มาต่อกันอีก 10 พยัญชนะในตอนที่ 3 ตั้งแต่ตัวที่ 22 – 31 เมื่อฝึกอ่านมาถึงตรงนี้
หลายๆ คำก็จะซ้ำกัน รูปแบบการอ่านออกเสียง ก็จะเป็นลักษณะเดียวกัน ดังนั้น
การอธิบายในรายละเอียดจะน้อยลงไปตาม อย่างไรก็ตาม ยังมีบางตัวที่อาจจะไม่ได้
มีรูปแบบตามที่เรารู้หรือจำมา เช่น คำตาย ที่ต้องเขียนในรูปแบบนั้นๆ ถึงจะมี
ความหมายที่ถูกต้อง หรือคำในภาษาบาลี เหล่านี้เป็นต้น
22. ᨶ ᨶ᩠ᨠᩫ ᨧ᩠ᨷᩢᩀᩪ᩵ᨩ᩠ᨠᩫᨧᩮᨺᩣ
ᨶ – น่ะ – นก = จั๊บอยู่ช๊อกเจ๋ฝา (ช๊อก คือ มุม)
คำว่า นก ᨶ᩠ᨠᩫ กับ ช๊อก ᨩ᩠ᨠᩫ เขียนคล้ายกัน แต่คำว่า ช๊อก อาจจะมีเสียง อ ชัดเจนกว่า
อย่างไรก็ตามรูปแบบการใช้ ᩫ ส่วนใหญ่จะไม่แทน อ เช่นคำว่า นก ไม่ใช้เป็น นอก
สำหรับคำว่า ᨧ᩠ᨷᩢᩀᩪ᩵ᨩ᩠ᨠᩫᨧᩮᨺᩣ แยกออกได้เป็นดังนี้
ᨧ᩠ᨷᩢ – ᩀᩪ᩵ – ᨩ᩠ᨠᩫ – ᨧᩮ – ᨺᩣ
จั๊บ – อยู่ – ช๊อก – เจ๋ – ฝา
23. ᨷ ᨷ᩠ᨶᩤᩢ ᨤ᩠ᨶᩫᨠ᩵ᩣ᩠ᩅᨲᩢᩣ᩠ᨶᨸᩮ᩠ᨶᩁᩮ᩠ᨶᩨ
ᨷ – บ๊ะ – บ้าน (บ้าน) = คนก่าวต้านเป็นเรือน
คำว่า บ้าน ᨷ᩠ᨶᩤᩢ ตัว ᨷ จะเป็นหนึ่งใน 5 ตัวที่ใช้ ไม้ก๋าหลวง หรือสระอาหางยาว ซึ่งได้แก่
ᨣᩤ ᨷᩤ ᨴᩤ ᩅᩤ ᨵᩤ กา บา ตา วา ธา
สำหรับคำว่า ᨤ᩠ᨶᩫᨠ᩵ᩣ᩠ᩅᨲᩢᩣ᩠ᨶᨸᩮ᩠ᨶᩁᩮ᩠ᨶᩨ แยกออกได้เป็นดังนี้
ᨤ᩠ᨶᩫ – ᨠ᩵ᩣ᩠ᩅ – ᨲᩢᩣ᩠ᨶ – ᨸᩮ᩠ᨶ – ᩁᩮ᩠ᨶᩨ
คน – ก่าว – ต้าน – เป๋น – เรือน (เวลาพูดมักเป็น เฮือน)
สังเกตว่าทุกตัวมีการใช้งานตัวสะกดทุกตัว ส่วนใหญ่เป็นตัว น๊ะ ᩠ᨶ เขียนแบบซ้อน
คำว่า คน ᨤ᩠ᨶᩫ คำนี้น่าจะคุ้นในตัวอักษณตัว ก่ะ/คะ ᨤ มาแล้ว
คำว่า เรือน ᩁᩮ᩠ᨶᩨ จะใช้ตัว ร๊ะ ᩁ แต่เวลาออกเสียงจะเป็น ฮ๊ะ เป็นส่วนใหญ่ จะออกเสียง
