ภาษาไทเหนือ(ไทใต้คง) เป็นภาษาที่ใช้โดยชาวไทเหนือ เป็นกลุ่มชนเผ่าหนึ่งในตระกูลไท ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณเมืองมาว
(ปัจจุบันอยู่ในอำเภอรุ่ยลี่ เขตปกครองตนเองเต๋อหง) คือลุ่มแม่น้ำมาว ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลยูนนาน
ประเทศจีน ส่วนใหญ่ใช้อักษรและภาษาไทเหนือ จึงถูกคนไทถิ่นอื่นในจีนเรียกว่า “ ไทเหนือ ” แต่ชาวไทเหนือนิยมเรียกตนเองว่า ไทหลวง หรือ ไทใหญ่ และเนื่องจากกลุ่มคนดังกล่าวตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำมาว หรือมาวโหลง (มาว หลวง) จึงถูกเรียกว่า ไทมาว อีกด้วย โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ตอนเหนือสุดเขตไทใหญ่ในมณฑลยูนนาน โดยอาศัยอยู่ที่เมืองบ่อ เมืองขวัน เมืองกึ่งม้า มีจารีตธรรมเนียมความเป็นอยู่คล้ายชาวไทใหญ่
คำที่ใช้เรียกภาษาไทเหนือ เช่น ไทใต้คง เต๋อหงไตย ไทเลอ ไทเหนอ ไทเข่ หรือแข่ (เข่เป็นภาษาไทใหญ่หมายถึงจีน)
ภาษาไทเหนือ จะเขียนในลักษณะต่อกันยาวๆ ทั้งพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ จะไม่มีตัวซ้อนกันบนล่างเหมือนภาษาไทยหรือภาษาไทใหญ่ ยกตัวอย่างเช่นคำว่า นางแสง เราเขียนภาษาไทใหญ่เป็น ၼၢင်းသႅင် จะเห็นสระ แอ จะมาก่อนพยัญชนะ แต่สำหรับภาษาไทเหนือ จะเขียนต่อกันเป็น ᥢᥣᥒᥰ ᥔᥦᥒᥴ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีการใช้รูปแบบป้ายกำกับแบบเดิม เพื่อแสดงวรรณยุกต์อยู่บ้าง โดยจะเขียนป้ายกำกับนั้นไว้ที่ตัวสุดท้าย เช่น ᥔᥦᥒᥴ ก็จะเป็น ᥔᥦń ดูเพิ่มเติมในส่วนของวรรณยุกต์ในตอนท้ายของบทความนี้
ข้อสังเกต คำภาษาไทใหญ่ ไทเหนือ กับคำภาษาไทย ในบางคำจะมีความคล้ายคลึงกัน แต่มีการ
เปลี่ยนในเรื่องของพยัญชนะ อาจเนื่องจากภาษาพูดที่มีการผิดเพื้ยนไปบ้าง เช่น เราจะเห็นว่าใน
บางคำภาษาไทใหญ่ จะมีการใช้เสียงตัว ล (ลอ ลิง) แทนเสียง ด (ด เด็ก) ยกตัวอย่าง ลี – ดี ไล้ – ได้
แลง- แดง เลือน – เดือน ลาว – ดาว หรือเสียง ว (วอ แหวน) แทนเสียง บ (บอ ใบไม้) ยกตัวอย่าง
