วลี คือ กลุ่มคำที่เรียงต่อกัน ได้ใจความแต่ยังไม่เป็นประโยคสมบูรณ์ เช่น เย็นย่ำค่ำมืด รถยนต์คันนั้น
กริยาวลีและส่วนขยายในกริยาวลี
กริยาวลื คือ กลุ่มของคำในภาคกริยา กริยาวลีในภาษาพม่าจะประกอบด้วยกริยาหลัก
และกริยาวิภัตติเป็นหลัก นอกจากนี้ยังอาจมีกริยานำ หรือ กริยาช่วย มาประกอบได้ด้วย ดังเช่น
กริยาหลัก + กริยาช่วย
ယူလာတယ် ။
သယ်လာတယ် ။
ဝယ်လာတယ် ။
กริยานำ + กริยาหลัก
လာယူတယ် ။
လာသယ်တယ် ။
လာဝယ်တယ် ။
လာကယ်မယ် ။
လာနေတယ် ။
လာဆေးတယ် ။
กริยานำ + กริยาหลัก + กริยาช่วย
လာယူပေးတယ် ။
လာသယ်ပေးတယ် ။
လာဝယ်ပေးတယ် ။
လာကယ်ပေးမယ် ။
လာနေပေးတယ် ။
လာဆေးပေးတယ် ။
นอกจากนี้ ในส่วนของกริยาวลียังอาจมีส่วนขยายอื่นๆ อาทิ คำบัฏิเสธ และกริยาวิเศษณ์
มาประกอบอยู่หน้ากริยาหลักได้อีกด้วย ดูเพิ่มเติมในหัวข้อกริยาวิเศษณ์ และคำปฏิเสธในบทความ
ที่ผ่านมา
คำกริยาหรือคำวิเศษณ์บางคำสามารถทำหน้าที่เป็นกริยาวิเศษณ์ได้ ด้วยการซ้ำคำ เช่น
တိုး — တိုးတိုး — เบาๆ,ค่อยๆ(เสียง)
နည်း — နည်းနည်း — น้อยๆ
ဖြည်း — ဖြည်းဖြည်း — ช้าๆ
များ — များများ — มากๆ
ယုယ — ယုယုယယ — อย่างทะนุถนอม
ဝေး — ဝေးဝေး — ไกลๆ
အေးဆေး — အေးအေးဆေးဆေး — สบายๆ,ตามสบาย
กริยาวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายริยาในกริยาว โดยวางกริยาวิเศษณ์ไว้หน้ากรียาหลัก เช่น
တိုးတိုး မေးပါ ။ — ถามเบาๆ
နည်းနည်း ပေးတယ် ။ — ให้นิดหน่อย
ဖြည်းဖြည်း စားနေတယ် ။ — กำลังกินช้าๆ
များများ စားပါ ။ — กินมากๆ
များများ မပေးဘူး ။ — ไม่ให้เยอะๆ
ဝေးဝေး နေပါ ။ — อยู่ห่างๆ
ယုယုယယ မလာတယ် ။ — ยกมาอย่างทะนุถนอม
အေးအေးဆေးဆေး စားပါ ။ — กินตามสบายนะ
นามวลีและส่วนขยายนามในนามวลี
นามวลีหมายถึงกลุ่มคำที่ประกอบด้วยนามหลักพร้อมส่วนขยายความให้กับนามหลักหรือบ่งซี้นามหลัก
นามหลักอาจเป็นคำเดี่ยว คำประสม หรือ คำผสม ส่วนส่วนขยายในนามวลื ได้แก่ คำวิเศษณ์(หรือ
คำคุณศัพท์) คำนาม คำบ่งชี้ หรือ นามปัจจัย คำขยายมีรูปแบบการใช้ 2 แบบ คือ
ขยายนามเพื่อสร้างคำประสม และ
ขยายนามเพื่อขยายความเป็นนามวลี ดังนี้
การขยายนามในรูปแบบของคำประสม
การขยายนามแบบนี้ เป็นการสร้างถ้อยคำใหม่ ส่วนขยายมักเป็นคำวิเศษณ์และคำนาม ดังเช่น
คำประสมที่ขยายด้วยคำวิเศษณ์
คำวิเศษณ์ที่ขยายนามได้จะเรียกว่า นามวิเศษณ์ หรือ คุณศัพท์ ตำแหน่งของส่วนขยายที่เป็นคำ
วิเศษณ์จะอยู่หลังคำนาม เช่น
นามหลัก — ส่วนขยาย(คำวิเศษณ์)
ကလေး เด็ก + ငယ် เยาว์ — เด็กน้อย
