ในเนื้อหาเกี่ยวกับประโยคคำถามตอนที่ 1 เราได้พูดถึง ประโยคคำถามปฏิเสธ ในลักษณะ เช่น ไม่เล่นหรอ ไม่ช่วยหรอ ไม่อยู่หรอ ไม่ร้อนหรอ เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งรูปแบบของประโยคดังกล่าว ก็เป็นการ นำประโยคปฏิเสธ มาต่อท้ายด้วย လား ลา ซึ่งเป็นคำลงท้ายของประโยคคำถาม ในเนื้อหาบทนี้ เรามาลงรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบของประโยคปฏิเสธ รวมถึงประโยคคำสั่งในการห้ามปราม
ประโยคปฏิเสธ
การปฏิเสธธรรมดา မ…ဘူး มะ…บู
ในประโยคปฏิเสธธรรมดา จะมีรูปแบบเป็น
မ + กริยา + ဘူး
คำว่า မ แปลว่า ไม่ ส่วน ဘူး เป็นคำ ลงท้ายประโยคปฏิเสธ เทียบได้กับ หรอก
ถือเป็นกริยาวิภัติตัวหนึ่งสำหรับประโยคปฏิเลธ โดยต้อง
ใช้ร่วมกับ မ เสมอ ดังเช่น
မနီးဘူး ။ — ไม่ใกล้
မပါဘူး ။ — ไม่มีมาด้วย
မပါးဘူး ။ — ไม่บาง
မပူဘူး ။ — ไม่ร้อน
မပေးဘူး ။ — ไม่ให้
မဖယ်ဘူး ။ — ไม่หลีก
မမာဘူး ။ — ไม่แข็ง
မယူဘူး ။ — ไม่เอา
မလာဘူး ။ — ไม่มา
မလေးစားဘူး ။ — ไม่เคารพ
မသနားဘူး ။ — ไม่สงสาร
မသာယာဘူး ။ — ไม่ร่มรื่น
မသိဘူး ။ — ไม่รู้
กริยาช่วยในประโยคปฏิเสธ
ถ้ามีกริยาช่วยปรากฏอยู่ด้วยในประโยคปฏิเสธจะใช้ในรูปแบบ
မ + กริยาหลัก + กริยาช่วย + ဘူး
กริยาช่วยจะช่วยให้ประโยคปฏิเสธมีนัยต่างๆกันไป ดังนี้
ปฏิเสธ – อย่างสุภาพ
ประโยคปฏิเสธอย่างสุภาพ ในรูปแบบ
မ + กริยาหลัก + ပါဘူး มะ…บ่า บู
မနီးပါဘူး ။ — ไม่โกล้
မလေးပါဘူး ။ — ไม่หนัก
မဝေးပါဘူး ။ — ไม่ไกล
မသေပါဘူး ။ — ไม่ตาย
မသေးပါဘူး ။ — ไม่เล็ก
မသိပါဘူး ။ — ไม่รู้
ปฏิเสธ – …ไม่ได้(ห้ามกระทำ)
ประโยคปฏิเสธในความหมาย …ไม่ได้(ห้ามกระทำ) มีรูปแบบ
မ + กริยาหลัก + ရဘူး มะ…ยะ บู
မကစားရဘူး ။ — เล่นไม่ได้
မစားရဘူး ။ — กินไม่ได้
မလာရဘူး ။ — มาไม่ได้
ปฏิเสธ – อย่า…(คำสั่งห้าม)
นอกจากนี้ยังมีรูปแบบคำสั่งห้าม
မ + กริยาหลัก + နဲ့ มะ…แหนะ
แปลว่า อย่า…
မကစားနဲ့ ။ — อย่าเล่น
မစားနဲ့ ။ — อย่ากิน