ว้าน – บ้าน หรือเสียง ม (มอ ม้า) แทนเสียง บ (บอ ใบไม้) ยกตัวอย่าง ม่าว – บ่าว อย่างในภาษา
ไทเหนือ เช่น ม้าน – บ้าน และอาจจะยังมีอีกหลายรูปแบบที่ไม่ได้กล่าว เช่น วันไน้ – วันนี้ ไหล -ไหน
ดังนั้น การจะเข้าใจภาษาไทใหญ่ ไทเหนือ เราจำเป็นต้องได้ยินได้ฟังบ่อยๆ ก็จะสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น
มีพยัญชนะภาษาไทเหนือ 19 ตัว
ᥐ (กา) ᥑ (คา) ᥒ (งา) ᥓ (จา) ᥔ (ซา)
ᥕ (ยา) ᥖ (ตา) ᥗ (ทา) ᥘ (ลา) ᥙ (ปา)
ᥚ (พา) ᥛ (มา) ᥜ (ฟา) ᥝ (วา) ᥞ (ฮา)
ᥟ (อา) ᥠ (คา) ᥡ (ชา) ᥢ (นา)
ᥐ —– กา
ᥑ —– คา
ᥒ —– งา
ᥓ —– จา
ᥔ —– ซา
ᥕ —– ยา
ᥖ —– ตา
ᥗ —– ทา
ᥘ —– ลา
ᥙ —– ปา
ᥚ —– พา
ᥛ —– มา
ᥜ —– ฟา
ᥝ —– วา
ᥞ —– ฮา
ᥟ —– อา
ᥠ —– คา
ᥡ —– ชา
ᥢ —– นา
สระเดี่ยวในภาษาไทเหนือ 10 ตัว
เป็นตัวเสียงสระหลัก ที่สามารถนำไปรวมกับพยัญชนะเพื่อใช้เป็นสระประสมได้ หลักๆ ควรจำตัวสระเหล่านี้
ᥣ —– อา
ᥤ —– อี
ᥥ —– เอ
ᥦ —– แอ / เอีย
ᥧ —– อู
ᥨᥝ —– โอ / โอว เป็นสระประสม ᥨ + ᥝ เป็น ᥨᥝ
ᥩ —– ออ / อัว
ᥪ —– อือ
ᥫ —– เออ / เอือ
ᥬ —– อา-อือ (คล้ายสระ ใอ แต่จะออกเสียงช้ากว่า เช่น ใหม่สูง – หม่า+อือ สูง ᥛᥬᥱ ᥔᥧᥒᥴ )
วิธีแยกจำสระหลัก เราสามารถแยกออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1
ᥣ —– อา
ᥧ —– อู
ᥨᥝ —– โอ / โอว
ᥬ —– อา-อือ (คล้ายสระ ใอ)
กลุ่มที่ 2
ᥤ —– อี
ᥪ —– อือ
กลุ่มที่ 3
ᥦ —– แอ / เอีย
ᥫ —– เออ / เอือ
กลุ่มที่ 4
ᥥ —– เอ
ᥩ —– ออ / อัว
ตัวอย่างการผันอักษร พชัญชนะ สระ และวรรณยุกต์
เกี่ยวกับวรรณยุกต์ ดูได้ที่ด้านล่างสุดของบทความ
ᥐᥣᥰ —– กา วรรณยุกต์เสียงที่สอง เสียงสามัญแล้วไปเสียงโท กา–อ้า ส่วนวรรณยุกต์เสียงอื่นจะคล้ายๆ ไทย ที่เป็น สามัญ เอก โท ตรี และ จัตวา
ᥐ + ᥣ = ᥐᥣ — ᥐᥣᥰ — ᥐᥣᥱ — ᥐᥣᥲ — ᥐᥣᥳ — ᥐᥣᥴ
กา กา-อ้า ก่า ก้า ก๊ะ ก๋า
ᥐ + ᥤ = ᥐᥤ — ᥐᥤᥰ — ᥐᥤᥱ — ᥐᥤᥲ — ᥐᥤᥳ — ᥐᥤᥴ
กี กี-อี้ กี่ กี้ กิ๊ กี๋
ᥐ + ᥥ = ᥐᥥ — ᥐᥥᥰ — ᥐᥥᥱ — ᥐᥥᥲ — ᥐᥥᥳ — ᥐᥥᥴ
เก เก-เอ้ เก่ เก้ เก๊ะ เก๋
ᥐ + ᥦ = ᥐᥦ — ᥐᥦᥰ — ᥐᥦᥱ — ᥐᥦᥲ — ᥐᥦᥳ — ᥐᥦᥴ
แก แก-แอ้ แก่ แก้ แก๊ะ แก๋
เกีย เกีย-เอี้ย เกี่ย เกี้ย เกี๊ยะ เกี๋ย
ᥐ + ᥧ = ᥐᥧ — ᥐᥧᥰ — ᥐᥧᥱ — ᥐᥧᥲ — ᥐᥧᥳ — ᥐᥧᥴ
กู กู-อู้ กู่ กู้ กุ๊ กู๋
ᥐ + ᥨᥝ = ᥐᥨᥝ — ᥐᥨᥝᥰ — ᥐᥨᥝᥱ — ᥐᥨᥝᥲ — ᥐᥨᥝᥳ — ᥐᥨᥝᥴ
โก โก-โอ้ โก่ โก้ โก๊ะ โก๋
ᥐ + ᥩ = ᥐᥩ — ᥐᥩᥰ — ᥐᥩᥱ — ᥐᥩᥲ — ᥐᥩᥳ — ᥐᥩᥴ
กอ กอ-อ้อ ก่อ ก้อ เก๊าะ ก๋อ
ᥐ + ᥪ = ᥐᥪ — ᥐᥪᥰ — ᥐᥪᥱ — ᥐᥪᥲ — ᥐᥪᥳ — ᥐᥪᥴ
กือ กือ-อื้อ กื่อ กื้อ เกื๊อะ กื๋อ
ᥐ + ᥫ = ᥐᥫ — ᥐᥫᥰ — ᥐᥫᥱ — ᥐᥫᥲ — ᥐᥫᥳ — ᥐᥫᥴ
เกอ เกอ-เอ้อ เก่อ เก้อ เก๊อะ เก๋อ
ᥐ + ᥬ = ᥐᥬ — ᥐᥬᥰ — ᥐᥬᥱ — ᥐᥬᥲ — ᥐᥬᥳ — ᥐᥬᥴ
กา-อือ กา-อื้อ ก่า-อือ ก้ะ-อือ ก๋า-อือ
ไก ไก-อื้อ ไก่ ไก้ ไก๊ ไก๋
สระประสมในภาษาไทเหนือ 74 ตัว
สระประสม เป็นการนำสระเดี่ยวมารวมกับพยัญชนะเป็นหลัก แล้วทำให้เกิดเสียงสระใหม่ รูปแบบจะคล้ายภาษาไทใหญ่ และภาษาไทย ถ้าเป็นภาษาไทก็เหมือนการนำมารวมกับตัวสะกดแม่ กก กด กบ กง กม กน เกย เกอว ดังนั้น เวลาเราจำ แค่จำรูปแบบ โดยเฉพาะตัวสระเดี่ยวให้ได้ ผล้วค่อยปรับเปลี่ยนเสียงตามความเหมาสะสม ก็จะทำให้เข้าใจและอ่านภาษาไทเหนือได้ง่ายขึ้น
ᥭ —– ไอย / อัย
ᥣᥭ —– อาย
ᥧᥭ —– อูย
ᥥᥭ —– เอ *ไม่รวมในระบบที่สอนปัจจุบัน
ᥨᥭ —– โอย
ᥩᥭ —– ออย
ᥪᥭ —– อืย
ᥫᥭ —– เอย
-ᥝ —– เอา
ᥣᥝ —– อาว
ᥤᥝ —– อิว
ᥥᥝ —– เอว
ᥦᥝ —– แอว
ᥨᥝ —– โอ / โอว มักใช้แทน ᥨ แทนสระ โอ * ᥨ ใช้ร่วมกับ ᥝ
ᥪᥝ —– อือ / อือว
ᥫᥝ —– เออ / เออว
-ᥐ —– อัก
ᥣᥐ —– อาก
ᥤᥐ —– อิก
ᥥᥐ —– เอก
ᥦᥐ —– แอก
ᥧᥐ —– อูก
ᥨᥐ —– โอก (หรือตัวสะกดแม่ กก)
ᥩᥐ —– ออก
ᥪᥐ —– อืก
ᥫᥐ —– เอิก
-ᥖ —– อัด
ᥣᥖ —– อาด
ᥤᥖ —– อิด
ᥥᥖ —– เอด
ᥦᥖ —– แอด
ᥧᥖ —– อูด
ᥨᥖ —– โอด (หรือตัวสะกดแม่ กด)
ᥩᥖ —– ออด
ᥪᥖ —– อืด
ᥫᥖ —– เอิด
-ᥙ —– อับ
ᥣᥙ —– อาบ
ᥤᥙ —– อิบ
ᥥᥙ —– เอบ
ᥦᥙ —– แอบ
ᥧᥙ —– อูบ
ᥨᥙ —– โอบ (หรือตัวสะกดแม่ กบ)
ᥩᥙ —– ออบ
ᥪᥙ —– อืบ
ᥫᥙ —– เอิบ
-ᥒ —– อัง
ᥣᥒ —– อาง
ᥤᥒ —– อิง
ᥥᥒ —– เอง
ᥦᥒ —– แอง
ᥧᥒ —– อูง
ᥨᥒ —– โอง (หรือตัวสะกดแม่ กง)
ᥩᥒ —– ออง
ᥪᥒ —– อืง
ᥫᥒ —– เอิง
-ᥢ —– อัน
ᥣᥢ —– อาน
ᥤᥢ —– อิน
ᥥᥢ —– เอน
ᥦᥢ —– แอน
ᥧᥢ —– อูน
