เนื้อหาตอนต่อไปนี้ เราจะมาฝึกการอ่านคำภาษาขืน โดยใช้บทท่องพยัญชนะ
ภาษาขืนทั้ง 42 ตัว เนื้อหานี้จะอาศัยรายละเอียด จากบทความก่อนๆ หน้ามา
ประกอบ เพราะในคำภาษาขืน จะมีทั้ง พยัญชนะ สระ ตัวสะกด และวรรณยุกต์
รวมถึงบางคำก็เป็นคำภาษาบาลี ที่อาจจะไม่ได้กล่าวถึงมาก่อน ก็มาศึกษาในบท
ความตอนนี้พร้อมๆ กัน
อย่างไรก็ตามเนื่องจากพยัญชนะในภาษาขืนมีหลายตัว ดังนั้น รุปแบบเนื้อหานี้จะแบ่ง
เป็นหลายๆ ตอน อาจจะไม่ได้ต่อเนื่องตามลำดับ แต่จะมีแทรกเข้ามาเรื่อยๆ ระหว่างบท
ความอื่นๆ ถ้ามี
1. ᨠ ᨠᩱ᩵ ᩃᩱ᩵ᨠ᩠ᨶᩢᩀᩪ᩵ᨶᩱᩈ᩠ᩅᩁ
ᨠ – ก๊ะ – ไก่ = ไล่กั๋นอยู่ในสวน
คำว่า ไก่ ᨠᩱ᩵ กับคำว่า ไล่ ᩃᩱ᩵ จะสังเกตว่าทั้งการเขียน และลำดับตัวอักษร คล้ายภาษาไทย
และคำที่ใช้สระไอ อีกคำก็คือ ใน ᨶᩱ
คำว่า กั๋น ᨠᩢ᩠ᨶ ลำดับก็จะคล้ายๆ แต่ก็มีตัว ᨶ น๊ะ ที่ปรับเป็นตัวซ้อนลงมาด้านล่าง
คำว่า สวน ᩈ᩠ᩅᩁ ปกติจะใช้ตัว ᩁ แทน น มากกว่าใช้ตัว ᨶ น๊ะ ส่วน ว จะซ้อนอยู่ด้านล่าง
คำว่า อยู่ ᩀᩪ᩵ หรือ หยู่ จะค่อนข้างตรงตามตัว
วรรณยุกต์ไม้ หยัก ค่อยข้างชัดเจนที่สอดคล้องกับ ไม้เอกในภาษาไทย อย่างที่เห็นในคำว่า
ᨠᩱ᩵ ᩃᩱ᩵ ᩀᩪ᩵
2. ᨡ ᨡᩱ᩵ ᨾᩦ ᩀᩪ᩵ᩅᩱᩢᨶᩱᩁ᩠ᨦᩢ
ᨡ – ข๊ะ – ไข่ = มีอยู่ไว้ในรัง
คำว่า ไข่ ᨡᩱ᩵ กับ ไว้ ᩅᩱᩢ กับ ใน ᨶᩱ ใช้ไม้ไก๋ หรือสระไอ เหมือนกัน ต่างกันที่มีวรรณยุกต์ เอก และ โท
หรือไม้หยัก กับไม้ซัด กับไม่มีวรรณยุกต์
คำว่า มี ᨾᩦ และ อยู่ ᩀᩪ᩵ ตรงตัวคล้ายภาษาไทย
คำว่า รัง ᩁᩢ᩠ᨦ รูปแบบคล้ายกับคำว่า กัน ᨠᩢ᩠ᨶ ตัวสะกดจะเขียนเป็นตัวซ้อน
ดังนั้น ตัวพยัญชนะ กับไม้ซัด จะเหมือน กับ พยัญชนะกับ ไม้หันอากาศในภาษาไทย
