เนื้อหานี้จะมาพูดถึงวิธีการฝึกจดจำสระต่างๆ ในภาษาไทใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นสระปกติ และสระผสม
หรือสระอื่นๆ ที่มีการใช้งานตัวสะกดเพิ่มเติม การที่เราจะมองออกว่าคำนั้น อ่านว่าอะไร เป็นแนวทางที่
ผู้เขียนพยายามทำความเข้าใจ และนำมาถ่ายทอดอีกที ไม่ได้เป็นรูปแบบที่เป็นหลักการใดๆ เป็นการนำ
เสนอในมุมองของผู้เขียนเท่านั้น หากผิดพลาดก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้
สิ่งแรกที่เราต้องรู้คือ พยัญชนะ เป็นตัวเริ่มต้นสำคัญของทุกๆ ภาษา
นั่นคือ ถ้ามีพยัญชนะตัวนี้ ต้องออกเสียงเป็นแบบนี้แบบนั้น ซึ่งถ้าเริ่มพยัญชนะผิด
คำนั้นก็จะผิดไปทั้งหมดในทันที
ส่วนต่อมาก็คือตัวสะกด ตัวสะกดก็ถือว่าสำคัญต้นๆ เช่นเดียวกับสระ แต่ที่ยกตัวสะกดมาก่อน ก็
เพราะว่าตัวสะกดจะมีส่วนที่ทำให้การออกเสียงของคำๆ นั้นเปลี่ยนแปลงไป เช่น คม ใช้ ม แต่ คน ใช้ น
ข้อสังเกตของตัวสะกดอีกอย่างที่สำคัญคือ เป็นส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยหากมองภาพรวมของคำ
ยกตัวอย่างเช่น เรียน กับ เรียบ จะเห็นว่า ข้อความเขียนมาเกือบจะเหมือนกันทั้งหมด แต่มาสะดุดตัวสะกด
ที่เปลี่ยนแปลงไป จาก น เป็น บ การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยนี้ ก็มีส่วนช่วยในการจดจำการออกเสียง เช่น สมมติ
เราคุันกับคำว่า เรียน – เรีย + น แต่ไม่คุ้นกับคำว่า เรียบ – เรีย + บ ทั้งสองคำมีตัวที่เหมือนกันคือคำว่า เรีย
เราก็สามารถใช้การเทียบเคียงบางส่วนของคำเพื่อไปประสมกับตัวสะกด ทำให้การฝึกออกเสียงง่ายขึ้น
ต่อมาเป็นส่วนของสระ สระในภาษาไทใหญ่เกือบทั้งหมดสามารถใช้รวมกับตัวสะกด จะมีก็สระ ေႃ อ๋อ
ที่ไม่มีการใช้งานรวมกับตัวสะกด นอกนั้นก็มีต้องแบบใช้รวมกับตัวสะกดอย่างเดียว และแบบที่ใช้กับตัวสะกด
หรือไม่ใช้กับตัวสะกดก็ได้ สระเป็นส่วนที่เราต้องจำ
ต่อมาเป็นส่วนของวรรณยุกต์ ถือว่าเป็นส่วนที่ค่อนข้างยาก แต่ก็ยังพอ
มีตัวช่วย มีอยู่ สาม-สี่เสียงที่เรามั่นใจเบื้องต้น ที่พอจะเทียบกับเสียงวรรณยุกต์ไทยได้ คือ
– เป่า (เสียงจัตวา)
ႇ ยัก (เสียงเอก)
ႉ จำตื่อ (เสียงโท) – ตัวนี้ในบางตัวไม่เสมอไป
ႊ ยักคึน (เสียงสามัญ)
แต่ก็ไม่ถือว่าถูกต้องทั้งหมดเสียทีเดียว เพราะการออกเสียงแต่ละคนก็ต่างกันไป อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนก็จะยึด
แนวทางเบื้องต้นตามรูปแบบนี้
วรรณยุกต์ตัวที่ไม่ค่อยเห็นใช้งานมากนักคือตัว ႊ ยักคึน ที่ให้เสียงในรูปสามัญ แต่เรามักจะพบว่า มีการใช้งาน วรรณยุกต์ตัว း จำหน่า มาในรูปเสียงสามัญแทนเป็นส่วนใหญ่
