ประโยคขอร้อง ในภาษาพม่ายังสามารถแยกออกได้เป็น การเชื้อเชิญ การชักชวน การขอให้ช่วย การขออนุญาต และการอวรพร เนื้อหาในตอนต่อไปนี้ เราจะมาดูเกี่ยวกับรูปแบบการใช้งาน ประโยคขอร้อง และเพิ่มเติมในส่วนของ เนื้อหา ประโยคอื่นๆ และ คำลงท้ายประโยคในภาษาพม่าเพิ่มเติม
ประโยคขอร้อง
อาจจะเป็นประโยคที่ใช้ในการเชื้อเชิญ ขอความช่วยเหลือ หรือขอนุญาต มีโครงสร้างต่างจากประโยคดบอกเล่า ตรงที่ไม่ต้องใช้กริยาวิภัตติอย่าง တယ် แด่ หรือ မယ် แหม่ มาลงท้ายประโยค แต่จะลงท้ายประโยคด้วยคำว่า ပါ บ่า แทน เพื่อแสดงกาาข้อร้องหรือเชิญชวนอย่างสุภาพ
การเชื้อเชิญหรือเชิญชวน
ใช้รูปแบบ กริยาหลัก + ပါ บ่า
စားပါ ။ — กินเถิด
လာပါ ။ — มาเถิด
မေးပါ ။ — ถามเถิด
နားပါ ။ — พักเถิด
ငါး ပေးပါ ။ — ขอปลาเถิด(ให้ปลาเถอะ)
การขอความช่วยเหลือ
การขอให้ช่วยทำอะไรบางสิ่งบางอย่าง หรือขอให้ทำแทน
ใช้รูปแบบ กริยาหลัก + ပေးပါ ..เป บ่า
ဆေးပေးပါ ။ — ล้างให้หน่อย
ဖယ်ပေးပါ ။ — หลีกให้หน่อย
မပေးပါ ။ — ยกให้หน่อย
မေးပေးပါ ။ — ถามให้หน่อย
သယ်ပေးပါ ။ — ขนให้หน่อย
ဝယ်ပေးပါ ။ — ซื้อให้หน่อ่ย
การขออนุญาต
การขออนุญาตเป็นการขอร้องประเภทหนึ่ง จะลงท้ายประโยคด้วยกริยาช่วยซ้อน
ပါရစေ บ่า ยะ เซ อาจแปลโดยศัพท์ได้ว่า ขอให้ได้ และใช้ในความหมายเทียบได้กับ ขอ….เถอะ โดยวาง ပါရစေ ไว้หลังกริยาหลักโดยไม่ต้องมีกริยาวิภัตติ တယ် หรือ မယ် ลงท้ายประโยคอีก
ในรูปแบบ กริยาหลัก + ပါရစေ …บ่า ยะ เซ่
ကူညီပါရစေ ။ — ขอให้ได้ช่วยเหลือ(นะ)
စားပါရစေ ။ — ขอกินเถอะ(นะ)
နားပါရစေ ။ — ขอพักเถอะ(นะ)
မေးပါရစေ ။ — ขอถามเถอะ(นะ)
သိပါရစေ ။ — ขอทราบเถอะ(นะ)
ประโยคชักชวน
ကြစို့ จะโซ้ะ เป็นคำลงท้ายประโยด ใช้ในความหมายเชิญชวน เทียบได้กับ …กันเถอะ
စားကြစို့ ။ — กินกันเถอะ
လာကြစို့ ။ — มากันเถอะ
စာ ကြိုးစားကြစို့ ။ — ขยันเรียนกันเถอะ
တီဗီ ကြည့်ကြစို့ ။ — ดูทีวีกันเถอะ
သီချင်း ဆိုကြစို့ ။ — ร้องเพลงกันเถอะ
အားကစား လေ့ကျင့်ကြစို့ ။ — ออกกำลังกายกันเถอะ
ในบางกรณี อาจมีคำว่า စို့ โซ้ะ อยู่ท้ายประโยคโดยไม่ต้องมี ကြ จะ
โดยความหมายยังเหมือนเดิม เช่น
စားစို့ ။ — กิน(กัน)เถอะ
လာစို့ ။ — มา(กัน)เถอะ
ประโยคยินยอมหรือท้าทาย
ပါစေ บ่าเซ่ เป็นคำลงท้ายประโยค เพื่อสื่อความหมายท้าทายหรือยินยอม เทียบได้กับ ซิ
လာချင်ရင် လာပါစေ ။ — อยากมาก็มาซิ
နားချင်ရင် နားပါစေ ။ — อยากพักก็พักซิ
ပျင်းချင်ရင် ပျင်းပါစေ ။ — อยากขี้เกียจก็ขี้เกียจไปซิ
မေ့ချင်ရင် မေ့ပါစေ ။ — อยากลืมก็ลืมไปซิ
မေးချင်ရင် မေးပါစေ ။ — อยากถามก็ถามชี
သေချင်ရင် သေပါစေ ။ — อยากตายก็ตายซิ
ဝယ်ချင်ရင် ဝယ်ပါစေ ။ — อยากซื้อก็ซื้อซิ
အော်ချင်ရင် အော်ပါစေ ။ — อยากตะโกนก็ตะโกนไปซิ
ประโยคอวยพร
ပါစေ บ่าเซ่ อาจเป็นคำลงท้ายประโยค สำหรับแสดงการอวยพรได้อีกด้วย เทียบได้กับ ขอจง….
