![image-37](http://khamphoo.com/wp-content/uploads/2022/01/image-37.png)
ใน 3-4 ตอนที่ผ่านมา เราได้ฝึกการออกเสียงการผสมพยัญชนะ สระและ
วรรณยุกต์ในภาษาพม่าเบื้องต้นไป จะเห็นว่าในบทความก่อนหน้าที่เราพูด
ถึงเกี่ยวกับสระในภาษาพม่า ได้หยิบยกมาแค่ตัวหลักๆ ซึ่งมีทั้งสระจม และ อักษรพิเศษ
หรือที่เรียกว่า สระลอย บางส่วน
![](https://khamphoo.com/wp-content/uploads/2022/01/image-38.png)
จากนั้นเราก็ต่อด้วยบทความ ที่มีการใช้งานวรรณยุก์เข้ามาร่วม ทำให้เกิดเสียงสระใหม่เพิ่มขึ้นมา
ตัวที่เกิดจากการใช้งานร่วมกันของสระกับวรรณยุกต์ ตัวอย่างเช่น
ตัว วรรณยุกต์ เอ้ากะมิ่น ့ ที่เมื่อเพิ่มเข้าไปทำให้เสียงสระ เอ่ အေ กลายเป็นเสียง
สระ အေ့ เอ้ะ หรือเสียงสระ โอ่ အို กลายเป็นสระ အို့ โอ้ะ ตัว เอ้ากะมิ่นที่เพิ่มเข้าไปจะทำให้เสียง
สระสั้นลง แต่สำหรับสระที่เสียงสั้นอยู่แล้ว เช่น อ้ะ အ อิ้ အိ หรือ อุ้ အု ไม่จำเป็นต้องใส่ ့ เอ้ากะมิ่น ก็ได้
สระเพิ่มเติมทั้งหมดในภาษาพม่า
จะขอแยกสระทั้งหมดอีกครั้ง รวมที่เราได้รู้จักไปแล้ว เป็นส่วนๆ ดังนี้
สระจม
เป็นรูปสระแท้ เป็นสระที่ใช้เกาะกับตัวพยัญชนะเพื่อออกเสียงเป็นพยางค์
![](https://khamphoo.com/wp-content/uploads/2022/01/image-39.png)
สระลอยหรืออักษรพยางค์ (อักษรพิเศษ)
สระลอยเป็นสระที่ไม่ต้องเกาะกับพยัญชนะใดๆ แต่สามารถออกเสียงเป็นพยางค์ได้ ตัว ဧ กับตัว ဣ เป็นได้เพียงพยางค์เพิ่อไปรวมกับพยางค์อื่นให้เป้นคำที่มีความหมาย กล่าวคือไม่มีความหมายโดยตัวมันเอง ส่วนตัวอื่นๆ มีความหมายในตัวมันเอง สำหรับตัว ၎င်း ละเก่า จะออกเสียงเป็นสองพยางค์
![](https://khamphoo.com/wp-content/uploads/2022/01/image-41.png)
ตัวอย่างการใช้สระลอย
ဥတု – อุ้ ตุ้ – ฤดูกาล
ဥ – อุ้ – ไข่
ဦး – อู – ลุง / คำนำหน้าชื่อผู้ชาย
ရာသီဥတု – ย่า ตี่ อุ้ ตุ้ -ดินฟ้าอากาศ
![](https://khamphoo.com/wp-content/uploads/2022/01/image-42.png)
สระการันต์
คือตัวการันต์ที่ใช้แทนสระ มีรูปพยัญชนะที่กำกับด้วยเครื่องหมาย ် เซ้ะโท
![](https://khamphoo.com/wp-content/uploads/2022/01/image-47.png)
สระนาสิก ก็คือสระที่มีลักษณะเสียงขึ้นจมูก หรือที่เรียกว่าเสียงนาสิก ให้เราลอง พูดคำว่า จง ลืม ฉัน ลักษณะเสียงนาสิก
สระกัก ก็คือ สระที่มีลักษณะเสียงที่ไม่เปล่งออกมาเต็มเสียง เช่นเดียวกับการใช้แม่ กก กด กบ ในภาษาไทย และมักลงท้ายในลักษณะคล้ายสระอะ เสียงจะสั้นลง
สระเปิด ก็คือ สระที่มีลักษณะเสียงที่เปล่งออกมาปกติเต็มเสียง
ตัว -င် บางครั้งออกเสียงได้ทั้ง อิ๋น หรือ อิ๋ง
ตัวอย่างการใช้สระการันต์
တက် – แต้ะ
စစ် – ซิ้
သတ် – ต้ะ
ရပ် – ย้ะ
ပင် – พิ๋น
စဉ် – ซิ๋น