รั- ᩁᩢ กั- ᨠᩢ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะนี้แต่ไม่ทุกตัว เช่น บ่ หรือ เบ่า ที่แปล ไม่
ก็เขียนในรูปแบบ ᨷᩢ
3. ᨣ ᨣ᩠ᩅᩣ᩠ᨿ ᨶ᩠ᩋᩁᨶᩱᨤᩣ᩠ᨿᨩᩯ᩵ᨶᩣᩴᩢ
ᨣ – ก่ะ/คะ – ควาย = นอนในคายแช่น้ำ
คำว่า กวาย ᨣ᩠ᩅᩣ᩠ᨿ จะสังเกตว่า ภาษาขืน จะพยายามที่จะลดรูปของตัวอักษรให้สั้นลงโดยใช้การซ้อน
ตัว ก่ะ/คะ มักออกเสียงเป็น ก แต่อาจจะเขียนเทียบเป็น ค เพื่อไม่ให้สับสนก็ได้ เช่น คำ ในภาษาไทย
ก็จะเขียน ᨣᩴᩣ อ่านประมาณว่า กำ ในภาษาขืน ตัว ควบ กว หรือ คว ก็ใช้เป็น กวีะ ᨣ᩠ᩅ ส่วน -าย
รูปแบบก็จะใช้คล้ายภาษาไทย เพียงแต่ตัว ย เอามาไว้ด้านล่าง แรกๆ อาจจะอ่านยาก แต่ถ้าคุ้นแล้วก็จะ
เข้าใจ -ᩣ᩠ᨿ ประยุกต์อ่านได้กับคำว่า คาย ᨤᩣ᩠ᨿ
คำว่า นอน ᨶ᩠ᩋᩁ ก็ลำดับตรงตัว แค่ลดรุปตัว อ๊ะ ᩋ หรือ อ
คำว่า แช่ ᨩᩯ᩵ คล้ายกับคำไทยในลำดับการเขียน แต่ออกเสียงอาจจะแตกต่างไป มักจะเป็น แจ่ หรือ แช่
คำวา น้ำ ᨶᩣᩴ สังเกตว่าจะแปลกๆ ตรงสระ ᩣ จะไม่ใช้ ไม้ก๋ำ กับ น๊ะ รูปแบบเช่น น๊ะ + ไม้ซัด + ไม้ก้ำ
ᨶᩢᩴᩣ จะไม่ใช่รูปแบบนี้ แต่จะเป็น น๊ะ + ไม้ก๋า + ไม้กั๋ง(ต้อม)(วงกลมด้านบน) + ไม้ซัด ก็จะเป็น ᨶᩣᩴᩢ
ข้อสังเกตก็คือ ตัว น๊ะ ถ้าต่อด้วยไม้ก๋า หรือสระอา จะเขียนติดกัน เป็นรูปแบบดังนี้
ᨶ + ᩣ เท่ากับ ᨶᩣ ตัวไม้ก๋าหรือสระอา เพิ่มเข้าไปตรงส่วนหัวของตัว น๊ะ
4. ᨤ ᨤ᩠ᨶᩫ ᨴᩴ᩠ᨿᩈᩫ᩠ᨶᪧᨡᩮᩢᩢᩣᨠᩣ᩠ᨯ
ᨤ – ฅ่ะ – คน = เตียวสนๆเข้ากาด (เตียว คือ เดิน, กาด คือ ตลาด)
คำว่า คน ᨤ᩠ᨶᩫ กับ สน ᩈᩫ᩠ᨶ จะเป็นการใช้สระไม้ ก๋อน ออกเสียงเหมือน น สะกดในภาษาไทย หรืออาจจะ
มีคล้ายสระโอน ก็ได้เช่น โก๋น หรือ ก๋อน หรือ ก๋น ดังนั้นตัวพยัญชนะ ᨤ กับ ᩈ ก็เลยผันเสีบง