ᥨᥢ —– โอน (หรือตัวสะกดแม่ กน)
ᥩᥢ —– ออน
ᥪᥢ —– อืน
ᥫᥢ —– เอิน
-ᥛ —– อำ
ᥣᥛ —– อาม
ᥤᥛ —– อิม
ᥥᥛ —– เอม
ᥦᥛ —– แอม
ᥧᥛ —– อูม
ᥨᥛ —– โอม (หรือตัวสะกดแม่ กม)
ᥩᥛ —– ออม
ᥪᥛ —– อืม
ᥫᥛ —– เอืม
วรรณยุกต์มีทั้งหมด 6 เสียง
วรรณยุกต์ในภาษาไทเหนือถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราแยกคำแต่ละคำของจากกันได้งายขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วภาษาไทเหนือจะเขียนติดๆ กัน หากเราสังเกตวรรณยุกต์ซึ่งถ้ามี ก็จะเขียนไว้ด้านหลังสุดของคำนั้นๆ เราก็จะแยกคำออกและออกเสียงได้ง่ายขึ้น
เวลาการอ่านออกเสียงวรรณยุกต์ ในภาษาไทเหนือจะออกเสียงรูปกับสระที่ใช้ เช่น สมมติภาษาไทย คำว่า ก้า ก็จะสะกดออกเสียงเป็น กอ อา กา ไม้โทก้า แต่สำหรับภาษาไทเหนือ จะเป็น กอ อ้า ก้า นั่นคือ ถ้าตัววรรณยุกต์ไปอยู่ต่อท้ายสระใด สระนั้นก็จะออกเสียงตามวรรณยุกต์ไปเลยนั้นเอง
โดยเสียงวรรณยุกต์ของภาษาไทเหนือ จะคล้ายๆ กับภาษาไทย ยกเว้นตัวที่ 2 ที่จะออกเสียงเป็นสามัยแล้วก็ไปเสียงโท อย่างคำว่า ᥐᥣᥰ —– กา เสียงสามัญแล้วไปเสียงโท กา–อ้า
ᥰ —– ᥱ —– ᥲ —– ᥳ —– ᥴ
ᥐᥣ —– กา เสียงสามัญ
ᥐᥣᥰ —– กา เสียงสามัญแล้วไปเสียงโท กา–อ้า
ᥐᥣᥱ —– ก่า เสียงเอก
ᥐᥣᥲ —– ก้า เสียงโท
ᥐᥣᥳ —– ก๊า เสียงตรี (เสียงสั้นไม่ลากยาว)
ᥐᥣᥴ —– ก๋า เสียงจัตวา
ในรูปแบบการใช้งานวรรณยุกต์แบบเก่า อาจจะมีพบเห็นบ้าง จะเป็นการใช้สัญลักษณ์ กำกับไว้ที่ตัวสุดท้ายของคำๆ นั้น โดยจะมีรูปแบบสัญลักษณ์ เปรียบเทียบแบบเก่า กับแบบไหม่ดังนี้
◌̈ (จุดสองจุด) แบบใหม่ ᥰ เทียบ เสียงสามัญท้ายโท
◌̌ แบบใหม่ ᥱ เทียบ เสียงเอก
◌̀ แบบใหม่ ᥲ เทียบ เสียงโท
◌̇ (จุดหนึ่งจุด) แบบใหม่ ᥳ เทียบ เสียงตรี (เสียงสั้นไม่ลากยาว)
◌́ แบบใหม่ ᥴ เทียบ เสียงจัตวา
ตัวอย่างการใช้วรรณยุกต์และการออกเสียง
ᥣ — ᥣᥰ — ᥣᥱ — ᥣᥲ — ᥣᥳ — ᥣᥴ
อา อา-อ้า อ่า อ้า อ๊ะ อ๋า
ᥤ — ᥤᥰ — ᥤᥱ — ᥤᥲ — ᥤᥳ — ᥤᥴ
อี อี-อี้ อี่ อี้ อิ๊ อี๋
ᥥ — ᥥᥰ — ᥥᥱ — ᥥᥲ — ᥥᥳ — ᥥᥴ
เอ เอ-เอ้ เอ่ เอ้ เอ๊ะ เอ๋
ᥦ — ᥦᥰ — ᥦᥱ — ᥦᥲ — ᥦᥳ — ᥦᥴ