မလာနဲ့ ။ — อย่ามา
ปฏิเสธ – ไม่เคย…
ประโยคปฏิเสธในความหมาย ไม่เคย… มีรูปแบบ
မ + กริยาหลัก + ဖူးဘူး มะ…พู บู
မညာဖူးဘူး ။ — ไม่เคยโกหก
မပေးဖူးဘူး ။ — ไม่เคยให้
မမေးဖူးဘူး ။ — ไม่เคยถาม
မယူဖူးဘူး ။ — ไม่เคยเอา
မလုဖူးဘူး ။ — ไม่เคยแย่ง
မသိဖူးဘူး ။ — ไม่เคยรู้
ကတိမပေးဖူးဘူး ။ — ไม่เคยให้สัญญา
မဟေမာ ဖားသားမစားဖူးဘူး ။ — มะเหมาไม่เคยกินเนื้อกบ
ဖေဖေ မသိဖူးဘူး ။ — พ่อไม่เคยรู้
မမာလာ မမေးဖူးဘူး ။ — มะมาลาไม่เคยถาม
ปฏิเสธ – ยังไม่…
ประโยคปฏิเสธในความหมาย ยังไม่…. มีรูปแบบ
မ + กริยาหลัก + သေးဘူး มะ…เต บู
မနီးသေးဘူး ။ — ยังไม่ใกล้
မနုးသေးဘူး ။ — ยังไม่นุ่ม(ยุ่ย)
မမူးသေးဘူး ။ — ยังไม่เมา
မရေးသေးဘူး ။ — ยังไม่เขียน
မရူးသေးဘူး ။ — ยังไม่บ้า
နေ မပူသေးဘူး ။ — แดดยังไม่ร้อน
ဗူးသီး မသီးသေးဘူး ။ — น้ำเต้ายังไม่ออกผล
မမ မဆာသေးဘူး ။ — พี่สาวยังไม่หิว
ရေ မဆူသေးဘူး ။ — น้ำยังไม่เดือด
ปฏิเสธ – ยังไม่ได้…
ประโยคปฏิเสธในความหมาย ยังไม่ได้…. มีรูปแบบ
မ + กริยาหลัก + ရသေးဘူး มะ…ยะ เต บู
မကစားရသေးဘူး ။ — ยังไม่ได้เล่น
မစားရသေးဘူး ။ — ยังไม่ได้กิน
မနားရသေးဘူး ။ — ยังไม่ได้พัก
မဝယ်ရသေးဘူး ။ — ยังไม่ได้ซื้อ
မယူရသေးဘူး ။ — ยังไม่ได้เอา
စာ မကူးရသေးဘူး ။ — ยังไม่ได้คัดลอกหนังสือ
ဆေး မစားရသေးဘူး ။ — ยังไม่ได้กินยา
သီလ မယူရသေးဘူး ။ — ยังไม่ได้รับศีล
ปฏิเสธ – ไม่ได้(ลืมทำ)…
ประโยคปฏิเสธในความหมาย ไม่ได้(ลืมทำ)….. มีรูปแบบ
မ + กริยาหลัก + မိဘူး มะ…มิ บู
မစားမိဘူး ။ — ไม่ได้(ลืม)กิน
မမေးမိဘူး ။ — ไม่ได้(ลืม)ถาม
မရေးမိဘူး ။ — ไม่ได้(ลืม)เขียน
မယူလာမိဘူး ။ — ไม่ได้(ลืม)เอามา
မဝယ်လာမိဘူး ။ — ไม่ได้(ลืม)ซื้อมา
ปฏิเสธ – ไม่ทำให้…
ประโยคปฏิเสธในความหมาย ไม่ทำให้…. มีรูปแบบ
မ + กริยาหลัก + စေဘူး มะ…เซ่ บู
မဆားစေဘူး ။ — ไม่ทำให้หิว
မနူစေဘူး ။ — ไม่ทำให้ยุ่ย
မမူးစေဘူး ။ — ไม่ทำให้เมา
မဝစေဘူး ။ — ไม่ทำให้อ้วน
ปฏิเสธ – ไม่…ให้
