มาต่อกันกับการอ่านภาษาขืนจากบทท่องพยัญชนะ จากตอนที่แล้วเราฝึกไป 10
พยัญชนะแรก ในเนื้อหาตอนนี้จะเพิ่มมาอีก 11 พยัญชนะ การอธิบายก็อาจจะสั้นลง
เพราะบางคำเป็นการพูดถึงคำ หรือรูปแบบเดิมที่อธิบายไปบ้างแล้ว ก็จะไปแบบเร็วๆ
11. ᨫ ᨫᩣ᩠ᨶ ᨻ᩵ᩴᩣᨻᩯ᩠ᨦᨶᩣ᩠ᨶᨧ᩠ᨦᩥ᩵ᨯᩱᩢ
ᨫ – ฌ่ะ – ฌาน = ป่ำเเปงนานจิ่งได้ ( ป่ำเปง คือ บำเพ็ญ)
คำว่า ฌาน ᨫᩣ᩠ᨶ ออกเสียงสะกดตามตัว
สำหรับคำ ᨻ᩵ᩴᩣᨻᩯ᩠ᨦᨶᩣ᩠ᨶᨧ᩠ᨦᩥ᩵ᨯᩱᩢ แยกได้เป็นดังนี้
ᨻ᩵ᩴᩣᨻᩯ᩠ᨦ – ᨶᩣ᩠ᨶ – ᨧ᩠ᨦᩥ᩵ – ᨯᩱᩢ
คำว่า ป่ำเเปง ᨻ᩵ᩴᩣᨻᩯ᩠ᨦ เป็นคำเดียวกัน ตัว ᨻ ในที่นี้ใช้เป็น ป อาจใช้เป็น พ แทนได้
มีการใช้ไม้ก๋ำ หรือสระอำในภาษาไทย ถ้าแยกออกอีกก็จะเป็น ᨻ᩵ᩴᩣ – ᨻᩯ᩠ᨦ
คำว่า นาน ᨶᩣ᩠ᨶ จะเห็น น๊ะ ตามด้วย สระอา จะมีรูปแบบเปลี่ยนไป เป็น ᨶᩣ เหมือนคำว่า
น้ำ ᨶᩣᩴᩢ ที่ได้อธิบายไปก่อนหน้าในตอนที่แล้ว
คำว่า จิ่ง ᨧ᩠ᨦᩥ᩵ กับคำว่า ได้ ᨯᩱᩢ สะกดตามตัว เหมือนภาษาไทย แต่คำว่า จิ่ง ในที่นี้น่าจะ
หมายถึง จึงในภาษาไทย
12. ᨬ ᨬᩣ᩠ᨲ ᨠᩮ᩠ᨯᩨᩁ᩠ᩅ᩵ᨾᨩᩣ᩠ᨲᩅᩫᨦ᩠ᩈ᩼ᨯᩴ᩠ᨿ
ᨬ – ญ่ะ – ญาต = เกิดร่วมชาติวงค์เดียว (ญาต คือ ญาติ)
คำว่า ญาต ᨬᩣ᩠ᨲ จะคล้ายภาษาไทย เพียงแต่ไม่มี สระอิบน ต มีการใช้ตัว ญ
เช่นเดียวกับคำว่า จาด ᨩᩣ᩠ᨲ หรือ ชาติ
ให้สอดคล้องกับความหมาย
สำหรับคำ ᨠᩮ᩠ᨯᩨᩁ᩠ᩅ᩵ᨾᨩᩣ᩠ᨲᩅᩫᨦ᩠ᩈ᩼ᨯᩴ᩠ᨿ แบ่งออกได้เป็นดังนี้
ᨠᩮ᩠ᨯᩨ – ᩁ᩠ᩅ᩵ᨾ – ᨩᩣ᩠ᨲ – ᩅᩫᨦ᩠ᩈ᩼ – ᨯᩴ᩠ᨿ
เกิด – ร่วม – จาต – วงส์ – เดียว
คำว่า เกิด ᨠᩮ᩠ᨯᩨ จะไม่ใช่สระอิเหมือนภาษาไทย แต่เป็นไม้ กื๋อ ถ้าเทียบตามตัวก็จะประมาณ เกื๋อด
แต่เวลาอ่าน เราก็ใช้เป็น เกิด ได้
คำว่า ร่วม ᩁ᩠ᩅ᩵ᨾ สะกดตามตัวเหมือนภาษาไทย เพียงแต่ตัว ว เขียนแบบซ้อนแทน
