เนื้อหานี้ทางผู้เขียนทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลรวบรวมไว้ เป็นความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษาลาว
ซึ่งถ้าเราสังเกตให้ดีจะพบว่าภาษาลาวกับภาษาไทธรรม ภาษาขืน ภาษาไทลื้อจะมีความคล้าย
คลึงกัน รวมถึงกับภาษาไทยด้วย โดยเฉพาะภาษาลาวก็คล้ายกับทางภาษาไทยเป็นส่วนใหญ่
หากคนที่พอรู้เกี่ยวกับภาษาทางภาคอีสาน ก็จะสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่าคนภาคกลาง เนื้อหา
นี้จะเป็นแบบกระชับ เรียบเรียงตามความเข้าใจของผู้เขียน ดังนั้นอาจจะไม่ถูกต้องเสียทีเดียว
ผู้สนใจจริงจัง ควรหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งอื่นประกอบ
เกี่ยวกับภาษาลาวเบื้องต้น
ภาษาลาว หรือ ພາສາລາວ เป็นภาษาตระกูลขร้า-ไทของชาวลาว โดยมีผู้พูดในประเทศลาว
ซึ่งมีสถานะเป็นภาษาทางการของประชากรประมาณ 7 ล้านคน และในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ของประเทศไทยที่มีผู้พูดประมาณ 23 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เรียกเป็นภาษาอีสาน ภาษาลาวเป็น
ภาษากลางของพลเมืองในประเทศลาวที่มีภาษาอื่น ๆ ประมาณ 90 ภาษา โดยภาษาส่วนใหญ่
ไม่มีความเกี่ยวโยงกับภาษานี้
พยัญชนะในภาษาลาว
ตัวอักษรในภาษาลาวแยกเป็นพยัชนะเดี่ยว 27 ตัว และ พยัญชนะผสม 6 ตัว ขอยกเอาพยัญชนะเดี่ยว
มาเปรียบเทียบกับตัวอักษรไทย และอักษรไทธรรม/ขืน ดังนี้
ตัวพยัญนะเดี่ยว 27 ตัว
ກ ໄກ່……….กอ-ไก่
ຂ ໄຂ່……….ขอ-ไข่
ຄ ຄວຍ……….คอ-ควย
ງ ງົວ……….งอ-งัว
ຈ ຈອກ……….จอ-จอก
ສ ເສືອ……….สอ-เสือ
ຊ ຊ້າງ……….ซอ-ซ้าง
ຍ ຍຸງ……….ยอ-ยุง
ດ ເດັກ……….ด่อ-เด็ก
ຕ ຕາ……….ต่อ-ตา
ຖ ຖົງ……….ถอ-ถง
ທ ທຸງ……….ทอ-ทุง
ນ ນົກ……….นอ-นก
ບ ແບ້……….บ่อ-แบ้
ປ ປາ……….ปอ-ป๋า
ຜ ເຜີ້ງ……….ผอ-เผิ้ง
ຝ ຝົນ……….ฝอ-ฝน
ພ ພູ……….พอ-พู
ຟ ໄຟ……….ฟอ-ไฟ
ມ ແມວ……….มอ-แมว
ຢ ຢາ……….หย่อ-ยา
ຣ ຣະຄັງ……….รอ-ระคัง
ລ ລິງ……….ลอ-ลิง
ວ ວີ……….วอ-วี
ຫ ຫ່ານ……….หอ-ห่าน
ອ ໂອ……….ออ-โอ
ຮ ເຮືອນ……….ฮอ-เฮือน
ตัวพยัญชนะผสม 6 ตัว
ຫງ ງ່ວມເຫງົາ……….หงอ-ง่วมเหงา
ຫຍ ແມ່ນຫຍັງ?……….หยอ-แม่นหยัง?
