พยัญชนะควบกล้ำ อักษรควบ อักษรซ้อน หรืออักษรผสม ในภาษาพม่านั้น เป็นการนำพยัญชนะมากกว่าหนึ่งตัว มารวมกันเป็นพยัญชนะใหม่ ในที่นี้จะขอเรียกเป็น พยัญชนะผสม ทั้งนี้ก็เพราะว่า บางตัวเมื่อผสมกันแล้วก็ไม่ออกเสียงเป็น สองพยางค์ แต่มีการเปลี่ยนรูปของเสียงเป็นเสียงใหม่ไปเลย ถ้าจะใช้คำว่าควบกล้ำก็ไม่น่าจะถูกทั้งหมด
พยัญชนะผสมในภาษาพม่า จะมีการนำพยัญชนะตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปมาผสมกันเป็นพยัญชนะใหม่ โดยจะมีพยัญชนะ 4 ตัวนี้มาผสม คือ พยัญชนะตัว ယ ရ ဝ ဟ ย้ะ ย้ะ ว้ะ ห้ะ แต่เมื่อนำมาผสม ก็จะเขียนในรูปแบบพยัญชนะซ้อน เป็น ျ ြ ွ ှ ยะปิ้น ยะยิ้น วะซะแว ฮัดโท
ယ ရ ဝ ဟ ย้ะ ย้ะ ว้ะ ห้ะ
ျ ြ ွ ှ ยะปิ้น ยะยิ้น วะซะแว ฮัดโท
พยัญชนะผสม และการออกเสียง
หลักการจำ และการออกเสียง
ตัว ยะปิ้นျ กับ ยะยิ้นြ ผสมกับพยัญชนะใด จะให้เสียงเหมือนกัน เช่น ผสมกับตัว က ก้ะ ก็จะเได้เป็น ကျ / ကြ เสียงที่ได้จะเป็นเสียง จ เหมือนกัน หรือ ผสมกับตัว ခ ข้ะ ก็จะได้เป็น ချ / ခြ เสียงที่ได้จะเป็นเสียง ช เหมือนกัน แบบนี้เป็นต้น
ตัว ฮัดโทှ ผสมกับพยัญชนะตัวใด จะทำให้เสียงนาสิก หายไป โดยเฉพาะเมื่อใช้กับตัวพยัญชนะนาสิก เสียงขึ้นจมูก င ည န မ เช่น เสียง หงะ င ก็จะเป็น ง้ะ ငှ หรือ หนะ န ก็จะเป็น น้ะ နှ หรือ หมะ မ ก็จะเป็น ม้ะ မှ คล้ายกับมีไม้โทเพิ่มเข้ามาในเสียง
ตัว วะซะแว ွ ผสมกับพยัญชนะตัวใด จะเหมือนเป็นการควบกล้ำกับ ว หรือถ้ามีสระอื่นผสมเข้ามาด้วย ก็อาจจะมีเสียงไปทางสระ อัว สระ อัวะ หรือบางทีก็อาจจะเป็นสระ อูน เป็นต้น
พยัญชนะผสมมากว่า 2 ตัว
คำที่ออกเสียงเหมือนมี สอง ตัวควบกัน เวลาออกเสียงโดดๆ ก็จะมีลักษณะเหมือนมีตัวควบรวมอยู่ด้วยตอนออกเสียง แต่ถ้ารวมกันเป็นประโยคหรือเป็นคำ มักจะอีกเสียงแบบสั้นๆ และกระชับ จนบางทีออกเป็นเสียงตัวหน้าตัวเดียว ยกตัวอย่างเช่น คำว่า
ကျွန်တော်ထမင်းစားမယ်။
จะ หน่อ ทะ มีน ซา แหม่
ถ้า ออกเสียงเฉพาะคำว่า ကျွ ก็จะเป็น จว้ะ แต่เมื่อรวมกับคำอื่นๆ จะเป็น จะ ใช้เป็น จ แทน
จากตัวอย่างและรูปแบบการผสมกันของพยัญชนะ เราสามารถแยกออกได้อีก 2 แบบคือ พยัญชนะผสม กับ พยัญชนะประสม โดย พยัญชนะผสม จะเป็นลักษณะ ควบไม่แท้ เวลาผสมกันแล้ว อาจจะออกเสียงเป็นเสียงเดียว หรือเปลี่ยนเสียงไปจากรูปแบบเดิม เช่น ကျ ကြ ချ ခြ ဂျ ဂြ ส่วน พยัญชนะประสม จะเป็นลักษณะ ควบแท้ เวลาผสมกันแล้ว จะออกเสียงเป็น 2-3 พยางค์ เช่น ပျ ဖျ ဗျ မျ ပြ ဖြ ဗြ မြ
เนื้อหาในบทความตอนนี้ เราได้มาทำความรู้จักกับ พยัญชนะผสม ซึ่งเป็นรูปแบบการสร้างพยัญชนะใหม่ในภาษาพม่า ทำให้มองเห็นภาพรวม และรู้ว่าลักษณะของคำหรือพยางค์นั้นๆ จะออกเสียงไปในแนวทางไหน เบื้องต้น เราไม่จำเป็นต้องจำทั้งหมดให้ได้ในครั้งเดียว เพียงแค่ให้เรารับรู้หลักการ และการมีอยู่ของรูปแบบพยัญชนะผสม การใช้งานบ่อยๆ จะเป็นตัวช่วยจดจำได้ดี หรือถ้าเกิดจำไม่ได้ อยากทบทวน ก็สามารถกลับมาดูรายละเอียดซ้ำๆ ได้ตลอดเวลา
สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการเรียนภาษาพม่าก็คือ ความไม่แน่นอนของรูปพยัญชนะ และสระ ที่บางที แม้จะใช้อยู่ในประโยคเดียวกัน แต่กลับออกเสียงไปคนละแบบ ยกตัวอย่าง เช่น
တွေ့ ရတာဝမ်းသာပါတယ်။
ต้วย ย่า ด่า วาน ต่า บ่า แด่
จะเห็นว่าตัว ต้ะ တ มีทั้งออกเสียงเป็น ต และก็ ออกเสียงเป็น ด ทั้งที่อยู่ในประโยคเดียวกัน เกิดคำถามว่า ตกลงควรใช้เป็นเสียงตามตัวไหน มีรูปแบบการแยกใช้อย่างไร ตรงนี้เป็นจุดที่น่าสนใจ ซึ่งผู้เขียนแนะนำว่า เราควรแค่เพียงรับรู้ไว้ อาจจะไม่ต้องถึงกับตรงทุกคำ ประสบการณ์เป็นตัวบอกเราเองว่าควรใช้เสียงไหน ตอนนี้ให้มองภาพรวมคร่าวๆ ไปก่อน เช่น เราอาจจะใช้เป็น ด หมดก็ได้ และมองไปที่ตัว သ ที่จะเป็นตัว ต แทน แบบนี้เป็นตัน
เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาพม่า
ก่อนจบเนื้อหาขอเพิ่มเติมเล็กน้อยเกี่ยวกับ เครื่องหมายที่ใช้ร่วมกับประโยคในภาษาพม่า
။ เรียกว่า ပုဒ်မ โป่ด์มะ ใช้สำหรับ จบประโยค คล้ายกับการใช้ จุด (.) หรือ มหัพภาค(จุด)
၊ เรียกว่า ပုဒ်ထီ โป่ด์ที ใช้สำหรับ ค้่นข้อความ คล้ายกับการใช้ คอมม่า (,) หรือ จุลภาค(ลูกน้ำ)
สำหรับเนื้อหาในตอนหน้าจะเป็นอะไร รอติดตาม