ကန် – ก๋ะ
ယမ်း – ย๋ะ
လယ် – แล
စည် – ซิ
ဆည် – เซ
ကယ် – แก่ – ช่วยชีวิต
ငယ် – แหง่ – เยาว์
ဆယ် – แซ่ – สิบ 10
တယ် – แต่ หรือ แด่ – ใช้ร่วมกับคำกริยาบอกถึงปัจจุบันหรือปกติ
နယ် – แหน่ – ดินแดน หรือ นวดข้าว
ဝယ် — แหว่ – ซื้อ
စည် – ซิ่ – กลอง, เนืองแน่น
စည်း – ซี – มัด, ฉิ่ง
နည်း – นี – วิธี
ပြည် – ปิ – หนอง(แผล), ประเทศ
မြည်း – มยิ่ – ชิม, ลา
ရည် – เหย่ – ของเหลว
ဖြည်း – เฟย์ – ช้า
ဆည် – แช่ – เขื่อน
တည် – แต่ / ติ่ – ตั้ง, สร้าง
လည် – แหล่ – เที่ยว
သည် – แต่ – ผู้, นัก
တည်း – แต – พักแรม
နည်း – แน – น้อย
မည်း – แม – ดำ
လည်း – แล – ด้วย, เช่นกัน
သည်း – แต – หนัก, รุนแรง(ฝน โรค)
ตัวสระการันต์ยังสามารถไปรวมกับ สระจม เพื่อสร้างเป็น สระใหม่ได้
สระการันต์ + สระจม / พยัญชนะเชิง
พยัญชนะเชิงเช่นตัวွ วะซะแว สำหรับสระการันต์ สระกัก
เราใช้พยัญชนะ အ อ้ะ แทนเข้าไป เพื่อให้สามารถอ่านออกเสียงได้
![](https://khamphoo.com/wp-content/uploads/2022/02/image-102.png)
สำหรับสระการันต์นาสิก
![](https://khamphoo.com/wp-content/uploads/2022/01/image-44.png)
สระการันต์เวลาฝึกออกเสียง จะออกเสียงพยัญชนะ ตามด้วย แต้ด หรือ ตัต เช่น ย้ะ แต้ด ယ်
บางกรณีสระการันต์ก็ใช้เป็นตัวสะกดด้วย เช่นใช้ในคำยืมต่างๆ
การผันสระกับวรรณยุกต์
สระในภาษาพม่า ที่เป็นสระแท้ หรือสระเปิด จะสามารถผันกับวรรณยุกต์สูงตก(รัสสระ)
ตัว เอ้ากะมิ้น ့ วรรณยุกต์ต่ำระดับ(ฑีฆสระ) และวรรณยุกต์กลางตก(ครุสระ) ตัว วิจสะนะลงเป้า း
ดูรูปแบบการผันสระกับวรรณยุกต์ *จะขอใส่พยัญชนะ อ้ะ အ เพื่อให้แสดงสระได้เท่านั้น
![](https://khamphoo.com/wp-content/uploads/2022/02/image-3.png)
หากเทียบเสียงอย่างง่าย รัสสระ ก็จะเหมือนกับไม้โท ฑีฆสระ ก็จะเหมือนกับไม้เอก และ ครุสระ ก็จะเหมือนเสียงสามัญ ตัวอย่างเช่น
อ้ะ – อ่า – อา
อิ้ – อี่ – อี
อุ้ – อู่ – อู
เอ้ะ – เอ่ – เอ
แอ้ะ – แอ่ – แอ
โอ้ะ – โอ่ – โอ
อิ้ – อี่ – อี
สระนาสิกที่เขียนด้วยตัวการันต์ สามารถผันในรูปแบบข้างต้นได้
จากรูปสระเพิ่มเติม ที่เราได้ศึกษาในหัวข้อนี้ จะพบว่าภาษาพม่า มีรายละเอียดเพิ่มเติมค่อนข้างมาก และเราจำเป็นต้องฝึกจดจำ เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจ และสามารถนำไปปรับใช้งานได้ สิ่งหนึ่งที่เป็นเรื่องยากพอสมควร ก็คือการออกเสียง ที่จะเทียบให้ใกล้เคียงกับภาษาไทยค่อนข้างยาก ดังนั้นอาจจะถ่ายทอดออกมาไม่ถูกต้องเสียทีเดียว ต้องอาศัยประสบการณ์ในการรับฟังเพิ่มเติม ในที่นี้จะให้เป็นพื้นฐานในภาพรวมเท่านั้น
สำหรับเนื้อหาตอนหน้า เรายังอยู่ในพื้นฐานของภาษาอยู่ จะพูดถึงตัวอักษรควบ หรือตัวอักษรซ้อน รอติดตาม