ຫນ / ໜ ໃບໜ້າ……….หนอ-ใบหน้า
ຫມ / ໝ ໝານ້ອຍ……….หมอ-หมาน้อย
ຫລ / ຫຼ ເຫລົ້າ……….หลอ-เหล้า
ຫວ ຫວີ……….หวอ-หวี
นอกจากนี้ยังสามารถแยกออกเป็นพยัญชนะเสียงกลาง เสียงสูง และต่ำ คล้ายๆ กับการแยกในภาษาไทย สามารถแยกเป็นพยัญชนะเสียงกลาง 8 ตัว เสียงสูง 12 ตัว และเสียงต่ำ 13 ตัว โดยเสียงต่ำ สามารถแยกได้เป็นเสียงต่ำคู่ (เสียงต่ำที่มีคู่กับเสียงสูง ຄ – ຂ / ຊ – ສ / ທ – ຖ / ພ – ຜ / ຟ – ຝ / ຮ – ຫ) 6 ตัว และเสียงต่ำคี่ (เสียงต่ำที่ไม่มีคู่กับเสียงสูง ງ / ຍ / ນ / ມ / ຣ / ລ / ວ ) 7 ตัว ดูรูปด้านล่างประกอบ
พยัญชนะเสียงต่ำคี่ (เสียงต่ำที่ไม่มีคู่กับเสียงสูง ງ / ຍ / ນ / ມ / ຣ / ລ / ວ ) 7 ตัว เมื่อนำตัว ຫ มานำหน้าก็จะเป็นพยัญชนะผสม แต่ตัว ຫຣ ไม่ได้ใช้แล้ว จึงเห็นแต่ ຫງ / ຫຍ / ຫນ ໜ / ຫມ ໝ / ຫລ ຫຼ / ຫວ เวลาอ่าน จะไม่ออกเสียง ห ด้านหน้า
นอกจากพยัญชะที่กล่าวไปแล้วทั้งหมดข้างต้น ภาษาลาวยังมีพยัญชนะอีกตัวที่เรียกว่า ຽ (ตัว ย เฟื้อง) ใช้สำหรับแทนเสียงสระ เอีย เมื่อมีตัวสะกด ตัวอย่างเช่น (*ในภาษาขืนก็มีตัวลักษณะเช่นนี้ ᩁ᩠ᨿᩁ – เฮียน ᨩ᩠ᨿᨦ – เจียง )
ຣຽນ อ่านว่า เฮียน
ຂຽນ อ่านว่า เขียน
ທຽນ อ่านว่า เทียน
ข้อสังเกตและเปรียบเทียบ พยัญชนะที่คนไทยอาจจะสับสนคือ นอ-นก กับ มอ-แมว ถ้าเทียบอักษรไทยก็คือ นอ-หนู กับ มอ-ม้า ลักษณะตัวอักษรลาวจะคล้ายกันระหว่างสองตัว หลักสังเกตคือตัว ນ จะมีหัวกลมๆ ด้านบน และ ມ จะมีหัวกลมด้านล่าง ต่อไปคือตัว ฮอ-เฮือน กับ ตัว รอ-ระคัง ถ้าในภาษาไทย ก็อาจจะดูคล้ายไปทาง ธอ-ธง อยู่บ้าง แต่ก็ยังคล้าย ร ในภาษาไทยอยู่ แต่สองตัวนี้ ຣ และ ຣ ในภาษาลาวต่างแค่ตรงหางที่มันขีดขึ้นลงน้อยถ้าเป็น ฮอ-เฮือน แต่ถ้าเป็น รอ-ระคัง จะลักษณะเหมือนโค้งลง ต่อไปตัว ซอ-ซ้าง กับ ตัว ขอ-ไข่ สองตัวนี้แทบจะเหมือนกัน แบบตัวก่อนหน้า เพียงแต่ ตัว ซอ-ซ้าง จะมีขีดลงมาข้างล่างอีกเล็กน้อย ຂ กับ ຊ ตัวต่อไปเป็น ทอ-ทุง กับ หอ-ห่าน ในภาษาลาวจะต่างกันแค่ตัว หอ-ห่าน จะมีวงกลมที่โค้งบนด้านหลัง ซึ่งคล้ายกับ หอ-หีบในภาษาไทย ในขณะที่ ทอ-ทุง จะเป็นลักษณะแค่โค้งขึ้นลงเท่านั้น ທ กับ ຫ ต่อไปตัว ออ-โอ ในภาษาลาว ອ ถัาสังเกตดีๆ จะคล้ายตัว ฮอ-นกฮูก ในภาษาไทย ตรงนี้ต้องจำลักษณะพิเศษนี้ ต่อตัว กอ-ไก่ กับ คอ-ควย ในภาษาลาว คนไทยอาจจะสับสนว่า ກ เหมือตัว ภอ-สำเภา ในภาษาไทย ในขณะที่ ຄ อาจจะเหมือนตัว ถอ-ถุง ในภาษาไทยได้ ดังนั้นต้องฝึกจำและแยกให้ออก ส่วนตัวอื่นๆ ที่เหลือ ก็คล้ายๆ กัน และน่าจะพอเดาได้ อย่างไรก็ดี หากเราฝึกอ่านบ่อยๆ ก็จะสามารถแยกตัวอักษรได้ง่ายขึ้น แนวทางคำแนะนำข้างต้นอาจจะไม่ใช่กฏตายตัว เพราะบางคนก็ใช้ฟอนท์ตัวอักษรที่มีการดัดแปลง ดังนั้นต้องค่อยๆ พยายามทำความเข้าใจ
,
สระในภาษาลาว
สระในภาษาลาวมีทั้งหมด 28 ตัว แยกเป็นสระปกติ 24 และเป็นสระพิเศษ 4 ตัว เวลาเราฝึกออกเสียงสระ แต่ละตัว จะอ่านในรูปแบบเสียงตรี กับเสียงจัตวา ในภาษาไทย ตารางด้านล่าง จะแสดงโดยไม่ใส่เสียงอ่านเข้าไป ดังนั้น เวลาอ่านออกเสียง จะเป็น อ๊ะ อ๋า – อิ๊ อี๋ – อุ๊ อู๋ ….. อั๊วะ อั๋ว แบบนี้เป็นต้น สระพิเศษ จะมีสระ ไอ อา-อือ/ใอ (จริงๆ ก็คือเสียงสระใอไม้ม้วนในไทย แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเหมือนเลยทีเดียว เช่น ใบไม้ ก็ไม่ออกเสียงเป็น ใบไม้ตรงๆ จะออกเสียงเป็น บา-อือ-ไม้ ซึ่งก็ดูจะคล้ายๆ กับภาษาไทใหญ่ อย่างไรก็ตามสระใอ ปัจจุบันก็ขึ้นกับการออกเสียงของแต่ละคน และอาจจะใช้เป็นแบบสระใอ เหมือนของไทยก็ได้) สระ เอา และ สระ อำ ถ้าสังเกตก็จะคล้ายๆ กับภาษาไทย คือตัวที่มีเสียงสระอะ ผสมก็จะเสียงส้้น กว่าตัวที่ไม่เสียงสระอะผสม
ອະ — อ๊ะ……….ອາ — อ๋า
ອິ — อิ๊……….ອີ — อี๋
ອຶ — อึ๊……….ອື — อื๋
ອຸ — อุ๊……….ອູ — อู๋
ເອະ — เอ๊ะ……….ເອ — เอ๋
ແອະ — แอ๊ะ……….ແອ — แอ๋
ໂອະ — โอ๊ะ……….ໂອ — โอ๋
ເອາະ — เอ๊าะ……….ອໍ — อ๋อ
ເອິ — เอ๊อะ……….ເອີ — เอ๋อ
ເອັຍ — เอี๊ยะ……….ເອຍ — เอี๋ย
ເອຶອ — เอื๊อะ……….ເອືອ — เอื๋อ
ອົວະ — อั๊วะ……….ອົວ — อั๋ว
ໄອ — ไอ๊……….ໃອ — อา-อือ/ใอ
ເອົາ — เอ๊า……….ອຳ — อ๋ำ
ตัวอย่างคำภาษาลาวและการใช้สระ
ອະ……….ປະຕູ / ກະບະ / ກະປູ
ອາ……….ປາຄຳ / ກາດຳ / ດວງຕາ
ອິ……….ບິດາ / ກະປິ / ກິລາ
ອີ……….ໝາກປີ / ທາສີ / ນ້ຳສີ
ອຶ……….ໝາກອຶ / ມົດຈຶ / ຮຶ?