ရေ น้ำ + အေး เย็น — ရေအေး น้ำเย็น
လူ คน + ပျို โสด — လူပျိူ หนุ่มโสด
လူ คน + အ บื้อ.โบ้ — လူအ คนบื้อ
လူ คน + အို แก่ — လူအို คนแก่
คำประสมที่ขยายด้วยคำนาม
ส่วนขยายอาจเป็นคำนาม โดยต้องวางส่วนขยายไว้หน้านามหลักที่ถูกขยาย เช่น
ส่วนขยาย(นาม) — นามหลัก
ဗမာ พม่า + အက การรำ — ဗမာအက รำพม่า
မိုး ฝน + ရာသီ ฤดู — မိုးရာသီ ฤดูฝน
မိုး ฝน + ရေ น้ำ — မိုးရေ น้ำฝน
မိုး ฝน + အခါ คราว — မိုးအခါ หน้าฝน
ယိုးဒယား ไทย + အက การรำ — ယိုးဒယားအက รำไทย
ယိုးဒယား ไทย + အစားအစား อาหาร — ယိုးဒယားအစားအစား อาหารไทย
การขยายนามในรูปแบบของนามวลี
การขยายนามลักษณะนี้เป็นการแต่งนามเข้าประโยค
ส่วนขยายในนามวลี ได้แก่ คำนามวิเศษณ์แบบซ้ำคำ คำบ่งชี้ และคำบอกพจน์ ดังเช่น
นามวลีที่ขยายด้วยนามวิเศษณ์แบบคำซ้ำ
นามวิเศษณ์อาจเกิดในรูปของดำซ้ำเมื่อเป็นส่วนขยายในนามวลี โตยวางไว้หลังนามที่ถูกขยาย เช่น
นามหลัก — ส่วนขยาย(คำนามวิเศษณ์)
ကား รถ + နီီနီ แดงๆ — ကားနီနီ รถยนต์แดงๆ
ရေ น้ำ + ရိုးရိုး ธรรมดาๆ — ရေရိုးရိုး น้ำธรรมดาๆ (น้ำเปล่า)
ရေ น้ำ + အေးအေး เย็นๆ — ရေအေးအေး น้ำเย็นๆ
အရသာ รส + ခါးခါး ขมๆ — အရသာခါးခါး รสขมๆ
အသား ผิว + မည်းမည်း ดำๆ — အသားမည်းမည်း ผิวดำๆ
นามวลีที่ขยายด้วยนามปัจจัยแสดงพจน์
တို့ โด้ะ พวก,เหล่า,บรรดา,ฝ้ายเป็นนามปัจจัยสำหรับนามหรือสรรพนาม ไช้แสดงพหูพจน์
วางไว้หลังคำนามที่ขยาย เช่น
ငါတို့ — พวกข้า
သူတို့ — พวกเขา
ဆရာမတို့ — เหล่าหรือฝ่ายครูหญิง
သမီးတို့ — บรรดาหรือฝ่ายลูกสาว
ဖေဖေတို့ — ฝ่าย(ของ)พ่อ
မမာလာတို့ — ฝ่าย(ของ)มะมาลา
မမြတို့ — ฝ่าย(ของ)มะมยะ
များ มยา ทั้งหลาย เป็นนามปัจจัยสำหรับนามหรือสรรพนาม ใช้แสดงพหูพจน์ วางไว้หลังคำ
นามที่ขยาย มักใข้ในภาษาเขียนหรือภาษารูปแบบ ส่วนที่ใช้ในรูปแบบภาษาพูดมีไม่มากนัก
เช่น သူများ ตู่มยา หมายถึง คนอื่น
นามวลีที่ขยายด้วยคำบ่งชี้
ဒီ ที นี้ และ ဟို โห่ นั้น เป็นคำบ่งขี้นาม ไช้วางไว้หน้าคำนามหลัก เช่น
ส่วนขยาย(คำบ่งชี้) — นามหลัก
ဒီ + ကလေး — ဒီကလေး (เด็ก(คน)นี้)
ဒီ + ည — ဒီည (คืนนี้)
ဒီ + နေရာ — ဒီနေရာ (สถานที่นี้)
ဒီ + နေ့ — ဒီနေ့ (วันนี้)
ဒီ + ဘဝ — ဒီဘဝ (ชาตินี้ ชีวิตนี้)
ဒီ + လ — ဒီလ (เดือนนี้)
ဒီ + လူ — ဒီလူ (คนนี้)
ဒီ + ဟာ — ဒီဟာ (สิ่งนี้)
ဟို + ကား — ဟိုကား (รถยนต์(คัน)น้้น)
ဟို + ဆရာမ — ဟိုဆရာမ (ครูผู้หญิง(คน)นั้น)
ဟို + နေရာ — ဟိုနေရာ (สถานที่นั้น)
ဟို + ဟာ — ဟိုဟာ (สิ่งนั้น)