วรรณยุกต์ ในความหมายของภาษาไทยก็คือ เครื่องหมายที่แสดงเสียงสูง ต่ำ ของคำ ในภาษาขืน จะเรียกว่า
ไม้นำเสียง (ᨾᩱᩢᨶᩣᩴᩣᩈ᩠ᨿᨦ) มีด้วยกัน 5 ตัว ดังนี้
และ อีก 3 ตัว ที่ใช้กับพยัญชนะ เสียงกลางเท่านั้น
พยัญชนะเสียงกลาง
ได้แก่
ไม้นำเสียง ทั้ง 3 มีใช้งานไม่มากนัก
วิธีใช้ ไม้นำเสียง ก็จะนำไปไว้ด้านบนของพยัญชนะ เมื่อมีการประสมคำ เพื่อทำให้มีระดับเสียงสูงต่ำ แตกต่างกันไป และทำให้ความหมายของคำนั้นๆ ที่ได้ ต่างกันไปด้วย
หลักการในการใส่ ไม้หยัก ไม้ซัด
ไม้หยัก กับ ไม้ซัด จะไม่ใส่ในสระที่เป็นเสียงสั้น ได้แก่
ᨠᩡ ᨠᩥ ᨠᩧ ᨠᩩ ᨠᩮᩡ ᨠᩯᩡ ᨠᩰᩡ ᨠ᩠ᩅᩫᩡ ᨠᩰ᩠ᩋᩡ และ ᨠᩮ᩠ᩋᩨᩡ
การออกเสียงเมื่อใส่ ไม้หยัก ไม้ซัด
ยกตัวอย่าง ใช้ ตัว ᨠ (ก๊ะ) กับ สระไม้ ᨠᩳ (ไม้ก๋อ) และ ᨣ (ก่ะ / คะ) กับ สระไม้ ᨠᩳ (ไม้ก๋อ)
โดยจะไล่เสียงให้ดูว่า ถ้านำไม้หยักไม้ซัด ประสมเพื่ออกเสียง จะเป็นในลักษณะ อย่างไร
สังเกตว่า ตัว ᨠ (ก๊ะ) เป็นเสียงสูง และตัว ᨣ (ก่ะ) เป็นเสียงต่ำ เมื่อประสมไม้ก๋อ ตัวเสียงสูง จะออกเสียงเหมือนเสียงจัตวา ในวรรณยุกต์ภาษาไทย ในขณะที่ตัวเสียงต่ำ จะออกเสียงเหมือนเสียงสามัญ เทียบ ตัวที่ 1 กับตัวที่ 4 ที่อ่านออกเสียง ก๋อ กับ กอ
เมื่อใส่ ไม้หยัก ทั้งสองตัว จะออกเสียงเหมือนกัน เทียบตัวที่ 2 กับ 5 ที่อ่านออกเสียง ก่อ เหมือนกัน
เมื่อใส่ ไม้ซัด ตัวเสียงสูง จะออกเสียง เป็นเสียงสามัญ ในขณะตัวที่เสียงต่ำ จะออกเสียงเหมือนเสียงโท เทียบ ตัวที่ 3 กับตัวที่ 6 ที่อ่านออกเสียง กอ กับ ก้อ
ดังนั้น วิธีการไล่เสียง เมือประสม ตัวพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ก็จะอยู่ในรูปแบบ ดังนี้
—เสียงสูง — – — เสียงต่ำ—
อ๋อ อ่อ ออ | ออ อ่อ อ้อ
สังเกตว่าตัวพยัญชนะ เสียงต่ำ เราสามารถไล่เสียงเหมือนภาษาไทย
— เสียงต่ำ—
ออ อ่อ อ้อ
——- ตัวอย่าง ———-
ᨤᩣ ᨤ᩵ᩣ ᨤᩢᩣ
คา ค่า ค้า
พยัญชนะเสียงสูง ไล่เสียงเป็น
—เสียงสูง — –
อ๋อ อ่อ ออ
——- ตัวอย่าง ———-
ᨲᩪ ᨲᩪ᩵ ᨲᩪᩢ
ตู๋ ตู่ ตู
มาดูอีกตัวอย่าง ตัว ᩈ (ส๊ะ) เสียงสูง กับตัว ᨪ (ซ่ะ) เสียงต่ำ เมื่อประสมไม้ ᨠ᩠ᩅᩥ (ไม้กิ๋ว)
มาดูตัวอย่างอีกตัวอย่างเพิ่มเติม ตัว ᨾ (ม่ะ) เสียงต่ำ กับเสียงสูงจะใช้เป็นอักษร ห นำ หรือ ᩉ (ห๊ะ) นำเพื่อทำให้เป็นเสียงสูง ก็จะได้เป็นเสียง ᩉ᩠ᨾ (หม๊ะ) เราจะลองมาผสมกับ สระไม้ ᨠᩣ (ไม้ก๋า)
ในตอนหน้าเรามาดูเกี่ยวกับ ตัวสะกดในภาษาขืน