ອື……….ຝ່າມື / ຕົ້ນຜື / ບົ້ງກື
ອຸ……….ຄຸນ້ຳ / ດຸໝັ່ນ / ສາທຸ
ອູ……….ຕະປູ / ສະບູ / ໝູ
ເອະ……….ເຕະບານ / ທາງເລະ / ຄາຣາໂອເກະ
ເອ……….ລົດເມ / ທະເລ / ເວລາ
ແອະ……….ແກະ / ກະແຕະ / ງັດແງະ
ແອ……….ແມ່ / ກະແຈ / ນົກກາງແກ
ໂອະ……….ໂຕະ / ກະໂປະ / ສີໂຄະ
ໂອ……….ໝາກໂມ / ໃບໂພ / ກິໂລ
ເອາະ……….ເກາະ / ໝາກເງາະ / ເຫັດເພາະ
ອໍ……….ທ່ານໝໍ / ຂໍເກາະ / ຕໍໄມ້
ເອິ……….ເປິເປື້ອນ / ເກິເບິ່ງ / ຂີ້ເຮິ
ເອີ……….ເຟີ (ເຝີ) / ເບີ (ເນີຍ) / ເບີໂທ
ເອັຍ……….ຕີເປັຍໆ / ປໍເປັຍ / ລູກເອັຍ
ເອຍ……….ໂຕເຈຍ / ອ່ອນເພຍ / ລົດເສຍ
ເອຶອ……….ທາເປຶອ
ເອືອ……….ເກືອແມວ / ນາເກືອ / ໂຕເສືອ
ອົວະ……….ຂີ້ຕົວະ / ຍົວະ / ຕົວະຍົວະ
ອົວ……….ຈົວນ້ອຍ / ຂົວໄມ້ / ດອກບົວ
ໄອ……….ແລ່ນໄວ / ລົດໄຟ / ກອງໄຟ
ໃອ……….ໃບໄມ້ / ຫົວສີໃຄ / ນ້ຳໃສ
ເອົາ……….ເປົາເຂົ້າ / ມັນເຜົາ / ນົກເຂົາ
ອຳ……….ດຳນ້ຳ / ເສື້ອດຳ / ຕຳສົ້ມ
นอกจากสระในภาษาลาวข้างต้นแล้ว ยังมีสระผสม ที่เกิดจากการนำสระไปผสมกับตัวสะกด ดูต่อในหัวข้อถัดไปด้านล่าง เกี่ยวกับตัวสะกดในภาษาลาว
……
ตัวสะกดในภาษาลาว
ตัวสะกดหรือพยัญชนะท้ายพยางค์ในภาษาลาว มีด้วยกัน 8 ตัว โดยตัวสะกดจะใช้สำหรับผันเสียงร่วมกับสระ เพื่อให้คำนั้นๆ มีลักษณะเป็นคำเป็น หรือคำตาย (คำเสียงยา หรือ เสียงสั้น) โดยปกติ
- คำเป็น คือคำที่ผสมกับสระเสียงยาว
หรือ สะกดด้วยตัวสะกด แม่อัง แม่อัน แม่อำ แม่ไอ และ แม่เอา
หรือ ผสมกับสระ อำ ไอ ใอ เอา- คำตาย คือคำที่ผสมกับสระเสียงสั้น
หรือ ตัวสะกดแม่อัก แม่อัด แม่อับ
แม่อัก ใช้ ກ เป็นตัวสะกด
แม่อัด ใช้ ດ เป็นตัวสะกด
แม่อับ ใช้ ບ เป็นตัวสะกด
แม่อัง ใช้ ງ เป็นตัวสะกด
แม่อัน ใช้ ນ เป็นตัวสะกด
แม่อำ ใช้ ມ เป็นตัวสะกด
แม่ไอ ใช้ ຍ เป็นตัวสะกด
แม่เอา ใช้ ວ เป็นตัวสะกด
สระผสมที่เกิดจากการนำตัวสะกดมาผสมกับสระ
….
