จากเนื้อหาพื้นฐานที่ได้อธิบายไปแล้ว เกี่ยวกับภาษาขืนหรือไทขืน ซึ่งเป็นรูปแบบภาษาเดียวกับไทลื้อ
มีความคล้ายกัน แต่ไม่เหมือนทั้งหมด เท่าที่สังเกต ภาษาขืนจะมีการทับศัพท์คำใกล้เคียงกับภาษาไทย รวมถึงอาจจะคล้ายๆ กับภาษาล้านนาที่ใช้ในประเทศไทยทางภาคเหนือในบางพื้นที่ อย่างไรก็ตามจะขอพูดถึงภาษาไทขืน
และภาษาไทลื้อ โดยตามที่ผู้เขียนและรวมรวบเข้าใจนั้น ภาษาไทขืนกับภาษาไทลื้อจะเป็นภาษาเดียวกัน แต่เรียกชื่อตาม กลุ่มคนที่ใช้งาน โดยภาษาไทขืนจะเป็นภาษาที่ชาวไทขืนใช้งาน โดยเฉพาะใช้ในเมืองเชียงตุง ประเทศพม่า
ที่มีชาวไทขืนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในขณะที่ภาษาไทลื้อจะเป็นภาษาที่คนชนชาติไทลื้อโดยเฉพาะในเมือง
สิบสองปันนาประเทศจีนใช้กัน ดังนั้นเมื่อเราศึกษาภาษาไทขืนก็เหมือนเราศึกษาภาษาไทลื้อไปด้วยนั่นเอง โดยภาษา
ไทขืนและไทลื้อเป็นภาษาโบราณที่ใช้อักษร(ไท)ธรรม โดยใช้มากันยาวนาน สิบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
อย่างไรก็ดีเมื่อเรามีพื้นฐานภาษาไทขืนและไทลื้อแล้ว ก็จะขอต่อยอดเพิ่มเติมในเนื้อหาภาษาไทลื้อใหม่
ซึ่งเป็นอักษรสระประกอบที่ใช้เขียนภาษาไทลื้อ ที่พัฒนาในประเทศจีน รัฐบาลจีนสนับสนุนอักษรนี้ไว้แทนที่
อักษรแบบเก่า แต่เนื่องจากไม่มีการบังคับสอนด้วยอักษรนี้ ทำให้หลายคนไม่สามารถอ่านอักษรไทลื้อใหม่ได้
นอกจากนี้ ชุมชนชาวไทลื้อในประเทศพม่า, ลาว, ไทย และเวียดนามยังคงใช้อักษรธรรม
เหตุผลที่นำพื้นฐานภาษาไทลื้อใหม่มาแนะนำก็เนื่องจากว่าผู้เขียนพบว่าในประเทศจีน เริ่มมีการใช้ตัวอักษร
ไทลื้อใหม่กันเพิ่มขึ้น ซึ่งรูปแบบก็ไม่ได้แตกต่างไปจากเดิมมากนัก ทำให้น่าศึกษาไว้เป็นความรู้หากสนใจ
และอีกหนึ่งเหตุผลก็คือภาษาไทลื้อใหม่แสดงผลได้ดีกว่า ก็อาจจะเป็นเหตุผลที่คนจีนหันมาใช้เพิ่มขึ้น
เนื้อหานี้จะเน้นไปที่การอ่าน เป็นการจดจำตัวอักษรทั้งที่เป็นพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เพื่อเป็นแนวทาง
พื้นฐานต่อไป
พยัญชนะในภาษาไทลื้อใหม่