คำว่า วงส์ ᩅᩫᨦ᩠ᩈ᩼ เขียนแบบไล่ตามตัวอักษรชืน จะใช้เป็น ส ที่เป็นตัวซ้อนด้านล่าง และตามด้วยตัว การันต์
อาจจะสับสนว่า ทำไมไม่เขียนเป็น ᩅ᩠ᨦᩫᩈ᩼ ตรงนี้ก็ขอให้เข้าใจว่าเป็นรุปแบบการเขียนเฉพาะตัวของคำนั้นๆ
อาจจะไม่ตายตัวทุกคำ
คำว่า เดียว ᨯᩴ᩠ᨿ ใช้ พยัญชนะ ดีะ ตามด้วยไม้ เกี๋ยว
13. ᨭ ᨷᨭᩥᨷ᩠ᨲᩢ ᨷᨭᩥᨷ᩠ᨲᩢᨿᩮ᩠ᨯᨸᩯ᩠ᨦ
ᨭ – ฏ๊ะ – ปฏิบัติ = ปฏิบัติเย๋ดแป๋ง (ลงมือปฏิบัติ)
คำว่า ปฏิบัติ ᨷᨭᩥᨷ᩠ᨲᩢ ค่อนข้างตรงตามรูปแบบในภาษาไทย เพียงแค่ใช้ตัวอักษรคนตัว
สำหรับคำ ᨷᨭᩥᨷ᩠ᨲᩢᨿᩮ᩠ᨯᨸᩯ᩠ᨦ แยกออกได้เป็นดังนี้
ᨷᨭᩥᨷ᩠ᨲᩢ – ᨿᩮ᩠ᨯ – ᨸᩯ᩠ᨦ
ปฏิบัติ – เย๋ด – แป๋ง
การออกเสียงสามารถถอดรูปตัวอักษร ผสมเป็นคำอ่านแบบภาษาไทยได้
14. ᨮ ᨮᩣ᩠ᨶ ᨾᩦᩉ᩠ᩃᩢᨠᨮᩣ᩠ᨶᩉ᩠ᨾᩢᩢᩁᨠᩯ᩠ᨶ᩵
ᨮ – ฐ๊ะ – ฐาน (หรือ สะถี-เศรษฐี ก็ได้) = มีหลักฐานหมั่นแก่น (มีฐานะมั่งคง)
คำว่า ฐาน ᨮᩣ᩠ᨶ สะกดออกเสียงคล้ายภาษาไทย เราคุ้นกับการใช้ -าน แล้วในรูปแบบ
ᩣ᩠ᨶ เช่นคำว่า จาน ᨧᩣ᩠ᨶ ฌาน ᨫᩣ᩠ᨶ
สำหรับคำ ᨾᩦᩉ᩠ᩃᩢᨠᨮᩣ᩠ᨶᩉ᩠ᨾᩢᩢᩁᨠᩯ᩠ᨶ᩵ แยกได้ดังนี้
ᨾᩦ – ᩉ᩠ᩃᩢᨠ – ᨮᩣ᩠ᨶ – ᩉ᩠ᨾᩢᩢᩁ – ᨠᩯ᩠ᨶ᩵
มี – หลัก – ฐาน – หมั่น – แก่น
คำว่า หลัก ᩉ᩠ᩃᩢᨠ กับ หมั่น ᩉ᩠ᨾᩢᩢᩁ มีการใช้ ห๊ะ นำหน้า
คำว่า แก่น ᨠᩯ᩠ᨶ᩵ สะกดตามตัว ก + แ + น + ไม้เอก (ตามรูปแบบการพิพม์ภาษาขืน)
15. ᨯ ᨯᩭ ᨠᩱᨧᩭᩅᩭᩈ᩠ᩋ᩵ᨾᨩᩢᩴᩣ
ᨯ – ด๊ะ – ดอย (ภูเขา) = ไก๋จ๋อยวอยส่อมช้ำ
คำว่า ดอย ᨯᩭ จะใช้รูปสระคล้าย -อย จากตัว ᩭ ตำแหน่งตัวนี้ในแป้นพิมพ์ภาษาขืน
อยู่ที่ตัว q โดย กด shift + q บางฟอนท์จะเห็นเป็นแบบ ย หางยาวคล้ายตัว อย่ะ ᩀ
เพียงแต่อยู่แบบซ้อนด้านล่าง
สังเกตคำว่า จอยวอย ᨧᩭᩅᩭ ก็ใช้ -อย เหมือนกัน ทำให้อ่านในรูปแบบเดียวกัน
สำหรับคำ ᨠᩱᨧᩭᩅᩭᩈ᩠ᩋ᩵ᨾᨩᩢᩴᩣ แยกได้เป็นดังนี้
ᨠᩱ – ᨧᩭᩅᩭ – ᩈ᩠ᩋ᩵ᨾ – ᨩᩢᩴᩣ