ประโยคปฏิเสธในความหมาย ไม่….ให้ มีรูปแบบ
မ + กริยาหลัก + ပေးဘူး มะ…เป บู
မကုပေးဘူး ။ — ไม่รักษาให้
မကူပေးဘူး ။ — ไม่คัดลอกให้
မမပေးဘူး ။ — ไม่ยกให้
မမေးပေးဘူး ။ — ไม่ถามให้
မဖယ်ပေးဘူး ။ — ไม่หลีกให้
မရေးပေးဘူး ။ — ไม่เขียนให้
မဝယ်ပေးဘူး ။ — ไม่ซื้อให้
မယူပေးဘူး ။ — ไม่เอาให้
မသယ်ပေးဘူး ။ — ไม่ขนให้
นอกจากนี้ยังอาจใช้ในรูปแบบ
กริยาหลัก + မ + ပေးဘူး …มะ เป บู
ကုမပေးဘူး ။ — ไม่รักษาให้
မေးမပေးဘူး ။ — ไม่ถามให้
ယူမပေးဘူး ။ — ไม่เอาให้
ဝယ်မပေးဘူး ။ — ไม่ซื้อให้
ปฏิเสธ – ไม่…มา
ประโยคปฏิเสธในความหมาย ไม่….มา ในรูปแบบ
မ + กริยาหลัก + လာဘူး มะ…หล่า บู
မပါလာဘူး ။ — ไม่มีมาด้วย
မမူးလာဘူး ။ — ไม่เมามา
မယူလာဘူး ။ — ไม่เอามา
မဝယ်လာဘူး ။ — ไม่ซื้อมา
မသယ်လာဘူး ။ — ไม่ขนมา
นอกจากนี้ยังอาจใช้ในรูปแบบ
กริยาหลัก + မ + လာဘူး …มะ หล่า บู
ပါမလာဘူး ။ — ไม่มีมาด้วย
ယူမလာဘူး ။ — ไม่เอามา
มีข้อสังเกตอยู่ว่า กริยาช่วย နေ เหน่ จะไม่ใช้ไนประโยคบอกเล่าเชิงปฏิเสธ ในความหมาย กำลังไม่…
หรือ ไม่…อยู่ แต่จะนิยมใช้ในประโยคคำสั่งเชิงปฏิเสธ โดย နေ เหน่ จะทำหน้าที่อย่างกริยาหลัก ในความหมาย อย่ามัว
ตัวอย่างการถาม-ตอบสำหรับประโยคที่มีกริยาช่วย နေ เหน่ ดังเช่น
စားနေသလား ။ — กำลังกินหรอ
စားနေတယ် ။ — กำลังกิน
မစားဘူး ။ — ไม่กิน
မူးနေသလား ။ — เมาอยู่หรือ
မူးနေတယ် ။ — เมาอยู่
မမူးဘူး ။ — ไม่เมา
จะเห็นว่าในการปฏิเสธจะไม่มีการใช้ နေ เป็นกริยาช่วย
กริยานำในประโยคปฏิเสธ
หากมีกริยานำปรากฎอยู่ด้วยในประโยคปฏิเสธ จะวาง မ ไว้หลังกริยานำ
และไว้หน้ากริยาหลักเสมอ ในรูปแบบ
กริยานำ+ မ + กริยาหลัก + (กริยาช่วย) + ဘူး
စမကသေးဘူး ။ — ยังไม่เริ่มรำ
ပေးမဝယ်ဘူး ။ — ไม่ให้ซื้อ
ပေးမစားဘူး ။ — ไม่ให้กิน
လာမနေဘူး ။ — ไม่มาอยู่
လာမမေးဘူး ။ — ไม่มาถาม
လာမယူဘူး ။ — ไม่มาเอา
လုမယူဘူး ။ — ไม่แย่งเอา
ဝယ်မစားဘူး ။ — ไม่ซื้อกิน
ประโยคปฏิเสธที่ประกอบด้วยประธานหรือกรรม