พยัญชนะในภาษาไทลื้อใหม่ จะแยกออกเป็นสองรูปแบบคือ แบบเสียงสูง กับแบบเสียงต่ำ โดยมี 5 ตัวที่มีการใช้ตัว ห นำ เพื่อให้เกิดเป็นเสียงสูง ได้แก่ ᦄ หงะ | ᦐ หนะ | ᦖ หมะ | ᦛ หวะ | ᦜ หละ | และมีพยัญชนะผสม ได้แก่ ᦦ กวะ | ᦨ ควะ | ᦧ ขวะ | ᦩ ฅวะ | ᦪ สวะ | ᦫ ซวะ | นอกจากนี้ยังมีพยัญชนะพิเศษ ที่ใช้แทนคำว่า แล้ว ᧟ ( คำว่า ᦶᦟᧁᧉ แล้ว (/lɛu˩/) สามารถย่อได้เป็น ᧟ )
จะขอเทียบทั้งตัวอักษรไทย ตัวอักษรไทขืน/ไทลื้อ และไทลื้อใหม่ เพื่อให้เห็นความแตกต่าง และเป็นการจดจำ
ไปในตัว
ตัวอักษรไทลื้อใหม่ ก็จะเป็นการปรับเปลี่ยนหรือประยุกต์จากตัวอักษรไทธรรม มีรูปแแบบค่อนข้างคล้ายกับรูปแบบเดิม แต่ยังมีความแตกต่างที่ต้องสังเกต อย่างเช่น พยัญชนะควบหรืออักษรควบ หรืออักษรผสม ในภาษาไทลื้อใหม่จะมีรูปแบบที่จำกัดกว่าของไทขืนและไทลื้อเดิม
ตัวสะกดในภาษาไทลื้อใหม่
ตัวสะกดในภาษาไทลื้อใหม่จะเป็นดัดแปลงจากพยัญชนะ โดยมีหางห้อยลงมา คล้ายตะขอ แต่ถ้าในภาษาขืน เราจะเห็นว่าบางครั้งก็มีการก็จะมีทั้งเขียนลงมาเป็นตัวซ้อน หรือบางครั้งก็ต่อท้ายคำปกติ
ข้อสังเกต ตัวสะกดในภาษาไทขืน และไทลื้อเดิม จะมีทั้งแบบเขียนต่อท้ายและแบบตัวซ้อนที่เขียนไว้ด้านล่าง ในขณะที่ตัวสะกดของตัวอักษรไทลื้อใหม่จะเขียนต่อท้ายอย่างเดียว
ตัวอย่างการผันตัวสะกดในภาษาไทลื้อใหม่
ต้วอย่างตัวสะกดในภาษาไทขืน ไทลื้อ
สระในภาษาไทลื้อใหม่
สระในภาษาขืนจะออกเสียงเป็นสระไม้ กะ ไม้ก๋า ไม้ กิ ไม้ กี๋ ในภาษาไทลื้อใหม่ มีรูปสระที่น้อยเมื่อเทียบกับภาษาขืน และภาษาไทลื้อ
สระประสมในภาษาไทลื้อใหม่
วรรณยุกต์ในภาษาไทลื้อใหม่
ในอักษรไทลื้อใหม่ มีวรรณยุกต์แค่เพียงสองแบบ ใช้วิธีการเขียนแตกต่างจากภาษาขืน โดยภาษาไทลื้อใหม่จะเขียนวรรณยุกต์ไว้ต่อท้าย ถ้าเทียบกับภาษาไทย หรือภาษาขืน ก็จะเป็น ไม่เอก หรือไม่โท ในภาษาไทย และ เป็นไม่หยัก กับ ไม้ซัด ในภาษาขืน วรรณยุกต์จะเขียนไว้ด้านบนตัวอักษร
ตัวเลขในภาษาไทลื้อใหม่
ในภาษาขืนจะมีการใช้งานตัวเลขทั้งแบบของภาษาพม่า และแบบของภาษาขืนเองรวมกัน ในขณะที่ภาษาไทลื้อ และภาษาไทลื้อใหม่จะมีรูปแบบคล้ายกับตัวเลขของภาษาพม่า
ในภาษาไทลื้อใหม่ ถ้าเลข ᧑ อาจสับสนกับสระ ᦱ จะมีการใช้รูปอักขระเลขหนึ่งอีกแบบ (᧚) แทน
