อักษรซ้อน ในภาษาพม่า จะมีลักษณะเป็นการวางอักษรซ้อนกันคล้ายรูปแบบอักษรในภาษาบาลี ซ้อนกันอยู่ในวรรคเดียวกัน โดยตัวอักษรตัวบนจะเป็นตัวสะกดของพยางค์แรก อักษรตัวล่างจะเป็นอักษรต้นของพยางค์ถัดไป บางครั้งเรียกอักษรซ้อนว่า ตัวสะกดตัวตาม ตัวอย่าง เช่น က္က က္ခ ခ္ဆ တ္ထ န္ထ မ္ပ င်္က เป็นต้น
สำหรับในการพิมพ์อักษรซ้อนภาษาพม่าในคีบอร์ด จะพิมพ์อักษรแรกแล้วตามด้วยเครื่อง ္ แล้วตามด้วยอักษรตัวถัดไป ตัวอย่างเช่น
က + ္ + က = က္က
รูปแบบอักษรซ้อนโดยทั่วไป ก็จะเป็นการซ้อนกันของพยัญชนะ หรือสระ โดยตัวที่อยู่ด้านล่างจะมีขนาดที่เล็กลงกว่าปกติ แต่ก็มีบางอักษรซ้อนบางตัว ที่ตัวบนหรือตัวซ้อนมีการเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม เช่น ตัว င်္ ที่มาจาก င် ถ้าเราคุ้นกับคำทักทายภาษาพม่าที่พูดว่า สวัสดี ก็จะเจออักษรซ้อนตัวนี้ นั่นคือ မင်္ဂလာပါ – หมิน กะ ลา บา / หมิง กะ ลา บา อักษรซ้อนก็คือตัว င် ซ้อนกับตัว ဂ ก็จะได้เป็น င်္ဂ
ตัวสระการันต์ င် จะออกเสียงเป็น อิ๋น หรือ อิ๋ง ซึ่งเป็นตัวด้านบน และตามด้วยตัว ဂ กะ เสียงก้อง ซึ่งจะเป็นตัวซ้อนด้านล่าง และทำหน้าที่เป็น อักษรต้นของพยางค์ถัดไป ก็จะได้เป็นเสียง กะ จะเห็นว่าตัว ม้ะ မ ใน မင်္ဂလာပါ จะใช้สระ င် ในรูปแบบ င်္ ที่อยู่อักษรซ้อน င်္ဂ
สำหรับในการพิมพ์อักษรซ้อนภาษาพม่าในคีบอร์ด จะพิมพ์ดังนี้
င + ် + ္ + ဂ = င်္ဂ
ตัวอย่างการอ่านอักษรซ้อน
ဒုက္ခ – ဒုက် ခ – โด ข่ะ
မင်္ဂလာ – မင် ဂ လာ – หมิน กะ ลา
จะเห็นเวลาแยกออก เพื่อออกเสียงแต่ละพยางค์ ตัวอักษรดัานบนจะถูกทำให้เป็นสระการันต์ หรือตัวสะกด โดยเติมตัว ် เข้าไป อีกตัวอย่าง เช่น
သိက္ခာ – သိက် ခါ – เต่ะ ขา – สิกขา
อักษรซ้อนบางตัวอยู่ใรรูปพยัญชนะผสม เช่น ကြ หรือ ကျ ซึ่งถ้าเป็นพยัญชนะผสมก็จะมีเสียงเป็น จ ดังนั้น ถ้าอักษรซ้อนตัวนี้มีถูกใช้งาน จะได้ตัวสะกดเป็นตัว က และได้ จ เป็นอักษรต้นพยางค์ถัดไป ตัวอย่างเช่น
သောကြာ – သောက် – ကြာ – เตาะ จา – ศุกร์
ယောကျ်ား – เหย่า – จา – ผู้ชาย
อักษรซ้อนรูปแบบต่างๆ
က + က = က္က
က + ခ = က္ခ
က + ြ = ကြ / က + ျ = ကျ
—
ဂ + ဂ = ဂ္ဂ
ဂ + ဃ = ဂ္ဃ
င် + က ခ ဂ ဃ ဘ လ သ ကြ ကျ ဂြ
= င်္က င်္ခ င်္ဂ င်္ဃ င်္ဘ င်္လ င်္သ င်္ကြ င်္ကျ င်္ဂြ
—
စ + စ = စ္စ
စ + ဆ = စ္ဆ
—
ဇ + ဇ = ဇ္ဇ
ဇ + ဈ = ဇ္ဈ
—
ဉ + စ = ဉ္စ
ဉ + ဇ = ဉ္ဇ
ဉ + ဉ = ည
—
တ + တ = တ္တ
တ + ထ = တ္ထ
—
ဒ + ဒ = ဒ္ဒ
ဒ + ဓ = ဒ္ဓ
—
န + တ = န္တ
န + ထ = န္ထ
န + ဒ = န္ဒ
န + ဓ = န္ဓ
န + န = န္န
—
ဋ/ဍ + ဌ = ဋ္ဌ
—
ဏ + ဌ = ဏ္ဌ
ဏ + ဍ = ဏ္ဍ
ဏ + ဏ = ဏ္ဏ
—
ပ + ပ = ပ္ပ
—
ဗ + ဗ = ဗ္ဗ