แนวทางการฝึกออกเสียงสระภาษาไทใหญ่
เหล่านี้คือสระเบื้องต้นที่เราต้องจำให้ได้ นั่นคือ เห็นก็มองออกว่า จะออกเสียงเป็นอะไร ถ้ามองคร่าวๆ ก็จะคล้ายกับเสียงในภาษาไทย
สระสามตัวนี้ มีความเทียบจะเหมือนกัน คือต่างกันเล็กน้อย แต่ให้เสียงสระคนละเสียง
เสียงสระ โอ๋ ူဝ် อื๋อ ိုဝ် และ เอ๋อ ိူဝ် จะมีตัว ต๊้ด ตึ้ดสอง และก็ ต่าง ประกอบ แล้วมีตัวสะกดเป็นตัว ว้ะ แพด ဝ် ให้เราจำแบบว่า ตัวที่ไม่มี ตัว ိ ต่าง เป็น โอ๋ และจำตัวที่มี ူ ตึ้ดสอง จะเป็นตัวที่มีสระด้านหน้า คือ โอ๋ กับ เอ๋อ
ယိူဝ်ႈၶဵဝ် — เย้อเขว
မိူဝ်ႈလဵဝ် — เหม่อเหลว
ဝူဝ်းသူဝ်း — โว๊โซ๊
ၵူဝ်ႁူဝ်ႉ — โก๋โฮ้
ၽႃႇမိုဝ်း — ผ่ามื๊อ
သိုဝ်ႈသိုဝ်ႈ — ซื่อซื่อ
*สังเกต สระอู หรือ ตึ้ดสอง ในภาษาไทใหญ่ จะมีทั้งแบบเขียนต่อไปด้านช้าง และแบบเขียนอยู่ใต้พยัญชนะ ทั้งนี้ก็ขึ้นกับฟอนท์ที่ใช้งาน ให้เข้าใจว่าเป็นตัวเดียวกัน โดยเฉพาะกรณีพยัญชนะ ที่มีหาง พื้นที่ที่จะแสดงอาจจะไม่ชัดเจน ก็จะแสดงต่อด้านข้างแทน อย่างคำว่า ႁူဝ် ตัว หัะ มีหางยาว ก็จะเขียนไว้ด้านข้าง บางฟอนท์ก็จะเขียนต่อด้าานล่างเลย ตรงนี้ก็ขึ้นกับฟอนท์ที่ใช้งาน
สระอ๋า หรือ อ๋าป๊อด ถึงสระตัวนี้จะจำง่าย แต่ก็มีข้อสังเกตคือ ถ้าเป็นคำที่ไม่มีตัวสะกด จะใช้สระอ๋า อาตัวยาว ส่วนคำที่มีตัวสะกดจะใช้ อ๋าป๊อด หรือ สระอาตัวสั้น
ႁႃမႃး — หาม๊า
ယႃႇၸႃႉ — หย่าจ้า
ငၢမ်းငၢမ်း — ง๊ามง๊าม
ၸၢင်ႉယၢင်ႈ — จ้างหย่าง
การอ่านออกเสียงคำว่า ง๊ามง๊าม ตามรูปแบบที่พิมพ์ จะไม่ถูกต้องเสียทีเดียว แต่เนื่องจากไม่มีตัววรรณยุกต์ไทยที่สามารถกำหนดชัดเจนของเสียงได้ ตัววรรณยุกต์ จำหน่า จะให้เสียงออก อ่อนนุ่ม อย่างเช่นคำว่า นะจ๊ะ จะไม่ออกเสียงแบบห้วนๆ เหมือนภาษาไทย เช่นเดียวกับคำว่า ม๊า ในคำว่า หาม๊า
สระที่มีตัวสะกดเหมือน ย และ ว จะมีทั้งเป้นสระหลักหรือสระแท้ และก็สระประสม
สังเกตว่า สระ อ๋อย ไม่มี ၺ် ย๊ะ แพด แต่จะมีตัว ွ ห้อย กับตัว ႆ ก่ายคึน ในตัวอย่าง ใช้ตัว ဢ อ๊ะ เพื่อให้สามารถพิมพ์ ตัวสระได้ ตัวห้อย จะไม่มีในการใช้งาน ว๊ะ แพด แต่จะมีใช้งานกับตัวสะกดอื่นๆ ออกเสียงเหมือนตัว ออ เช่น ออก ออด ออบ ออง ออม ออน
ပႃႈတုၺ်ႈ — ป้าตุ้ย
လွႆၼွႆႉ — หลอยหน่อย
ၵေႃၵူၺ်ႈ — ก๋อโก้ย
ต่อไปมาดูสระที่ใช้ร่วมกับตัวสะกด ต่างๆ ในตาราง จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ตารางแรกเป็น เสียงสั้น กับตารางที่สอง เสียงยาว
เสียงสั้น
เสียงยาว
สังเกตว่า ตัวสะกดอย่างเดียว จะให้เสียงเหมือน ไม้หันอากาศ ในภาษาไทย หรือก็คือสระอะลดรูป
