ในภาษาไทใหญ่จะมีวรรณยุกต์ด้วยกัน 5 รูป 6 เสียง
ประกอบด้วย ตัว
– ႇ ႈ း ႉ ႊ
เป่า ยัก ยักจำ จำหน่า จำตื่อ ยักคึน
ชื่อเรียกวรรณยุกต์ในภาษาไทใหญ่
การเทียบกับเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทย
เสียงตัว ยักจำ จะเริ่มต้นเสียงคล้าย เสียงสามัญ และจบด้วยเสียงโทครึ่งเสียง
การฝึกออกเสียงกับพยัญชะ ตัว อ๊ะ โดยประสมกับสระ อ๋า
การออกเสียงตัว ยักจำ ข้างต้น จะออกเป้น อา หรือ เป็น อ้า แล้วแต่กรณี แต่เสียงโท จะไม่เต็มเสียง ผู้เขียนจึงเขียนคำอ่าน ในลักษณะ สองพยายางค์ให้เห็นภาพเท่านั้น
การออกเสียงตัว จำหน่า จะว่าเป็นเสียง ตรี ในภาษาไทยเลยก็ไม่ตรงเสียทีเดียว จะออกเสียงกลางฟังแล้วเสียงจะดูอ่อนนุ่มไม่แข็ง คล้ายกับ น๊ะจ๊ะ
เสียงที่มีความชัดเจน และตรงกับเสียงในวรรณยุกต์ไทย ก็คือเสียงตัว
– เป่า (เสียงจัตวา)
ႇ ยัก (เสียงเอก)
ႉ จำตื่อ (เสียงโท)
ႊ ยักคึน (เสียงสามัญ)
ส่วน 2 เสียงที่เหลือ ไม่ชัดเจนนัก ก็ให้ยึดเบื้องต้นตามนี้เป็นพื้นฐาน
*ในเนื้อหา ผู้เขียนจะยืดตัววรรณยุกต์เทียบกับวรรณยุกต์ไทยกำกับเป็นดังนี้ เพื่อให้ช่วยจดจำ การเขียน
– เสียงไม้จัตวา
ႇ เสียงไม้เอก
ႈ เสียงไม้โท หรือไม้เอกถ้าเป็นเสียงยาว
း เสียงไม้ตรี
ႉ เสียงไม้โท หรือไม้เอกถ้าเป็นเสียงยาว
ႊ เสียงสามัญ
ตัววรรณยุกต์ในภาษาไทใหญ่ จะวางไว้ท้ายคำที่จะใช้งาน ต่างจากวรรณยุกต์ไทย ที่วางไว้ด้านบนพยัญชนะ จำไว้ว่า วรรณยุกต์เปลี่ยน เสียงก็เปลี่ยน ความหมายก็อาจจะเปลี่ยนไปด้วย