ตัวอย่างคำอ่านตัวเลขภาษาไทลื้อใหม่
อักษรย่อในภาษาไทลื้อใหม่
มีการใช้อักษรย่อแค่สองตัวอักษร
คำว่า ᦶᦟᦰ และ (/lɛʔ˧/) สามารถย่อได้เป็น ᧞
คำว่า ᦶᦟᧁᧉ แล้ว (/lɛu˩/) สามารถย่อได้เป็น ᧟
อักษรในภาษาไทลื้อใหม่ทั้งหมด
ᦟᦲᧅᦷᦎᦺᦑᦟᦹᧉ
ᦟᦲᧅ ᦷᦎ ᦺᦑ ᦟᦹᧉ
ลิก โต ไตย ลื้อ
ตัวอย่างคำศัพท์ไทลื้อใหม่
ᦍᦵᦲᧄ ᦣᧇ ᦉᦴ ᦈᧁᧉ — เยิม ฮับ สู เจ้า (ยินดีต้อนรับ)
ᦍᦲᧃ ᦡᦲ — ยิน ดี (ขอบคุณ)
ᦀᦲᦰ ᦔᦴᧈ — อี ปู่ (ปู่)
ᦀᦲᦰ ᦍᦱᧈ — อี ย่า (ย่า)
ᦀᦲᦰ ᦗᦸᧈ — อี พ่อ (พ่อ)
ᦀᦲᦰ ᦙᦶᧈ — อี แม่ (แม่)
ᦗᦲᧈ ᦋᦻ — พี่ จาย (พี่ชาย)
ᦗᦲᧉ ᦍᦲᧂ — พี่ หยิง (พี่สาว)
ᦓᦸᧂᧉ ᦋᦻ — น้อง จาย (น้องชาย)
ᦓᦸᦇᧉ ᦍᦲᧂ — น้อง หยิง (น้องสาว)
ᦂᦲᧃ ᦃᧁᧉ — กิน เข่า (กินข้าว)
ᦂᦲᧃ ᦓᧄᧉ — กิน น่ำ (กินน้ำ)
ᦣᧇ ᦣᦸᧂ — ฮับ ฮอง (ยินดีต้อนรับ)
ᦟᦴᧅ ᦵᦣᧃ — ลูก เฮน (นักเรียน)
ᦌᧅ ᦷᦆ — ซัก โค (ซักผ้า/ซักเสื้อผ้า)
ᦔᦻ ᦺᦙᧉ — ปาย ไม้ (ปลายไม้)
ᦌᦽᧈ ᦙᦹ — ซ่วย มือ (ล้างมือ)
ᦃᧁᧈ ᦷᦐ — ข้าว โหน (ข้าวเหนียว)
ᦂᦸ ᦗᦱᧁᧈ — กอ เพ้า (ต้นมะพร้าว)
ᦕᧅ ᦂᦳᧆᧈ — ผัก กุ้ด (ผักกูด)
ᦞᧆ ᦞᦱ — วัด วา (วัดวาอาราม)
ᦟ ᦤᦴ — ละ ดู (ฤดู)
ᦍᦱᧄ ᦐᦱᧁ — ยาม หนาว (ฤดูหนาว)
ᦍᦱᧄ ᦞᦸᧃ — ยาม วอน (ฤดูใบไม้ผลิ)
ᦍᦱᧄ ᦣᦸᧃᧈ — ยาม ฮ้อน (ฤดูร้อน)
ᦍᦱᧄ ᦊᦲᧃ — ยาม ยิน (ฤดุใบไม้ร่วง)
ᦞᧃ ᦑᦲᧆ — วัน ติ้ด (อาทิตย์)
ᦞᧃ ᦶᦈᧃ — วัน เจน (จันทร์)
ᦞᧃ ᦅᦱᧃ — วัน คาน (อังคาร)
ᦞᧃ ᦗᦳᧆ — วัน พุด (พุธ)
ᦞᧃ ᦕᧆ — วัน พัด (พฤหัสบดี)
ᦞᧃ ᦉᦳᧅ — วันสุก (ศุกร์)
ᦞᧃ ᦉᧁ — วัน เสา (เสาร์)
ตัวอย่างประโยคไทลื้อใหม่
ᦞᧃ ᦓᦲᦰ ᦶᧅ ᦋᦱᧆ ᦉᦴᧉ ᦵᦍᦲᧄ ᧞
— วัน นี้ แอก ชาด สู้ เยิม แล (วันนี้ฉันมีความสุข)
ᦶᧅ ᦂᦲᧃ ᦃᧁᧉ ᦶᦜᧉ?
— แอก กิน ข้าว แหล้ (กินข้าวหรือยัง)
ᦶᧅ ᦂᦲᧃ ᦃᧁᧉ ᦵᦠᦲᧃᧉ
— แอก กิน ข้าว เหิ้น (ฉันกินข้าวแล้ว)
ᦎᦱ ᦞᧃ ᦏᦸᧂᧈ ᦶᦈᧂᧉ ᦺᦉ
— ตา วัน ถ่อง แจ้ง ใส (ดวงอาทิตย์ส่องแสง)
ᦖᦱ ᦓᦾ ᦣᦸᧂᧉ ᦄᦸᧅ ᦄᦸᧅ
— หมา น้อย ฮ้อง หงอก หงอก (หมาน้อยร้องหงอกๆ)
ᦝᦱᧉ ᦶᦈᧂᧉ ᦡᦱᧁ ᦺᦉ
— ฟ้า แจ้ง ดาว ใส (ท้องฟ้าสว่างแจ่มใส)
ᦠᦱ ᦢᧁᧈ ᦠᧃ
— หา เบ่า หัน (หาไม่เจอ)
ᦢᧁᧈ ᦣᦴᧉ ᦶᦈᧂᧉ
— เบ่า ฮู้ แจ้ง (ไม่แน่ใจ)
ᦵᦣᦲᧃ ᦎᦴ ᦃᦾᧉ ᦙᦲ ᦩᦻ ᦷᦎ 1.
— เฮิน ตู ข้อย มี ควาย โต 1 (ที่บ้านฉันมีควาย 1 ตัว)