เนื้อหาตอนนี้ เราจะมาดูเกี่ยวกับพยัญชนะ ตัวเสียงกลาง ตัว ᨯ ᨷ และ ᩋ
โดยปกติแล้วตัวเสียงสูง กับตัวเสียงต่ำ จะมีความเป็นคู่เสียงกันอยู่ ยกตัวอย่างเช่น
คู่เสียงสูง เสียงต่ำ ข้างต้น สามารถใช้วรรณยุกต์ ไม้หยัก ไม้ซัด สำหรับกำหนดเสียงสูง เสียงต่ำ ของคำเพื่อให้ได้ความหมายใหม่ได้ ตัวอย่าง คู่เสียงตัว ᩈ ส๊ะ กับ ᨪ ซ่ะ
หรือถ้าเป็นเสียงต่ำ แต่ไม่มีคู่เสียงสูง ก็สามารถใส่ตัว ᩉ ห๊ะ นำเพื่อให้เป็นคู่เสียงที่สูง อย่างเช่น
ᨦ ᨬ ᨶ ᨾ ᩁ ᩃ ᩅ (ง่ะ ญ่ะ น่ะ ม่ะ ร่ะ ละ และ ว่ะ ตามลำดับ)
ก็จะได้คู่เสียงสูง ต่ำเป็นดังนี้
คู่เสียงสูงต่ำ ที่ใช้ตัว ห๊ะ นำ เมื่อใช้วรรณยุกต์ไม้หยัก ไม้ซัด ก็จะออกเสียงสูงต่ำ ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น
แต่ในกรณี พยัญชนะ เสียงกลาง เมื่อไม่มี คู่เสียงสูง ต่ำ ก็จะใช้ วรรณยุกต์ 3 ตัวต่อไปในี้มากำหนดเพิ่มเติม
มาดูวิธีการอ่านออกเสียง เมื่อประสมกับวรรณยุตก์ ทั้งหมด
รูปแบการออกเสียง ถ้าเทียบกับวรรณยุกต์ภาษาไทย ก็จะเป็น เสียง ดังนี้
สามัญ – เอก – สามัญ(ครึ่งเสียง) – ตรี – จัตวา – โท
เสียงเมื่อใส่ไม้ซัด เท่าที่สังเกตจะออกเสียงเหมือนเสียงสามัญ หรือเสียงแรก ที่ไม่ได้ใส่วรรณยุกต์ใดๆ แต่จะมีการลดเสียงลงไป ให้สั้นลง จึงขอใช้เป็นสระเสียงสั้นที่ใช้คู่กันแทน เพื่อให้เห็นภาพ
สามารถไปประยุกต์ การออกเสียง พยัญชนะ เสียงกลาง กับ สระตัวอื่นๆ โดยเทียบการไล่เสียงตามตัวอย่างได้ อย่างไรก็ตาม ในการออกเสียง อาจจะมีบางคำที่เสียงพูด อาจจะไม่ตรงตามรูปแบบ และจำเป็นต้องอาศัย ประสบการณ์ในการใช้งาน คล้ายๆ กับคำว่า เรือน ที่เวลาออกเสียงตามตัวเขียน ก็จะอ่านว่า เรือน แต่ว่าพูด อาจจะออกเสียงเป็น เฮือน แบบนี้เป็นต้น