วรรณยุกต์ในภาษาลาว
ในภาษาลาวจะเรียกวรรยุกต์ว่า ວິນນະຍຸດ (วันนะยุด) ซึ่งมีด้วยกันที่ 4 ตัว
คือไม้เอก ไม้โท ไม้ตี ไม้จัดตะวา (หรืออาจจะเรียกว่า ไม้หนึ่ง ไม้สอง ไม้สาม ไม้สี่) ใช้สำหรับเปลี่ยนเสียงพยางค์ ซึ่งก็จะคล้ายๆ กับภาษาไทย เมื่อเสียงพยางค์เปลี่ยน ความหมายของคำๆ นั้นก็จะเปลี่ยนไปด้วย ดังนั้นจึงมีความสำคัญ สำหรับเสียงสามัญนั้นในภาษาลาว จะเรียกว่าเสียงธรรมดา (ສຽງທຳມະດາ)
วรรณยุกต์หรือไม้ จะต้องเขียนไว้ที่พยัญชนะตัวแรกหรือพยัญชนะต้นของพยางค์เสมอ หากมีสระตัวใดอยู่ด้านบนก่อน ก็จะเขียนวรรณยุกต์ต่อไปด้านบนอีกที
ບ່ອນ….. บ่อน แปลว่า สถานที่
ບ້ານ….. บ้าน แปลว่า บ้านเรือน
ສັ່ນ….. อ่านว่า สั่น
ສັ້ນ….. อ่านว่า สั้น
ນຶ່ງ….. อ่านว่า หนึ่ง
ຕ່ຳ….. อ่านว่า ต่ำ
ບົ່ງ….. อ่านว่า บ่ง
แต่ถ้ามีอักษรนำ หรือเป็นพยัญชนะผสม จะต้องเขียนไว้ที่พยัญชนะตัวที่สองเสมอ เช่น
ສະຫວ່າງ….. สว่าง
ກວ້າງ….. กว้าง
ຕຳແຫນ່ງ….. ตำแหน่ง
ຄົ້ນຄົ່າ….. ค้นคว้า
การผันวรรณยุกต์ในพยัญชนะเสียงกลาง
ในพยัญชนะเสียงกลางจะสามารถผันวรรณยุกต์ครบทั้ง 5 เสียงในขณะที่ พยัญชนะเสียงสูงและต่ำ จะสามารถผันได้แค่ 3 เสียงเท่านั้น คือ เสียงธรรมดา เสียงเอก และเสีย
……
ตัวเลข วันและเดือน ในภาษาลาว
แสดงเปรียบเทียบตัวเลขในภาษาลาว ไทย ไทธรรม/ขืน
0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
᪐ ᪑ ᪒ ᪓ ᪔ ᪕ ᪖ ᪗ ᪘ ᪙
໐ ໑ ໒ ໓ ໔ ໕ ໖ ໗ ໘ ໙
ສູນ ໜຶ່ງ ສອງ ສາມ ສີ່ ຫ້າ ຫົກ ເຈັດ ແປດ ເກົ້າ
ສິບເອັດ ….. 11….. สิบเอ็ด
ສິບສອງ ….. 12….. สิบสอง
ຊາວ ….. 20….. ซาว
ຮ້ອຍ ….. 100….. ฮ้อย
ພັນ….. 1,000….. พัน
ໝຶ່ນ / ສິບພັນ….. 10,000….. หมื่น / สิบพัน
ແສນ….. 100,000….. แสน
ລ້ານ….. 1,000,000….. ล้าน
ສິບລ້ານ….. 10,000,000….. สิบล้าน
ຮ້ອຍລ້ານ….. 100,000,000….. ฮ้อยล้าน
ຕື້….. 1,000,000,000….. ตื้อ