ၽၼ်းမႆႉ — พั๊นไม้
ဝၼ်းၼၼ်ႉ — วั๊นนั้น
သၵ်ႉၶူဝ်း — ซั่กโค๊
ႁူႉၸၵ်း — ฮู้จั๊ก
สำหรับสระ ဢွႆ อ๋อย ที่มีเสียงเหมือนตัวสะกด ၺ် ญ๊ะ แพด ซึ่งจะมีตัว ွ ห้อย และก็ตัว ႆ ก่ายคึน แต่ในตัวสะกด ทั้ง 6 ตัวด้านบน จะมีแค่ตัว ွ ห้อย ออกเสียง ออ รองรับตัวสะกดที่จะมาผันเสียง
ဢဝ်ဢွၵ်ႇ — เอ๋าอ่อก
ၼႂ်းၸွၵ်ႉ — ใน๊จ้อก
ယွတ်ႈမႆႉ — หย่อดไม้
ဢုမ်ႈႁွပ်ႇ — อุ้มห่อบ
လွမ်ႉႁွပ်ႈ –ล้อมฮ้อบ
ၵွင်မွင်း — ก๋องม๊อง
လွင်ႈတႆး — หล่องไต๊
มาดูต่อตัวสระ ที่ไม่มีตัวสะกด เช่น ေႃ อ๋อ ႆ ไอ๋ ၢႆ อ๋าย และก็ ႂ် อ๋าอี๋อ( สระ ใอ ไม้ม้วน ในภาษาไทย)
ႂ် อ๋าอี๋อ( สระ ใอ ไม้ม้วน ในภาษาไทย) พบใช้ในจำนวนไม่มากนัก เราอาจจะคุ้นๆ
မႂ်မႆႉ — ใหมไม้
သႂ်မႂ်ႇ — ใสใหม่
သႂ်ႇဝႆႉ — ใส่ไว้
ၼႂ်းၸႂ် — ใน๊ใจ๋
ၵႆႇၶႆႇ — ไก่ไข่
ဝႆႉၼႆႈ — ไว้ไน้
ဢၢႆႈၸၢႆး — อ้ายจ๊าย
ၶၢႆငၢႆႈ — ขายง้าย
ပေႃႈမႄႈ — ป้อแม้
การออกเสียงจะออกเสียง อ๋าอื๋อ เช่น ในใจ๋ — (นาอื๋อจ๋าอื๋อ ออกเสียงเร็วๆ) แต่เราคงไม่จำเป็นต้องออกเสียงตามคำอธิบายก็ได้ แต่ให้เข้าใจแนวทางการออกเสียงข้างต้น
ส่วนสุดท้ายที่จะพูดถึง ก็คือวรรณยุกต์ เป็นส่วนที่ยากที่สุดในการที่จะกำหนดรูปแบบการออกเสียงที่ถูกต้อง แต่อย่างน้อยตัววรรณยุกต์ก็ช่วยเราสังเกตคำนั้นๆ ได้ว่ามีการจบคำๆ นั้น ณ ตำแหน่งที่มีวรรณยุกต์ ถ้ามีวรรณยุกต์ก็เหมือนมีตัวแบ่งคำให้เรา
มาสังเกตคำต่อไปนี้ ซึ่งเป็นคำที่เรามักคุ้นเคย หรือเป็นคำง่าย เช่น
မႃး — ม๊า
မႆႉ — ไม้
ဝႆႉ — ไว้
ၼႆႈ — ไน้
ယႃႇၸႃႉ — อย่าจ้า
မီးတီႈ — มี๊ตี้
ႁူႉယူႇ — ฮู้หยู่
อย่างคำว่า ၼႆႈ ก็ไม่ได้ออกเสียงว่า ใน ตรงๆ ตัววรรณยุกต์ ก็ใช้ตัว ยักจำ ออกเสียงสามัญท้ายโท ประมาณ ไหน้ การจะบอกว่าต้องเป็นวรรณยุกต์โท หรือ ตรี ตรงๆ เลยไม่น่าจะใช้ได้โดยตรงเหมือนภาษาไทย ดังนั้น วรรณยุกต์ในภาษาไทใหญ่ จึงจำเป็นต้องอาศัยการจดจำจากประสบการณ์การใช้งานเป็นสำคัญ
เพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน ผู้เขียนจะปรับการเขียนคำอ่านตามรูปแบบดังนี้ เพื่อให้สามารถเดาวรรณยุกต์ที่ใช้กับคำๆ นั้นได้ถูกต้องและใกล้เคียงที่สุด ซึ่งการออกเสียงอาจจะไม่ตรงเสียทีเดียวตามวรรณยุกต์ที่กำหนด
เป่า – เป็นเสียงจัตวา
ยัก ႇ เป็นไม้เอก
ยักจำ ႈ เป้นไม้โทหรือไม้เอกถ้าเป็นเสียงสูง แต่เวลาอ่าน จะอ่านสามัญท้ายโท
จำหน่า း เป็นไม้ตรี
จำตื่อ ႉ เป็นไม้โทหรือไม้เอกถ้าเป็นเสียงสูง
ยักคึน ႊ เป็นเสียงสามัญ
เนื้อหาเกี่ยวกับแนวทางการออกเสียงภาษาไทใหญ่เบื้องต้นนี้ ก็ขอจบเพียงเท่านี้ เนื้อหาหน้าจะเป็นอะไร รอติดตาม