แอ แอ-แอ้ แอ่ แอ้ แอ๊ะ แอ๋
เอีย เอีย-เอี้ย เอี่ย เอี้ย เอี๊ยะ เอี๋ย
ᥧ — ᥧᥰ — ᥧᥱ — ᥧᥲ — ᥧᥳ — ᥧᥴ
อู อู-อู้ อู่ อู้ อุ๊ อู๋
ᥨᥝ — ᥨᥝᥰ — ᥨᥝᥱ — ᥨᥝᥲ — ᥨᥝᥳ — ᥨᥝᥴ
โอ โอ-โอ้ โอ่ โอ้ โอ๊ะ โอ๋
ᥩ — ᥩᥰ — ᥩᥱ — ᥩᥲ — ᥩᥳ — ᥩᥴ
ออ ออ-อ้อ อ่อ อ้อ เอ๊าะ อ๋อ
อัว อัว-อั้ว อั่ว อั้ว อั๊วะ อั๋ว
ᥪ — ᥪᥰ — ᥪᥱ — ᥪᥲ — ᥪᥳ — ᥪ
อือ อือ-อื้อ อื่อ อื้อ อี๊ อื๋อ
ᥫ — ᥫᥰ — ᥫᥱ — ᥫᥲ — ᥫᥳ — ᥫᥴ
เออ เออ-เอ้อ เอ่อ เอ้อ เอ๊อะ เอ๋อ
ᥬ — ᥬᥰ — ᥬᥱ — ᥬᥲ — ᥬᥳ — ᥬᥴ
อา-อือ อา-อื้อ อ่า-อือ อ๊ะ-อือ อ๋า-อือ
ไอ ไอ-อื้อ ไอ่ ไอ้ ไอ๊ ไอ๋
คำสำหรับฝึกอ่าน
ᥟᥧᥲ — ᥛᥥ — ᥔᥥᥰ — ᥛᥨᥲ — ᥐᥝ — ᥛᥬᥰ — ᥞᥣᥰ — ᥖᥧ
อู้ — เม — เซ-เอ้ — โม — เกา — มา-อื้อ/ไม — ฮา-อ้า — ตู
ᥔᥧᥴ — ᥚᥬᥴ — ᥐᥣᥱ — ᥛᥣᥰ — ᥘᥥᥱ — ᥑᥣᥴ — ᥛᥤᥰ
สู — ผ๋า-อือ/ไผ๋ — ก่า — มา-อ้า — เล่ — ขา — มี-อี้
ᥕᥧᥱ — ᥓᥬ — ᥘᥤ — ᥔᥫᥰ — ᥖᥥᥳ ᥖᥥᥳ
หยู่ — จา-อื้อ/ใจ — ลี — เซอ-เอ้อ — เต๊ะ-เต๊ะ
ᥓᥨᥝᥰ ᥓᥣᥰ — ᥓᥤ ᥓᥨᥝ — ᥟᥣ ᥓᥨᥝ — ᥙᥣᥲ ᥖᥬᥲ
โจ-โอ้ จา-อ้า — จี-โจ — อา-โจ — ป้า-ต้า-อื้อ/ป้า-ไต้
ตัวเลขในภาษาไทเหนือ
ตัวเลขในภาษาไทเหนือจะคล้ายกับภาษาพม่าและก็ภาษาไทใหญ่ในจีน การออกเสียงเหมือนกัน
ตัวอย่างข้อความภาษาไทเหนือ ไทใต้คง
ᥛᥬᥱ ᥔᥧᥒᥴ
– ไหม่ สูง
ᥙᥙ ᥔᥩᥢᥴ ᥘᥤᥐ ᥑᥣᥛᥰ ᥖᥭᥰ ᥖᥬᥲ ᥑᥨᥒᥰ
– ปับ สอน ลิก คำ ไตย ได้ คง (ต้า+อือ คง)
จากรูปแบบภาษาของไทเหนือ จะเห็นว่า เป็นการพยายามของทางการจีน ที่จะให้ใช้ตัวอักษรที่จีนสร้างขึ้นมา
เพื่อให้ใช้สำหรับคนไทใหญ่ที่อยู่ในเมืองจีน ทั้งนี้ก็เพราะว่า คำต่างๆ ส่วนใหญ่ก็เป็นคำไตย หรือคำไทใหญ่ เพียง
แค่รูปแบบตัวอักษรที่ใช้ไม่เหมือนกัน เช่นเดียวกับภาษาไทลื้อใหม่ ที่ทางการจีนสร้างขื้นมาให้กับชาวไทลื้อ
ในสิบสองปันนา ดังนั้นในพื้นที่ของชนชาติไตยในมลฑลยูนนาน เราจะเห็นได้ทั้งการใช้ตัวอักษรไทใหญ่ กับไทเหนือ
ร่วมผสมปนกันไป บางพื้นที่ก็ใช้ภาษาไทใหญ่คล้ายในพม่า เช่นเดียวกับในพื้นที่เมืองสิบสองปันนาที่เป็นเมืองหลวง
ของไทลื้อ เราก็จะเห็นการใช้งานภาษาไทลื้อ(ไทธรรม ไทขืน) ร่วมผสมปนกันไปกับภาษาไทลื้อใหม่ แบบนี้เป็นต้น