ไก๋ – จ๋อยวอย – ส่อม – ช้ำ
16. ᨰ ᨰᩩ ᨶ᩠ᨦᩢ᩵ᨻᩕ᩠ᩋᩢᨾᨩᩩᩈᩪᨯᨵᨾ᩠ᨾ᩼
ᨰ – ฒ่ะ – ฑุ = นั่งพร้อมชุสูดธรรม (สูด คือ สวด)
สำหรับคำ ᨶ᩠ᨦᩢ᩵ᨻᩕ᩠ᩋᩢᨾᨩᩩᩈᩪᨯᨵᨾ᩠ᨾ᩼ แยกได้ดังนี้
ᨶ᩠ᨦᩢ᩵ – ᨻᩕ᩠ᩋᩢᨾ – ᨩᩩ – ᩈᩪᨯ – ᨵᨾ᩠ᨾ᩼
นั่ง – พร้อม – ชุ – สูด – ธรรม
รุปแบบการสะกดอ่าน จะคล้ายกับภาษาไทยเกือบทุกตัว เพียงแค่เรารู้ว่าพยัญชนะ หรือสระ
รวมถึงวรรณยุกต์นั้นๆ คืออะไร
คำว่า พร้อม ᨻᩕ᩠ᩋᩢᨾ จะมีการควบ ภร๊ะ ᨻᩕ ตามด้วย อ๊ะ เขียนซ้อนด้านล่าง
และ ไม้โท(ไม้ซัด) ปิดด้วย ม๊ะ
คำว่า ธรรม ᨵᨾ᩠ᨾ᩼ จะมีการใช้รูปแบบ -รรม หรือ -ตร เช่นคำว่า ธรรม กรรม ในภาษาไทย
คำนี้เราแปลงตัวอักษรตามตัวจะไม่ตรงเสียทีเดียว เพราะจะได้เป็น ธมม์
17. ᨱ ᨱᩮ᩠ᩁ ᩀᩪ᩵ᩅ᩠ᨯᩢᩁ᩠ᨿᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩈᩪᨲ᩠ᨲ᩼
ᨱ – ณ่ะ – เณร = อยู่วัดเรียนธรรมสูตร
คำว่า เณร ᨱᩮ᩠ᩁ สะกดออกเสียงตามตัว
สำหรับคำ ᩀᩪ᩵ᩅ᩠ᨯᩢᩁ᩠ᨿᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩈᩪᨲ᩠ᨲ᩼ แยกได้เป็นดังนี้
ᩀᩪ᩵ – ᩅ᩠ᨯᩢ – ᩁ᩠ᨿᩁ – ᨵᨾ᩠ᨾ᩼ – ᩈᩪᨲ᩠ᨲ᩼
อยู่ – วัด – เรียน – ธรรม – สูตร
คำว่า ธรรม ᨵᨾ᩠ᨾ᩼ กับ ᩈᩪᨲ᩠ᨲ᩼ สูตร จะใช้รูปแบบคล้ายๆ กัน คือมีตัว การันต์
อยู่บ้านพยัญชนะซ้ำกันที่ซ้อนกันอยู่ ᨾ᩠ᨾ᩼ -รรม ᨲ᩠ᨲ᩼ -ตร
18. ᨲ ᨲᩮᩢ᩵ᩣ ᩀᩪ᩵ᨶᩱᩉᩮ᩠ᨷᩢ᩵ᩣᨦᩮ᩠ᨾᩨᩢᨹᩣ
ᨲ – ต๊ะ – เต่า = อยู่ในเหล่าเงื้อมผา
คำว่า เต่า ᨲᩮᩢ᩵ᩣ คล้ายคำว่า เจ้า ᨧᩮᩢᩢᩣ เข้า ᨡᩮᩢᩢᩣ แต่คำนี้ใช้ไม่เอก หรือไม้หยัก
เช่นเดียวกับคำว่า เหล่า ᩉᩮ᩠ᨷᩢ᩵ᩣ
สำหรับคำ ᩀᩪ᩵ᨶᩱᩉᩮ᩠ᨷᩢ᩵ᩣᨦᩮ᩠ᨾᩨᩢᨹᩣ แยกได้เป็นดังนี้
ᩀᩪ᩵ – ᨶᩱ – ᩉᩮ᩠ᨷᩢ᩵ᩣ – ᨦᩮ᩠ᨾᩨᩢ – ᨹᩣ
อยู่ – ใน – เหล่า – เงื้อม – ผา
ส่วนใหญ่ข้างต้นเป็นคำง่าย สำหรับคำว่า เงื้อม ᨦᩮ᩠ᨾᩨᩢ ก็แปลงตามตัว เ + ง + ม + ื + ไม้ซัด