เป็น คน กับ สน ตามลำดับ
ในคำข้างต้น จะมีไม้ยมก เหมือนภาษาไทย ใช้สำหรับอ่านซ้ำคำก่อนหน้า
ชื่อน้องคำพู ก็ใช้ตัว ᨤ นี้ เขียนเป็น ᨤᩴᩣᨼᩪ ถ้าอ่านแบบถูกต้อง จะเป็น คำฟู
คำว่า เตียว ᨴᩴ᩠ᨿ เป็นที่น่าสังเกตว่าคำนี้ ถ้าเทียงกับภาษาไทย จะไม่ตรงตัวและแตกต่างพอสมควร
คำนี้ใช้ไม้ เกี๋ยว -ํ᩠ᨿ จำไว้ว่า สระ เอีย ในภาษาขืน จะไม่มี เ มีแค่ตัว ย๊ะ ที่ซ้อนเท่านั้น ไม่เหมือนสระ เอือ
เช่นคำว่า เสียง ᩈ᩠ᨿᨦ กับคำว่า เมือง ᨾᩮ᩠ᨦᩨ สังเกตว่าคำว่า เมือง จะมีไม้เก๋ ᩮᨠ แต่คำว่า เสียง
เมื่อเทียบกับภาษาไทยจะไม่มี ตรงนี้ให้เป็นข้อสังเกตไว้
คำว่า เข้า ᨡᩮᩢᩢᩣ จะมีการใช้ไม้เก๋า ᨠᩮᩢᩣ และมีไม้ซัดด้านบนเป็น ᨠᩮᩢᩢᩣ คำนี้ใช้คำเดียวกันกับคำว่า ข้าว
คำว่า กาด ᨠᩣ᩠ᨯ คล้ายกับคำไทยในลำดับการเขียน แต่มีลดรูปสำหรับตัวสะกด
5. ᨥ ᩈᩘᨥ ᩈᨾᨱᨰᩩᨧᩮᩢᩢᩣ
ᨥ – ฆ่ะ – สังฆะ = สมณะฑุเจ้า (สังฆะ คือ สงฆ์)
คำว่า สังฆะ ᩈᩘᨥ มีการใช้ ไม้กั๋ง(ไหล) กั๋ง ᨠᩘ
ตัวพยัญชนะโดดๆ มักอ่านออกเสียงเป็น อะ สะมะณะ ᩈᨾᨱ
คำว่า ฑุ ᨰᩩ มักเป็นคำในภาษาลี
คำว่า เจ้า ᨧᩮᩢᩢᩣ คล้ายกับคำว่า เข้า ᨡᩮᩢᩢᩣ เปลี่ยนพยัญชนะเป็น จ๊ะ แทน
6. ᨦ ᨦᩪ ᩉ᩠ᩃᩨᨯᨾᩣᨩᩪᨧ᩠ᩋᨾᨸ᩠ᩅᨠ
ᨦ – ง่ะ – งู = หลืดมาชูจ๋อมปวก (หลืด คือ เลื้อย)
ᨦ – ง่ะ – งู = หลืดมาชูฝั่งน้ำ (หลืด คือ เลื้อย)
คำว่า งู ᨦᩪ กับ ชู ᨩᩪ ก็ตรงตัว ตัว ง๊ะ กับ ไม้กู๋ และ จ๊ะ/ช๊ะ กับไม้กู๋
เวลาเราเจอคำลักษณะนี้ ถ้ายังไม่คุ้น อาจจะสับสนได้ว่า อ่านอย่างไร ตรงไหนคือจุดตัด
ระหว่างคำ ดังนั้นสิ่งที่เราต้องรู้คือ อันไหนคือตัวสะกด สระคือตัวไหน พยัญชะต้นคือตำไหน