เป็นเฮือน อย่างไรก็ตามถ้าออกเสียงเป็น เรือน ก็สามารถเข้าใจได้
24. ᨸ ᨸᩣ ᩃᩭᨻᩱᨾᩣᨶᩱᨶᩣᩴᩢ
ᨸ – ป๊ะ – ป๋า (ปลา) = ลอยไปมาในน้ำ (ปลา คำขึน เรียก ป๋า)
คำว่า ป๋า ᨸᩣ (หรือ ปลา) ในภาษาไทย เขียนคล้ายกันแต่ไม่มีตัวควบกล้ำ ล บางทีอาจจะสับสน
กับตัว พ๊ะ ᨻ เพราะบางทีก็แทนตัว ป ได้เหมือนกัน ตรงนี้ก็ให้จดจำเอา เช่นคำว่า ไป ᨻᩱ
สำหรับคำอื่นๆ ก็ตามตัว เป็นคำที่คุ้นตามาแล้ว
ᩃᩭ – ᨻᩱ – ᨾᩣ – ᨶᩱ – ᨶᩣᩴᩢ
ลอย – ไป – มา – ใน – น้ำ
25. ᨹ ᨹ᩠ᨦᩧᩢ ᨷ᩠ᨶᩥᩋ᩠ᨦᩨᩢᪧᨲ᩠ᩋᨾᩁ᩠ᨦᩢ
ᨹ – ผ๊ะ – ผืง (ผึ้ง) = บินอื้งๆต๋อมรัง
คำว่า ผึ้ง ᨹ᩠ᨦᩧᩢ จะคล้ายๆ ภาษาไทย มีการใช้สระ อึ ต้องพยายามสังเกตดีๆ ระหว่างสระอิ กับสระอึ
หรือไม้กิ กับไม้กึ ในภาษาขืน ตัวไม้กึ จะมีวงกลมเล็กอยู่ตรงกลาง แต่ตัวไม้กิจะไม่มี ᨠᩥ – ᨠᩧ
สำหรับคำว่า ᨷ᩠ᨶᩥᩋ᩠ᨦᩨᩢᪧᨲ᩠ᩋᨾᩁ᩠ᨦᩢ แยกออกได้เป็นดังนี้
ᨷ᩠ᨶᩥ – ᩋ᩠ᨦᩨᩢᪧ – ᨲ᩠ᩋᨾ – ᩁ᩠ᨦᩢ
บิน – อื้งๆ – ต๋อม – รัง
คำว่า อื้งๆ ᩋ᩠ᨦᩨᩢᪧ มีการใช้ไม้ยมก (ᪧ) เพื่อซ้ำคำ
26. ᨺ ᨺᩣ ᨧᩩ᩵ᨦᩐᩢᩣᨾᩣᨴᩤᩢᩉ᩠ᨾᩳᩢ
ᨺ – ผ๊ะ – ฝา = จ่งเอามาท้าหม้อ (ท้า คือ ห่ม)
คำว่า ฝา ᨺᩣ อ่านสะกดตามตัว
สำหรับคำว่า ᨧᩩ᩵ᨦᩐᩢᩣᨾᩣᨴᩤᩢᩉ᩠ᨾᩳᩢ แยกออกได้เป็นดังนี้
ᨧᩩ᩵ᨦ – ᩐᩢᩣ – ᨾᩣ – ᨴᩤᩢ – ᩉ᩠ᨾᩳᩢ
จ่ง – เอา – มา – ท้า – หม้อ
คำว่า เอา ᩐᩢᩣ ตัว ᩐ ในแป้นพิมพ์ภาษาขืนจะอยู่ตรงเลข 6 ในแป้น โดยตรงกด ctrl + alt + 6
เพื่อพิมพ์ตัวอักษรนี้
คำว่า เอา ᩐᩢᩣ เป็นคำตาย หรือคำที่จะใช้งานต้องพิมพ์ในรูปแบบนี้เสมอ มาจาก
