ในภาษาไทใหญ่ ก็มีพยัญชนะควบกล้ำ หรือเรียกว่า แม่เสียงซ้อน เช่นเดียวกับภาษาไทย แตกต่างที่ภาษาไทย จะเป็น ตัว ร ล ว ควบ แต่ในภาษาไทใหญ่จะเป็น ย๊ะ ร๊ะ และ ว๊ะ
พยัญชนะควบกล้ำในภาษาไทยจะเขียน ตัวพยัญชนะต้นและพยัญชนะควบต่อกันปกติ แต่ในภาษาไทใหญ่ จะมีการเปลี่ยนรูปพยัญชนะ ไปอยู่ในรูปแบบพยัญชนะซ้อน
ตัว ၺ ซ้อน
ก๊ะ ซ้อน ญ๊ะ เป็น กย๊ะ
ၶ + ၺ = ၶျ
ข๊ะ ซ้อน ญ๊ะ เป็น ขย๊ะ
ပ + ၺ = ပျ
ป๊ะ ซ้อน ญ๊ะ เป็น ปย๊ะ
ၽ + ၺ = ၽျ
พ๊ะ ซ้อน ญ๊ะ เป็น พย๊ะ
မ + ၺ = မျ
ม๊ะ ซ้อน ญ๊ะ เป็น มย๊ะ
လ + ၺ = လျ
ล๊ะ ซ้อน ญ๊ะ เป็น ลย๊ะ
รูปของการซ้อนพยัญชนะ ၺ เมื่อมีตัวสระตัวห้อย ွ เพิ่มเข้ามา ก็จะเปลี่ยน
จาก ျ เป็น ျွ เช่น ၵျွ ออกเสียงเป็น กยอ สระตัวห้อยที่เพิ่มเข้ามี คือสระ ออ ถ้า
เทียบเสียงในภาษาไทย ก็จะเป็น กยอ – ขยอ – ปยอ – พยอ – มยอ – ลยอ
ตัวอย่างคำว่ากระโดด กย๊อก (กะ-ย๊อก) ၵျွၵ်း
ตัว ရ ซ้อน
ၵ + ရ ၵ ၵြ
ก๊ะ ซ้อน ร๊ะ เป็น กร๊ะ
ၶ + ရ = ၶြ
ข๊ะ ซ้อน ร๊ะ เป็น ขร๊ะ
သ + ရ = သြ
ส๊ะ ซ้อน ร๊ะ เป็น สร๊ะ
တ + ရ = တြ
ต๊ะ ซ้อน ร๊ะ เป็น ตร๊ะ
ၽ + ရ = ၽြ
พ๊ะ ซ้อน ร๊ะ เป็น พร๊ะ
ตัว ဝ ซ้อน
ၵ + ဝ = ၵႂ
ก๊ะ ซ้อน ว๊ะ เป็น กว๊ะ
ၶ + ဝ = ၶႂ
ข๊ะ ซ้อน ว๊ะ เป็น ขว๊ะ
သ + ဝ = သႂ
ส๊ะ ซ้อน ว๊ะ เป็น สว๊ะ
တ + ဝ = တႂ
ต๊ะ ซ้อน ว๊ะ เป็น ตว๊ะ
ပ + ဝ = ပႂ
ป๊ะ ซ้อน ว๊ะ เป็น ปว๊ะ
ตัวอักษรสำหรับใช้ใน พยัญชนะควบกล้ำ ในแป้น keyboard
สีคู่กัน คือสี ตัวซ้อน กับ พยัญชนะซ้อน
ซ้อน กับตัว ရ จะเปลี่ยนเป็น ြ
ซ้อน กับตัว ၺ จะเปลี่ยนเป็น ျ
ซ้อน กับตัว ဝ จะเปลี่ยนเป็น ႂ