ဗ + ဘ = ဗ္ဘ
—
မ + ပ = မ္ပ
မ + ဖ = မ္ဖ
မ + ဗ = မ္ဗ
မ + ဘ = မ္ဘ
မ + မ = မ္မ
—
ယ + ယ = ယျ
—
လ + လ = လ္လ
—
သ + သ = ဿ
—
ဟ + မ = ဟ္မ
—
န + ဒ + ြ / ရ = န္ဒြ
ส่วนใหญ่แล้วอักษรซ้อน จะพบเห็นใช้งานในภาษาคำยืมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคำบาลี หรือคำภาษาต่างประเทศ
เราไม่จำเป็นต้องจำทั้งหมด จะมีเพียงไม่กี่รูปที่เปลี่ยนรูปเมื่อมีการซ้อนกัน แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพยัญชนะรูปแบบเดิม เพียงการนำไปใช้งานร่วมกับประโยคเวลาออกเสียง จะเป็นไปตามที่อธิบายตอนต้นคือ อักษรตัวบนจะเป็นตัวสะกดของพยางค์แรก อักษรตัวล่างจะเป็นอักษรต้นของพยางค์ถัดไป
อักษรพิเศษในภาษาพม่า
เราอาจจะคุ้นกับอักษรพิเศษในภาษาพม่ามาบ้างแล้วในหัวข้อสระ ซึ่งส่วนใหญ่อักษรพิเศษก็จะเป็น สระลอย ในภาษาพม่า
ဣ ออกเสียง อิ้ အိ มักใช้ในคำภาษาบาลี
ဣတ္ထိယ – အိတ် ထိ ယ – หญิง
ဣတ္ထိလိင် – အိတ် ထိ လိင် – เพศหญิง
ဣရိယာပုတ် – အိ ရိ ယာ ပုတ် – อิริยาบถ ท่าทาง
ဣန္ဒြေ – အိန် ဒ ရေ – อินทรย์ ความรู้สึก
ဤ ออกเสียง อี ใช้เป็นคำบ่งชี้นาม แปลว่า นี้ มักใช้ในภาษาเขืยน แต่ถ้าเป็นภาษาพูดมักจะใช้เป็นคำว่า ဒီ ตี่
ဤရေီး — การเดินทางนี้
ဤနေရာ — สถานที่นี้
ဤဘဝ — ภพชาตินี้
ဤရွာ — หมู่บ้านนี้
ตัวอย่างประโยค
ဤရေီး နီးပါသည် ။ — การเดินทางนี้ใกล้
ဤနေရာ ဝေးပါသည် ။ — สถานที่นี้ไกล
၏ ออกเสียง อิ้ အိ ใช้ในภาษาเขียน แสดงความเป็นเจ้าของ คล้ายกับคำว่า ရဲ့ แซะ
ကြောင်ကလေး၏ နာမည် — ชื่อของแมวน้อย
ကျွန်တော်၏ အကြောင်း — เรื่องราวของผม
ကျွန်မ၏ အိမ် — บ้านของฉัน
นอกจากนี้ ၏ ยังใช้ในรูปแบบเดียวกับ သည် หรือ တယ် ที่เป็นลักษณะคำที่ใช้ร่วมกับคำกริยา เช่น
ဦးမြမှာ အိမ်ရှိ၏ ။ — ลุงมยะมีบ้าน
ကလေးတွေက ကစားနေ၏ ။ — เด็กๆ กำลังเล่น
မလုသည် စာရေးနေ၏ ။ — มะละกำลังเขียนจดหมาย
၍ ออกเสียง ยเวะ ရွေ့ เป็นคำสันธาน ใช้เฉพาะในภาษาเขียน แปลว่า แล้วก็ เหมือนกับคำว่า ปยีต้อ ပြီတော့ หรืออาจจะ แปลว่า เนื่องจาก เหมือนกับคำว่า โล้ะ လို့
စီတန်း၍ လာနေသည် ။ — เรียงแถวแล้วก็กำลังมา
လေမလာ၍ ပူသည် ။ — ร้อนเพราะลมไม่มา
၌ ออกเสียงว่า ไน่ နိုက် เป็นคำสำหรับบ่งชี้สถานที่หรือเวลา เช่นเดียวกับคำว่า หม้า မှာ ที่แปลว่า ที่
ကျောင်း၌ စာသင်ကြပါသည် ။ — เรียนหนังสือกันที่โรงเรียน
အိမ်၌ အိပ်နေသည် ။ — นอนหลับอยู่ในบ้าน
၎င်း ออกเสียงว่า ละ กอง / ละเกา လကောင်း เป็นคำคุณศัพท์สำหรับบ่งชี้นาม ใช้เฉพาะภาษาเขียน หมายถึง นั้น เช่นเดียวกับคำว่า โห้ ဟို หรือ ตี ဒီ
၎င်းစာအုပ် — หนังสือนั้น
၎င်းပုဂ္ဂိုလ် — บุคคลเหล่านั้น