ကျန်းမာပါစေ ။ — ขอจงแข็งแรง
ချမ်းသာပါစေ ။ — ขอจงสุขสบายร่ำรวย
ထီပေါက်ပါစေ ။ — ขอจงถูกหวย
ပထမဆု ရပါစေ ။ — ขอจงได้รางวัลที่ ๑
သုရား မပါစေ ။ — ขอคุณพระจงหนุนช่วย
ประโยคแสดงการถูกกระทำ
ถูกกระทำ – โดน,ถูก
ในประโยคแสดงการถูกกระทำ เพื่อสื่อความหมาย โดน หรือ ถูก จะใช้รูปแบบ
အ + กริยา + ခံရ + กริยาวิภัตติ อะ…ข้ะยะ..
กล่าวคือ ต้องเดิมกริยาสำคัญด้วยอุปสรรค အ เพื่อให้เป็นรูปนาม การ.. และตามด้วย
ခံရ ได้รับ ซึ่งจะเป็นกริยาหลักในประโยค เช่น
หากจะพูดว่า “ถูกดุ” พม่าจะใช้ว่า “ได้รับการดุ” เป็นต้น
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
အဆူခံရတယ် ။ — ถูกดุ(ได้รับการดุ)
အဆဲခံရတယ် ။ — ถูกด่า
အမေးခံရတယ် ။ — ถูกถาม
အကန်ခံရတယ် ။ — ถูกเตะ
အခေါ်ခံရတယ် ။ — ถูกเรียก
အခေါက်ခံရတယ် ။ — ถูกเขก(หัว)
အပြောခံရတယ် ။ — ถูกพูดถึง
ในกรณีที่ต้องการระบุผู้กระทำ จะแสดงด้วยการเป็นเจ้าของของการกระทำ
อาทิ หากจะพูดว่า ถูกพ่อดุ พม่าจะใช้ว่า ได้รับการตุของพ่อ ดังเช่น
အမေ့အဆူကို ခံရတယ် ။ — ถูกแม่เอ็ด (ได้รับการเอ็ดของแม่)
အဖေ့အကန်ကို ခံရတယ် ။ — ถูกพ่อเตะ(ได้รับการเตะของพ่อ)
ถูกกระทำ – ถูกกัด,ถูกตี
ในการแสดงคำความหมายว่าถูกกระทำ เช่น ถูกกัด หรือ ถูกตี เป็นต้นนั้น กริยามักต้องแปรเป็น
คำนามเสียก่อน เป็น การกัด หรือ การดี แล้วจึงตามด้วยกริยา ခံရ ถูก,ได้รับ
เพื่อสื่อความว่า ได้รับการกัด หรือ ได้รับการดี ในรูปแบบ
အ + กริยา + ခံရ + တယ်/မယ် อะ..ข้ะยะ แด่/แหม่
โดย ခံ จะกลายเป็นกริยาหลัก
အကိုက်ခံရတယ် ။ — ถูกกัด<ได้รับการกัด
အရိုက်ခံရတယ် ။ — ถูกดี<ได้รับการตี
သူ အရိုက်ခံရမယ် ။ — เขาจะต้องถูกตี<เขาจะต้องได้รับการตี
ในกรณีที่ปรากฎผู้กระทำ มักไม่ต้องเดิมอุปสรรค အ หน้ากริยา เช่น
ကားတိုက်ခံရတယ် ။ — ถูกรถชน<ได้รับการชนของรถยนต์
ประโยคคาดคะเนหรือคิดเห็น
ในประโยด คิดว่า…+ ประโยครอง ในภาษาพม่านั้น ประโยครองจะอยู่หน้า
ในรูปแบบ กริยา + မယ်/ပြီ + ထင်တယ် …แหม่/ปี่ ทิ่น แด่