ถ้าศึกษาพื้นฐานมาก็จะแบ่งได้ประมาณนี้
ᩉ᩠ᩃᩨᨯ ᨾᩣ ᨩᩪ ᨧ᩠ᩋᨾ ᨸ᩠ᩅᨠ
อาจจะสังเกตแบบนี้ได้ คือ ถ้ามี อักขระ เหล่านี้ ᩮ ᩯ ᩱ ᩰ ᩕ จะเป็นตัวเริ่มต้นของคำใหม่
หรือถ้า มีตัวซ้อนกัน ตัวซ้อนจะเป็นตัวเริ่มต้นของคำใหม่ แต่ไม่เสมอไป เช่นคำว่า ᨣ᩠ᩅᩣ᩠ᨿ ตัวนี้
ออกเสียง กวาย เป็นคำเดียวกัน มีตัวซ้อนติดกัน แต่เราสามารถสังเกตได้ว่า ตัว สระ า จะไม่เป็น
ตัวแรกของคำ ดังนั้น กวาย ᨣ᩠ᩅᩣ᩠ᨿ จึงเป็นคำเดียวกัน แบบนี้เป็นต้น
คำว่า หลืด ᩉ᩠ᩃᩨᨯ สังเกตว่า ปกติเราจะเห็นตัวสะกดซ้อนอยู่ด้านล่าง แต่คำนี้ มีตัว หีะ นำ ล๊ะ ซึ่งซ้อน
ด้านล่างอยู่แล้ว ตัวสะกดจึงเขียนต่อท้ายแทน
คำว่า จ๋อม ᨧ᩠ᩋᨾ ใช้ไม้ก๋อม -᩠ᩋᨾ เราไม่จำเป็นต้องจำไม้ก๋อม เราจำแค่ว่าคือตัวอะไร แล้วนำมาเรียงต่อกัน
ข้างต้นคือ ตัว จ + อ + ม เพียงแต่ว่าตัว อ เขียนเป็นแบบซ้อน
คำว่า ปวก ᨸ᩠ᩅᨠ ก็เช่นกัน ใช้ ป + ว +ก ตัว ว เขียนเป็นแบบซ้อน
นั่นหมายความว่า เราต้องจำรูปแบบซ้อนของพยัญชนะ ด้วย เพื่อที่จะอ่านคำซ้อนออก
7. ᨧ ᨧᩣ᩠ᨶ ᩈᩱ᩵ᩮᨡᩢᩢᩣᩉ᩠ᩅᩣ᩠ᨶᩉᩨᩢᨶ᩠ᩋᩢᨦ
ᨧ – จ๊ะ – จ๋าน (จาน) = ใส่เข้าหวานหื้อน้อง (เข้า คือ ข้าว)
คำว่า จ๋าน ᨧᩣ᩠ᨶ อ่านตามตัว เพียงตัว น เขียนเป็นแบบซ้อน ประยุกต์อ่านได้กับคำว่า หวาน ᩉ᩠ᩅᩣ᩠ᨶ จะเขียนคล้ายกัน
เพียงแต่ หวาน มี หว๊ะ นำ
คำว่า ใส่ ᩈᩱ᩵ *ไม่อธิบายเพิ่ม
คำว่า เข้า ᩮᨡᩢᩢᩣ ในที่นี้จะหมายถึง ข้าว เขียนเหมือนกัน
คำว่า หื้อ ᩉᩨᩢ อ่านตามตัว ห๊ะ + ไม้กื๋อ + ไม้ซัด(ไม้โท ภาษาไทย)
คำว่า น้อง ᨶ᩠ᩋᩢᨦ อ่านตามตัว น๊ะ + อ + ไม้ซัด + ง
สังเกตว่าการเรียงลำดับการเขียน จะพยายามใส่ด้านล่างเป็นตัวซ้อน ถ้าใส่ได้ แล้วต่อด้วยด้านบน