ᩐ (ตัวอู) + ᩢ(ไม้ซัด) + ᩣ (สระไม้ก๋า) อ่านว่า เอา จะหมายถึงคำว่า เอามา ถือมา ในภาษาไทย
คำว่า ท้า ᨴᩤᩢ เวลาพิมพ์แป้นภาษาขืน ต้องพิมพ์ ᨴ + ᩤ + ᩢ ถ้าเราพิมพ์สลับกันระหว่าง ᩤ กับ ᩢ
อาจจะได้รูปแบบคำที่คล้าย แต่ไม่ถูกต้อง เป็นดังนี้ ᨴᩢᩤ ซึ่งที่ถูกต้องควรเป็น ᨴᩤᩢ
27. ᨻ ᨻᩢ᩠ᨷ ᨤᩢ᩠ᨷᨠ᩠ᨶᩢᩀᩪ᩵ᨸᩮ᩠ᨶᨳᩯ᩠ᩅ
ᨻ – ป่ะ – พับ-ปับ = คับกั๋นอยู่เป็นแถว (ปับ คือ หนังสือ)
คำว่า ปับ ᨻᩢ᩠ᨷ กับ คับ ᨤᩢ᩠ᨷ มีรูปแบบการเขียนคล้ายกัน อ่านออกเสียงในลักษณะคล้ายกัน
สำหรับคำว่า ᨤᩢ᩠ᨷᨠ᩠ᨶᩢᩀᩪ᩵ᨸᩮ᩠ᨶᨳᩯ᩠ᩅ แยกออกได้เป็นดังนี้
ᨤᩢ᩠ᨷ – ᨠ᩠ᨶᩢ – ᩀᩪ᩵ – ᨸᩮ᩠ᨶ – ᨳᩯ᩠ᩅ
คับ – กั๋น – อยู่ – เป็น – แถว
28. ᨼ ᨼᩣ᩠ᨶ ᩃᩯ᩠ᨶ᩵ᩉ᩠ᨠᩫᨣᩤ᩠ᨶᨶᩱᨳᩮ᩠ᨶᩨ᩵
ᨼ – ฟ่ะ – ฟาน = แล่นห๊กคานในเถื่อน (แล่น คือ วิ่ง , ห๊กคาน คือ กระโดด)
คำว่า ฟาน ᨼᩣ᩠ᨶ กับ คาน ᨣᩤ᩠ᨶ ใช้สระไม้ก๋า เหมือนกันแต่ตัว ก ใช้ไม้ก๋าหลวง หรือสระอาหางยาว
ถึงตัว น๊ะ ᨶ ที่เป็นตัวสะกดจะแสดงอยู่ใต้ตัว ก่ะ/คะ ᨣ แต่การพิมพ์ในแป้นพิมพ์ภาษาขืน เราจะพิมพ์
ไม้ก๋า หรือสระอาก่อนแล้วค่อยพิมพ์ตัว น๊ะ ᩠ᨶ
สำหรับคำว่า ᩃᩯ᩠ᨶ᩵ᩉ᩠ᨠᩫᨣᩤ᩠ᨶᨶᩱᨳᩮ᩠ᨶᩨ᩵ แยกออกได้เป็นดังนี้
ᩃᩯ᩠ᨶ᩵ – ᩉ᩠ᨠᩫᨣᩤ᩠ᨶ – ᨶᩱ – ᨳᩮ᩠ᨶᩨ᩵
แล่น – ห๊กคาน – ใน – เถื่อน
คำว่า ห๊กคาน ᩉ᩠ᨠᩫᨣᩤ᩠ᨶ อ่านเป็นคำเดียว ออกเสียงสองพยางค์
29. ᨽ ᨽ᩠ᨠᩥ ᨲ᩠ᨶᩫᩢᨲ᩠ᨠᩥᩈ᩠ᨠᩥᨷᩱᨡᩭᩴ
ᨽ – ภ่ะ – พริก = ต้นติ๊กสิ๊กใบเขียว
คำว่า พริก ᨽ᩠ᨠᩥ เป็นอีกตัวพยัญชนะที่อาจจะสับสนกับตัว พ๊ะ ᨻ แต่ส่วนใหญ่จะใช้แทน ตัว ภ