ซึ่งแปลว่า คิด เช่น
ကြိုက်မယ် ထင်တယ် ။ — คิดว่าจะชอบ
ဒီနေ့ရောက်မယ် ထင်တယ် ။ — คิดว่าจะมาถึงวันนี้
ဒီနေ့ပြန်လာမယ် ထင်တယ် ။ — คิดว่าจะกลับมาวันนี้
မိုးသည်းမယ် ထင်တယ် ။ — คิดว่าฝนจะ(ตก)หนัก
ရထားနဲ့လာမယ် ထင်တယ် ။ — คิดว่าจะมาตัวยรถไฟ
လာမယ် ထင်တယ် ။ — คิดว่าจะมา
လာခေါ်မယ် ထင်တယ် ။ — คิดว่จะมาเรียก
လာလည်မယ် ထင်တယ် ။ — คิดว่าจะมาเที่ยว
သေမယ် ထင်တယ် ။ — คิดว่าจะตาย
ဆယ်နာရီထိုးပြီ ထင်တယ် ။ — คิดว่าสิบโมงแล้ว
မနေ့က ပြန်ရောက်ပြီ ထင်တယ် ။ — คิดว่ามาถึงแล้วเมื่อวานนี้
คำลงท้ายประโยค
နော် หน่อ เป็นคำที่ใช้ลงท้ายประโยค เพื่อแสดงการขอร้องหรืออ้อนวอน มีความหมายเทียบได้กับ นะ เช่น
နေပါနော် ။ — อยู่เถิดนะ
ပြောပါနော် ။ — บอกเถิดนะ
ပြန်တော့မယ်နော် ။ — จะกลับแล้วนะ
စောစော ထပါနော် ။ — ลุกแต่เช้านะ
မမာလာ လာမယ်နော် ။ — มะมาลาจะมานะ
အတူတူ စားမယ်နော် ။ — กินด้วยกันนะ
များများ မစားနဲ့နော် ။ — อย่ากินมากนะ
ရေအေး မသောက်ပါနဲ့နော် ။ — อย่าดื่มน้ำเย็นนะ
ဆရာ့ကို မပြာပါနဲ့နော် ။ — อย่าบอกครูนะ
ในการแสดงความสุภาพนั้น ภาษาหม่ามีการใช้คำลงท้ายเช่นเดียวกับภาษาไทย
ที่ใช้ดำว่า ค่ะ หรือ ครับ ให้แตกต่างกันระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง ดำลงท้ายดังกล่าวได้แก่
ရှင် ชิ่น — ค่ะ
ခင်ဗျာ คิน บหย่า – ခင်ဗျား คิน บยา– ครับ
ကွာ กว่า — วะ,โว้ย
ကွယ် แกว่ — นะ
ตัวอย่างการใช้คำลงท้ายในประโยค เช่น
ဒီနေ့ နေပူပါတယ် ရှင် ။ — วันนี้แดดร้อนค่ะ
မြန်မာစာက ထိုင်းစာထက် ပိုခက်ပါတယ် ခင်ဗျာ ။ — ภาษาพม่ายากกว่าภาษาไทยครับ
အတူတူ သွားကြမယ်ကွာ ။ — ไปด้วยกันชิวะ
ဒါ မဟုတ်သေးဘူးလေကွာ ။ — นั่น ยังไม่ใช่หรอกโว้ย
ကြိုးစားပေါ့ကွယ် ။ — พยายามนะ
မငိုနဲ့ ကွယ် ။ — อย่าร้องให้นะ
ในส่วนของรูปประโยคคร่าวๆ ในภาษาพม่าเบื้องต้น ได้แก่ ประโยคบอกเล่า ประโยคคำถาม ประโยคปฏิเสธ และ ประโยคขอร้อง ก็จะมีรายละเอียดคร่าวๆ ประมาณนี้ เนื้อหาตอนหน้าจะเป็นอะไรรอติดตาม