(ตามรูปแบบการพิพม์ภาษาขืน)
19. ᨳ ᨳ᩠ᨦᩫ ᨸ᩠ᨯᩫᨸ᩠ᨦᩫᩃ᩠ᨦᩫᨧᩣ᩠ᨠᨷᩤ᩵
ᨳ – ถ๊ะ – ถง (ถุง ย่าม) = ปดป๋งลงจากบ่า (ป๊ดป๋ง คือ ปลด)
คำว่า ถง ᨳ᩠ᨦᩫ ให้จำไว้ว่า ตัวที่คล้ายไม้หันอากาศ พลิกบนล่าง จะได้คล้ายสระ โอน อ๋อน โอ ถ้าไปรวม
กับตัวสะกดก็ได้เสียง เป็น ถง ᨳ᩠ᨦᩫ
สำหรับคำว่า ᨸ᩠ᨯᩫᨸ᩠ᨦᩫᩃ᩠ᨦᩫᨧᩣ᩠ᨠᨷᩤ᩵ แยกได้เป็นดังนี้
ᨸ᩠ᨯᩫᨸ᩠ᨦᩫ – ᩃ᩠ᨦᩫ – ᨧᩣ᩠ᨠ – ᨷᩤ᩵
ปดป๋ง – ลง – จาก – บ่า
คำว่า บ่า ᨷᩤ᩵ ตัว ᨷ จะเป็นหนึ่งใน 5 ตัวที่ใช้ ไม้ก๋าหลวง หรือสระอาหางยาว ซึ่งได้แก่
ᨣᩤ ᨷᩤ ᨴᩤ ᩅᩤ ᨵᩤ กา บา ตา วา ธา
คำว่า ปดป๋ง ᨸ᩠ᨯᩫᨸ᩠ᨦᩫ ตามที่กล่าวไปแล้ว คำอ่านก็จะเหมือน โปดโปง แต่เป็นเสียงสั้นกว่า
จึงใช้เป็น ปดป๋ง เช่นเดียวกับคำว่า ลง ᩃ᩠ᨦᩫ ใช้รูปแบบเดียวกัน
20. ᨴ ᨴᩩᨦ ᩉᩢᩭᨠᩯ᩠ᩅᩁᩈᩪᨦᨠ᩠ᩅᩢᨯᨠᩯ᩠ᩅ᩵ᨦ
ᨴ – ต่ะ – ตุง-ทุง = ห้อยแกว๋นสูงกวัดแกว่ง
คำว่า ตุง ᨴᩩᨦ ออกเสียงตามตัว
สำหรับคำว่า ᩉᩢᩭᨠᩯ᩠ᩅᩁᩈᩪᨦᨠ᩠ᩅᩢᨯ ᨠᩯ᩠ᩅ᩵ᨦ แยกได้ดังนี้
ᩉᩢᩭ – ᨠᩯ᩠ᩅᩁ – ᩈᩪᨦ – ᨠ᩠ᩅᩢᨯ – ᨠᩯ᩠ᩅ᩵ᨦ
ห้อย – แกว๋น – สูง – กวัด – แกว่ง
คำว่า กวัดแกว่ง ᨠ᩠ᩅᩢᨯ ᨠᩯ᩠ᩅ᩵ᨦ จะเป็นคำติดกัน มีการใช้งานตัวควบกล้ำ
กวีะ ผสมรวมกับสระและวรรณยุกต์ เช่นเดียวกับคำว่า แกว๋น ᨠᩯ᩠ᩅᩁ
คำว่า ห้อย ᩉᩢᩭ มีการใช้ตัว ห๊ะ ᩉ + -อย ᩭ + ไม้ซัด(ไม้โท)
21. ᨵ ᨵᨾ᩠ᨾ᩼ ᨸᩮ᩠ᨶᨣᩴᩣᩈ᩠ᩋᩁᨻᩕᨧᩮᩢᩢᩣ
ᨵ – ธ่ะ – ธรรม = เป็นคำสอนพระเจ้า (พระเจ้า คือพุทธเจ้า)
คำว่า ธรรม ᨵᨾ᩠ᨾ᩼ เป็นรูปแบบหนึ่งของคำในภาษาบาลี อธิบายไปบ้างแล้ว
สำหรับคำว่า ᨸᩮ᩠ᨶᨣᩴᩣᩈ᩠ᩋᩁ ᨻᩕ ᨧᩮᩢᩢᩣ แยกออกได้ดังนี้
ᨸᩮ᩠ᨶ – ᨣᩴᩣ – ᩈ᩠ᩋᩁ – ᨻᩕ ᨧᩮᩢᩢᩣ
เป๋น – กำ – สอน – ภร่ะ เจ้า
สำหรับการฝึกอ่านภาษาขืนจากบทท่องพยัญชนะในตอนนี้ก็มีเพียงเท่านี้ รอต่อตอนที่ 3 ต่อไป