และตามด้วยด้านข้างท้าย ถ้าเขียนแบบภาษาไทยซึ่งไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ก็จะได้ประมาณนี้ ᨶᩢᩋᨦ
8. ᨨ ᨨ᩠ᩃᩣ᩠ᨠ ᨧᩫ᩠ᨠᩃᩣ᩠ᨠᩋ᩠ᩋᨠᨾᩣᨯᩪ
ᨨ – ฉ๊ะ – ฉลาก (หรือ แฉ่ง -ฉิ่ง ก็ได้) = จ๋กลากออกมาดู (จ๋ก คือ ดึง,หยิบ)
คำว่า ฉลาก ᨨ᩠ᩃᩣ᩠ᨠ อ่านตามตัว ฉ + ล + า + ก
สำหรับคำนี้ แยกออกได้เป็นดังนี้ ᨧᩫ᩠ᨠ ᩃᩣ᩠ᨠ ᩋ᩠ᩋᨠ ᨾᩣ ᨯᩪ
คำว่า จ๋ก ᨧᩫ᩠ᨠ ใช้ตัว จ๊ะ + ไม้ก๋ก ส่วนคำที่เหลือ สะกดตามตัวได้เลย
ᩃᩣ᩠ᨠ ล๋าก – ล + า + ก
ᩋ᩠ᩋᨠ ออก – อ + อ + ก
ᨾᩣ มา – ม + า
ᨯᩪ ดู – ด + อู
9. ᨩ ᨩᩢᩣ᩠ᨦ ᨾᩦᩀᩪ᩵ᨡᩢᩣ᩠ᨦᨯᩫ᩠ᨦᩉ᩠ᨶᩣ
ᨩ – จ่ะ – จ้าง (ช้าง) = มีอยู่ข้างดงหนา
คำว่า จ้าง (ช้าง) ᨩᩢᩣ᩠ᨦ อ่านตามตัว
สำหรับคำนี้ แยกออกได้เป็นดังนี้ ᨾᩦ ᩀᩪ᩵ ᨡᩢᩣ᩠ᨦ ᨯᩫ᩠ᨦ ᩉ᩠ᨶᩣ
คำที่เหลือค่อนข้างอ่านง่าย ตามที่อธิบายในรายละเอียดก่อนๆ หน้า
ᨾᩦ – ᩀᩪ᩵ – ᨡᩢᩣ᩠ᨦ – ᨯᩫ᩠ᨦ – ᩉ᩠ᨶᩣ
มี – อยู่ – ข้าง – ดง – หนา
10. ᨪ ᨪᩥ᩠ᨦ ᨯᩮ᩠ᨯᨴᩥ᩠ᨦᪧᩈᩴ᩠ᨿᨦᨾ᩠ᩅ᩵ᩁ
ᨪ – ซ่ะ – ซิง (ซึง) = เด็ดทิงๆเสียงม่วน (เด็ด คือ ดีด)
คำว่า ซิง (ซึง) ᨪᩥ᩠ᨦ อ่านตามตัว ซ + ิ + ง
สำหรับคำนี้ แยกออกได้เป็นดังนี้ ᨯᩮ᩠ᨯ ᨴᩥ᩠ᨦᪧ ᩈᩴ᩠ᨿᨦ ᨾ᩠ᩅ᩵ᩁ
ᨯᩮ᩠ᨯ – ᨴᩥ᩠ᨦᪧ – ᩈᩴ᩠ᨿᨦ – ᨾ᩠ᩅ᩵ᩁ
เด็ด – ทิงๆ – เสียง – ม่วน
คำว่า เดด ᨯᩮ᩠ᨯ – เ + ด + ด
คำว่า ทิงๆ ᨴᩥ᩠ᨦᪧ – ท+ิ+ง + ๆ
คำว่า เสียง ᩈᩴ᩠ᨿᨦ – ส + ไม้เกี๋ยว + ง
คำว่า ม่วน ᨾ᩠ᩅ᩵ᩁ – ม + อ + ไม่หยัก + ร(น)
สำหรับการฝึกอ่านคำภาษาขืนจากบทท่องพยัญชนะตอนแรก ก็ขอนำเสนอใน 10 ตัวแรกก่อน การอธิบายเริ่มต้น
อาจจะลงรายละเอียด เพราะเป็นการแนะนำวิธีครั้งแรก พอลงไปในตัวอื่นๆ ก็จะเป็นลักษระคล้ายๆ กัน จึงไม่อธิบายซ้ำ
รอติดตามพยัญชนะตัวอื่นๆ ต่อไปในตอนหน้า.