ประโยคปฏิเสธที่มีคำนามทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมปรากฏอยู่ด้วย จะต้องวางประธานหรือ
กรรมไว้หน้ากริยาวลีเสมอ และวาง မ ไว้หน้ากริยาหลัก เพราะถือว่า မ เป็นส่วนหนึ่งของกริยาวลี
ကလေး ဆီ မစားဘူး ။ — เด็กไม่กินน้ำมัน
ဆရာ မယား မယူသေးဘူး ။ — ครูยังไม่มีเมีย
ဆရာမ ကား မမီဘူး ။ — ครู(หญิง)ไม่ทันรถ
ဘဘ ကား မစီးဖူးဘူး ။ — ลุงไม่เคยโดยสารรถยนต์
သူ ဆေး မကုဖူးဘူး ။ — เขาไม่เคยรักษายา
သူ ဝါသနာ မပါပါဘူး ။ — เขาไม่สนใจ
မာလကာသား မနီဘူး ။ — เนื้อฝรั่งไมแดง
သူ မလာသေးဘူး ။ — เขายังไม่มา
ประโยคคำสั่ง
ประโยคสั่งให้กระทำ จะไช้รูปแบบกริยาวลีเป็น
กริยา + တော့ …ต้อ/ด้อ ถ้าคำหน้าเสียงกัก หรือเสียงสั้นจะออกเป็น ต้อ แต่ถ้าเสียงยาวจออกเป็น ด้อ
စားတော့ ။ — กินชะ
ပေးတော့ ။ — ให้ซะ
သောက်တော့ ။ — ดื่มชะ
ประโยคสั่งห้าม จะใช้รูปแบบกริยาวลีเป็น
မ + กริยา + နဲ့ มะ…แหนะ (อย่า…)
มีการใช้ မ นำหนัากริยาอย่างประโยคปฏิเสธปกติ แต่จะต้องลงท้ายกริยาด้วย နဲ့ เช่น
မငိုနဲ့ ။ — อย่าร้องไห้
မမေ့နဲ့ ။ — อย่าลืม
မလာနဲ့ ။ — อย่ามา
ကလေးကို မဆူနဲ့ ။ — อย่าเอ็ดเด็ก
ကား မစီးနဲ့ ။ — อย่าโดยสารรถยนต์
ဆေး မထိုးနဲ့ ။ — อย่าฉีดยา
မြန်မြန် မစားနဲ့ ။ — อยำกินเร็ว
ဝေးဝေး မနေနဲ့ ။ — อย่าอยู่ห่างๆ
ในการสั่งห้ามอาจต้องพูดอย่างสุภาพ โดยใช้กริยาช่วย ပါ วางไว้หลังกริยาหลัก เช่น
မတားပါနဲ့ ။ — อย่าห้าม
မပေးပါနဲ့ ။ — อย่าให้
မယူပါနဲ့ ။ — อย่าเอา
မြန်မြန် မပြောပါနဲ့ ။ — อย่าพูดเร็ว
ในกรณีที่ต้องการสื่อความหมายว่า อย่ามัว… จะใช้รูปแบบกริยาวลีเป็น
กริยา + မနေနဲ့ …มะ เหน่ แหนะ
စားမနေနဲ့ ။ — อย่ามัวกิน
မေးမနေနဲ့ ။ — อย่ามัวถาม
ရေးမနေနဲ့ ။ — อย่ามัวเขียน
ในเนื้อหานี้ เราได้รู้จักรูปแบบการปฏิเสธในภาษาพม่า รวมถึงคำสั่งการห้ามปราบเบื้องต้น ในตอนหน้าจะมาดูเกี่ยวกับประโยคการขอร้อง ซึ่งรวมไปถึง การเชื้อเชิญ การชักชวน การขอให้ช่วย การขออนุญาต และการอวรพร รอติดตาม