ວັນ….. วัน
ວັນຈັນ….. วันจัน
ວັນອັງຄານ….. วังอังคาน
ວັນພຸດ….. วันพุด
ວັນພະຫັດ….. วันพะหัด
ວັນສຸກ….. วันสุก
ວັນເສົາ….. วันเสา
ວັນອາທິດ….. วันอาทิด
ເດືອນ….. เดือน
ເດືອນມັງກອນ / ເດືອນໜຶ່ງ….. เดือนมังกอน
ເດືອນກຸມພາ / ເດືອນສອງ….. เดือนกุมพา
ເດືອນມີນາ / ເດືອນສາມ….. เดือนมีนา
ເດືອນເມສາ / ເດືອນສີ່….. เดือนเมสา
ເດືອນພຶດສະພາ / ເດືອນຫ້າ….. เดือนพึดสะพา
ເດືອນມິຖຸນາ / ເດືອນຫົກ….. เดือนมิถุนา
ເດືອນກໍລະກົດ / ເດືອນເຈັດ….. เดือนกอละกด
ເດືອນສິງຫາ / ເດືອນແປດ….. เดือนสิงหา
ເດືອນກັນຍາ / ເດືອນເກົ້າ….. เดือนกันยา
ເດືອນຕຸລາ / ເດືອນສິບ….. เดือนตุลา
ເດືອນພະຈິກ / ເດືອນສິບເອັດ….. เดือนพะจิก
ເດືອນທັນວາ / ເດືອນສິບສອງ….. เดือนทันวา
…..
แนวทางการทำความเข้าใจกับภาษาลาว
ถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่า ลักษณะการใช้งานภาษาลาว จะเน้นความง่ายของภาษาเป็นหลัก นั่นคือโดยทั่วไปแล้วจะมีความคล้ายคลึงกับภาษาไทย ซึ่งในคำที่มีความหมายเหมือนกันในภาษาไทย เวลาใช้ภาษาไทยจะมีรูปแบบการเขียนที่ยากกว่าและซับซ้อนกว่า ในขณะที่ในภาษาลาว จะมีรูปแบบที่ง่าย เช่น คำว่า “ภาษาลาว” ในภาษาไทย จะแยกตัว ภ กับ ษ แต่ในภาษาลาว จะใช้แบบง่ายคือ ใช้ตัว พ กับ ส ถ้าเขียนในรูปแบบภาษาไทย ก็จะเป็น “พาสาลาว” ພາສາລາວ หรือคำว่า “พยายาม” ภาษาลาวจะใช้ว่า “พะยายาม” ພະຍາຍາມ หรืออีกคำ คำว่า “อนุญาต” ภาษาลาวจะใ้ช้เป็น “อะนุยาด” ອະນູຍາດ หรือคำว่า “ประสบการณ์” ภาษาลาวจะใช้เป็น “ปะสบกาน” ປະສົບການ แบบนี้เป็นต้น ดังนั้น เวลาเราทำความเข้าใจกับภาษาลาว ก็ให้พยายามนึกถึงรูปแบบที่ง่ายๆ เป็นสำคัญ
……
ตัวอย่างแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดภาษาลาว
เราสามารถพิจารณาดูได้ว่าในภาษาลาวที่ใช้ในการพิมพ์ประกอบด้วยตัวอะไรบ้างทั้งหมด จากรูปด้านล่าง