောင်း กอง ในรูปแบบ
กริยา + လို့ + ကောင်းတယ်
มีความหมายว่า …ดี เช่น
စားလို့ ကောင်းတယ် ။ — กินอร่อย<การกินดี
နေလို့ ကောင်းတယ် ။ — อยู่สบาย<การอยู่ดี
သောက်လို့ ကောင်းတယ် ။ — ดื่มอร่อย<การดื่มดี
ในรูปปฏิเสธ จะใช้กับ မ …. ဘူး ดังเช่น
စားလို့ မကေင်းဘူး ။ — กินไม่อร่อย(กินไม่ดี)
နေလို့ မကေင်းဘူး ။ — อยู่ไม่สบาย
သောက်လို့ မကေင်းဘူး ။ — ดื่มไม่อร่อย
กริยาปัจจัย တုန်း โด่น
တုန်း โด่น จะใช้วางท้ายประโยดคำถามแบบเนื้อความ เทียบได้กับคำว่า လဲ ต่างกันที่
กิริยาปัจจัย လဲ ใช้ในภาษารูปแบบ ส่วนกริยาปัจจัย တုန်း นิยมใช้ในภาษาแบบชาวบ้าน
ตัวอย่างเช่น
ဘာကြီးတုန်း ။ — อะไรน่ะ
ဘာစားကြနေတုန်း ။ — กำลังกินอะไรกันอยู่
ဘာလုပ်ကြနေတုန်း ။ — กำลังทำอะไรกันอยู่
ဘယ်သူတုန်း ။ — ใคร
ဘယ်သူ့သားတုန်း ။ — ลูกใคร
กริยาปัจจัย အုံး โอ (ဦး อู) (ก่อน)
အုံး โอ มีความหมายว่า ก่อน ในภาษาพูดปกติมักเขียนว่า အုံး แต่ถ้าในภาษารูปแบบ
จะใช้รูป ဦး อู ตัวอย่างเช่น
ကယ်ပါအုံး ။ — ช่วยด้วย
စားပါအုံး ။ — กินก่อน(ชวนเชิญ)
နေပါအုံး ။ — อยู่ก่อน(รอเดี๋ยว)
လာပါအုံး ။ — มา(นี่)ก่อน
သွားပါအုံးမယ် ။ — จะไปก่อนนะ