เราได้รู้จักตัวอักษรพม่า สระ และวรรณยุกต์ บางส่วนไปแล้ว
ในเนื้อหานี้ จะมาดูวิธีการฝึกอ่าน การออกเสียงการผสมคำจากตัวอักษร สระ
และวรรณยุกต์ อย่างง่ายเบื้องต้นกัน เพื่อทำความเข้าใจในรูปแบบการฝึกการ
ออกเสียง
ตารางด้านล่าง เป็นการผสม ตัวอักษร ตัว
က စ ထ န หรือ ออกเสียง ก้ะ ซ้ะ ท้ะ และ น้ะ ตามลำดับ
โดยผสมกับสระ ာ (เยชะ) หรือสระอา ในภาษาไทย ในคอลัมน์ที่ 2
และคอลัมน์ที่ 3 จะเป็นการใช้วรรณยุกต์ း (วิจสะนะลงเป้า) เพื่อทำให้
ได้เสียงที่ยาว และหนักขึ้น เทียบได้กับเสียงสามัญในภาษาไทย
ข้อควรจำเพิ่มเติม สำหรับสระ ာ (เยชะสั้น) และสระ ါ (เยชะยาว)
ว่าเราจะเลือกใช้แบบสั้น หรือแบบยาว ขึ้นกับเงื่อนไขดังนี้คือ สำหรับสระ เยชะ (ยาว) จะใช้กับ
6 พยัญชนะนี้เท่านั้น ประกอบด้วย ခ ဂ င ဒ ပ ဝ หรือ ออกเสียง ข้ะ ก้ะ ง้ะ ด้ะ ป้ะ ว้ะ
ส่วนพยัญชนะที่เหลือ ก็ใช้สระ เยซะ (สั้น)
ถ้าเราลองเทียบ เสียงการสะกด แบบตัวอักษรไทย
สามารถเทียบเสียงได้ดังนี้
ပ ปอ – อ้ะ – ป้ะ สำหรับ พยัญชนะพม่า
ပါ ปอ – อ่า – ป่า สำหรับ พยัญชนะหม่าผสมสระพม่า
ပါး ปอ – อา – ปา สำหรับ พยัญชนะพม่าผสมสระพม่าผสมการผันเสียงสรรณยุกต์
ต่อไปเพื่อให้เห็นภาพ และเข้าใจสระพม่า เมื่อเทียบกับสระไทยมากขึ้น เราจะใช้
ตัวอักษรพยัญชนะ အ (อ้ะ) ผสมกับสระต่างๆ พร้อมผันรวมกับวรรณยุกต์
့ เอ้ากะมิ่น และ း วิจสะนะลงเป้า
จะเห็นว่าในบางกรณี ถ้าเกิดว่าเสียงที่ผสมกัน สั้นอยู่แล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องใส่ตัว ့ (เอ้ากะมิ่น) เพิ่มก็ได้
เช่นเดียวกัน ถ้าเกิดเป็นเสียงยาว อยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ตัว း (วิจสะนะลงเป้า) เพิ่มลงไป
ถ้าเราสังเกตอย่างง่าย เกี่ยวกับการออกเสียงภาษาพม่าเบื้องต้น จะอยู่ในรูปแบบ เสียง สามัญ เอก และโท
โดยถ้าออกเสียงสลับจากหลังมาหน้า เช่นคำว่า อู – อู่ – อุ้ แต่ก็ไม่ได้เหมือนเสียทีเดียว เพราะเสียงสำหรับ
ไม้โท จะเป็นเสียงทีสั้นลง จากรูปการใช้ตัว เอ้ากะมิ่น และเทียบกับสระในไทย ก็มีการเปลี่ยนรูปสระ จากสระอู
มาเป็นสระอุ หรือลักษณะลดครึ่งเสียงลงมา แต่เบื้องต้นก็ถือเป็นแนวทางสำหรับการจดจำได้ง่าย
อีกจุดช่วยจำก็คือ ตัว ့ (เอ้ากะมิ่น) และ း (วิจสะนะลงเป้า) ทำให้เราสามารถ
คาดเดาคำอ่านหรือการออกเสียงได้คร่าวๆ ดังนี้คือ ถ้าลงท้ายด้วย း (วิจสะนะลงเป้า)
ก็จะออกเสียงเป็นประมาณเสียงสามัญในภาษาไทย และถ้า มีตัว ့ (เอ้ากะมิ่น) ก็จะออก
เสียงประมาณมีไม้โท เป็นต้น และถ้าไม่มีทั้งสองตัวนี้ มักจะออกเสียงเป็นไม้เอก หลักนี้
ไม่ได้ตายตัว แต่สามารถเป็นจุดสังเกต เพิ่มความรวดเร็วในการจดจำการออกเสียงได้