สระในภาษาไทใหญ่เสียงหลัก จะมีอยู่ 12 เสียง
หลักๆ แล้วจะคล้ายสระในภาษาไทยอยู่บ้าง แต่ไม่ทั้งหมด โดยเฉพาะรูปแบบที่เป็นสระผสม ที่หน้าตาจะคล้ายกับ
สระไทย แต่ออกเสียงเป็นอื่น เช่น ေႃ เขียนเหมือนสระ เอา ในภาษาไทย แต่ออกเสียงเป็น ออ เป็นต้น
สระอา จะมีใช้งาน 2 รูปแบบ คือ แบบยาว ႃ และ แบบสั้น ၢ สระอาแบบสั้น จะใช้กรณีมีตัวสะกดด้านหลัง
การประสมสระและการออกเสียง
ฝึกลองประสม พยัญชนะ กับ สระ
ตัวอย่างการประสม พยัญชนะ ก๊ะ กับ สระต่างๆ
การฝึกออกเสียงประสมสระ
ปกติการฝึกออกเสียงประสมสระ จะเรียกชื่อตัวอักษร และชื่อสระนั้นๆ ตามลำดับ เข่น
ก๊ะ-แคอ๋า — กา
ၵ + ႃ = ၵႃ
ก๊ะ-ตึ้ดสอง — กู
ၵ + ူ = ၵူ
ก๊ะ- ตึ้ดสอง-ต่าง-ว๊ะแพด — เกอ
ၵ + ိူ-ဝ် = ၵိူဝ်
กรณีเป็นสระที่อยู่ด้านหน้า จะพูดออกเสียงคำว่า ใส่ (สา-อื่อ) ต่อจากสระนั้นๆ เช่น
แอ๋-ใส่-ก๊ะ — แก
ႄ + ၵ = ၵႄ
เอ๋-ใส่-ก๊ะ — เก
ေ + ၵ = ၵေ
เอ๋-ใส่-ก๊ะ-แคอ๋า — กอ
ေ + ၵ + ႃ = ၵေႃ
ในการพิมพ์ เพื่อประสมสระ ตั้งแต่สระ เอ๋ ေ แอ๋ ႄ โอ๋ ူဝ် อ๋อ ေႃ อื์อ ိုဝ် และ เอ๋อ ိူဝ် เราจะต้องพิมพ์ตัวพยัญชนะก่อน แล้วค่อยพิมพ์ตัวสระตามทีหลัง
สระโอ๋ สระอื๋อ และ สระเอ๋อ จะเป็นลักษณะของสระ ที่มีการประสมกันของสระ หรือสระกับตัวสะกด เช่น สระโอ๋ ก็เป็นการประสมสระเอ๋ กับ สระอ๋า ส่วนสระอื๋อ กับสระเอ๋อ ก็มีการประสม สระกับตัวสะกด
สระเอ๋ ေ กับ สระแอ๋ ႄ ถ้ามีการประสมสระและมีตัวสะกด จะเปลี่ยนจากด้านหน้าไปไว้ด้านบน เรียกว่า เอ๋ ต่าง ဵ กับ แอ๋ ต่าง ႅ
ตำแหน่งสระเสียงหลักใน keyboard
เนื้อหาตอนหน้าเราจะมาดูสระผสม หรือสระซ้อน และตัวสะกดในภาษาไทใหญ่ เพิ่มเติม