ดังนั้นจำไว้ว่าภาษาขืนเป็นภาษาที่ต้องใช้ความคุ้นเคย ถึงจะจำความหมายได้ถูกต้อง เพราะไม่มี
รูปแบบตายตัวของเสียง กับความหมาย
สำหรับคำว่า ᨲ᩠ᨶᩫᩢᨲ᩠ᨠᩥᩈ᩠ᨠᩥᨷᩱᨡᩭᩴ แยกออกได้เป็นดังนี้
ᨲ᩠ᨶᩫᩢ᩠ᨶ – ᨲ᩠ᨠᩥ – ᩈ᩠ᨠᩥ – ᨷᩱ – ᨡᩭᩴ
ต้น – ติ๊ก – สิ๊ก – ใบ – เขียว
คำว่า เขียว ᨡᩭᩴ มีการใช้งานไม้เกี๋ยว กับตัว ขีะ ᨡ
คำว่า ติ๊ก ᨲ᩠ᨠᩥ สิ๊ก ᩈ᩠ᨠᩥ พริก ᨽ᩠ᨠᩥ มีรูปแบบการสะกดคล้ายๆ กัน ตัว ᩈ กับ ᨽ จะคล้ายๆ กัน
เพียงแค่พลิกสลับบนล่าง สามารถนำไปใช้เป็นหลักในการจำตัวอักษรได้
30. ᨾ ᨾᩯ᩠ᩅ ᨠ᩠ᨶᩥᨡ᩠ᩋᨦᨤᩯ᩠ᩅᨴᩩᨠᨾᩮ᩠ᩋᩨ᩵
ᨾ – ม่ะ – แมว = กิ๋นของแควทุกเมื่อ (แคว คือ คาว)
คำว่า แมว ᨾᩯ᩠ᩅ กับ แคว ᨤᩯ᩠ᩅ สะกดออกเสียงคล้ายภาษาไทย
สำหรับคำว่า ᨠ᩠ᨶᩥᨡ᩠ᩋᨦᨤᩯ᩠ᩅᨴᩩᨠᨾᩮ᩠ᩋᩨ᩵ แยกออกได้เป็นดังนี้
ᨠ᩠ᨶᩥ – ᨡ᩠ᩋᨦ – ᨤᩯ᩠ᩅ – ᨴᩩᨠ – ᨾᩮ᩠ᩋᩨ᩵
กิ๋น – ของ – แคว – ทุก – เมื่อ
คำว่า ของ ᨡ᩠ᩋᨦ กับคำว่า เมื่อ ᨾᩮ᩠ᩋᩨ᩵ มีตัว อ๊ะ เขียนเป็นแบบซ้อนด้านล่าง
31. ᨿ ᨿᨠ᩠᩼ᨡ ᩀᩪ᩵ᨻᩱᩢᩁ᩠ᨠᩢᩈᩣᨯᩭ
ᨿ – ย่ะ – ยัก (ยักษ์) = อยู่ไป้รักษาดอย (ไป้ คือ เฝ้า)
คำว่า ยัก ᨿᨠ᩠᩼ᨡ เป็นอีกรูปแบบของคำเฉพาะ ที่เราจะต้องจำ เพราะเราอาจจะคิดว่า
ทำไมไม่เขียนเป็น ᨿᩢ᩠ᨠ ดังนั้นตรงนี้ก็ให้จำเป็นคำๆ ไว้ คล้ายกับคำบาลีอย่าง ธรรม ᨵᨾ᩠ᨾ᩼
สำหรับคำว่า ᩀᩪ᩵ᨻᩱᩢᩁ᩠ᨠᩢᩈᩣᨯᩭ แยกออกได้เป็นดังนี้
ᩀᩪ᩵ – ᨻᩱᩢ – ᩁ᩠ᨠᩢᩈᩣ – ᨯᩭ
อยู่ – ไป้ – รักษา – ดอย
ในตอนหน้าจะเป็นตอนสุดท้ายของการฝึกอ่านภาษาขืนจากบทท่องพยัญชนะทั้ง 42 ตัว
รอติดตามตอนที่ 4 พยัญชนะตัวที่ 32 – 42