เนื้อหาบทความนี้จะมาฝึกอ่านประเพณีของไทขืนทั้ง 12 เดือน โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่
ปีใหม่ของไทขืนหรือเดือน 6 ตามปฏิทินไทขืน หรือวันสงกรานต์เดือนเมษายน ตาม
เทศกาลในประเทศไทย การฝึกอ่านและแปลนี้ไม่ได้มีความถูกต้อง 100 เปอร์เซ็นต์
ผู้เขียนนำมาเป็นแนวทางสำหรับการฝึกการอ่านเท่านั้น
ก่อนลงรายละเอียด มารู้จักเกี่ยวกับเดือนของเมืองเชียงตุง คร่าวๆ ดังนี้ ขอย้อนมาที่ปฏิทินไทย
ในปัจจุบันซึ่งเป็นรูปแบบ ปฏิทินสุริยคติไทย และใช้เป็นทางการ จะเริ่มนับที่ 1 มกราคม เป็นวันปีใหม่
ซึ่งก่อนนี้ประเทศไทยก็ใช้งานปฏิทินในรูปแบบ ปฏิทินจันทรคติไทย ปฏิทินที่นับตามคติการโคจรของ
ดวงจันทร์ โดยอาศัยปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และปัจจุบันก็ยังมีใช้งานอยู่ สำหรับกำหนดหรือแสดง
วันพระ หรือวันสำคัญทางพุทธศาสนาต่างๆ โดยจะนับ วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 เป็นวันปีใหม่ หรือถ้าจะนับจาก
เทศกาลก็อาจจะดูวันลอยกระทง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 นับไปอีก 15 วัน ก็จะเป็นวันขึ้น 1 เดือน 1 หรือเดือน
อ้ายในรูปแบบคำโบราณเรียก ซึ่งชาวเชียงตุง ก็ยังใช้งานรูปแบบของเดือนทางจันทรคติ ในปฏิทิน ดังนั้นวันพระ
และวันสำคัญทางศาสนาก็จะตรงกับทางเมืองไทย เพียงแต่มีข้อแตกต่างคือ เดือนของเชียงตุง จะนับเร็วกว่าเดือน
ของแบบไทย 1 เดือน สมมติเช่น วันออกพรรษา เมืองไทยจะเป็น ขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ที่เชียงตุง จะเป็นขึ้น 15 ค่ำ
เดือน 12 แบบนี้เป็นต้น
วันปีใหม่ของไทขืนจะอยู่ในช่วงวันสงกรานต์เดือนหกของไทขืน และประมาณ
เดือนเมษายนของปฏิทินสากล มักจะตรงกับวันที่ 16 เมษายน ซึ่งเป็นวันเถลิกศก หรือขึ้น จุลศักราชใหม่
ดังนั้นปฏิทินของไทยขืนจะมีคาบเกี่ยวของ 2 ปี คือ เริ่ม 16 เมษายน ปีปัจจุบัน ถึง 15 เมษายน ของปีถัดไป
ปีไทขืนใช้จุลศักราช คิดจากปี พ.ศ. ลบด้วย 1181 ถ้าปีนี้คือปี 2565 ก็จะเป็นปี 1384
เวลาขึ้นปีปฏิทินก็จะเริ่มตั้งแต่เดือน 6
ในปีที่มีแปดสองหน ตามปฏิทินไทย ในปฏิทินไทขืน จะเป็นเดือนเก้าสองหน
ประเพณี 12 เดือน เมืองเชียงตุง ᨷᩅᩮᨱᩦ ᪑᪒ ᨯᩮ᩠ᨶᩨ
ᨯᩮᩨ᩠ᨶ ᪖. ᨷᩅᩮᨱᩦ ᩈᩘᨠᩕᩣᨶ᩠ᨲ᩼ᨸᩦᩉᩱ᩠ᨾ᩵(ᨾᩮ᩠ᨦᩨᨩ᩠ᨿᨦᨲᩩᨦᨳᩨᨸᩮ᩠ᨶᨸᩦᩉᩱ᩠ᨾ᩵)
เดือน 6 ประเพณี สังกรานต์ปีใหม่ เมืองเชียงตุงถือเป็นปีใหม่
ประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ เปลี่ยน จุลศักราช ใหม่ ชาวไทขืน ถือเป็น ปีใหม่
ᨯᩮᩨ᩠ᨶ ᪗. ᨷᩅᩮᨱᩦ ᨡ᩠ᨶᩨᩢᨵᩤ᩠ᨲᩩ ᩓᩢ ᨻ᩠ᨠᩥᨴᩩ ᨷ᩠ᩅᨩᨽ
เดือน 7 ประเพณี ขื้นธาตุ และ ปิ๊กตุ๊ บวชพระ
ประเพณีขึ้นธาตุเจดีย์ ทำบุญสมโภชพระธาตุสำคัญต่าง ๆ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในวันขึ้น 15 ค่ำ
(ชาวเชียงตุงไม่ได้เรียก วันวิสาขบูชา)
ประเพณีเป๊กข์ตุ๊บวชพระ (ภาษาขืนเรียก พระ ว่า ตุ๊ และ เรียก เณร ว่า พะ )
ᨯᩮᩨ᩠ᨶ ᪘. ᨷᩅᩮᨱᩦ ᩃ᩠ᨿᩢᨦᨷ᩠ᨶᩤᩢᩃ᩠ᨿᩢᨦᨾᩮ᩠ᨦᩨ
เดือน 8 ประเพณี เลี้ยงบ้านเลี้ยงเมือง
ประเพณีเลี้ยงบ้านเลี้ยงเมือง จัดในวันข้างแรม เป็นการเซ่นไหว้บวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าฟ้า
ที่คุ้มครองเมือง และเทวดาที่คุ้มครองหมู่บ้าน
ᨯᩮᩨ᩠ᨶ ᪙. ᨷᩅᩮᨱᩦ ᨡᩮᩢᩢᩣᩅᩔᩣ, ᩈᩪᨯᨠᩣ᩠ᨦᨧᩱᩈᩦ᩠ᩃ, ᩈ᩠ᨦᩫᩰᨣᩕ᩠ᩋᩡᨾᩮ᩠ᨦᩨ
เดือน 9 ประเพณี เข้าวาสา สูดกางใจศีล สงเคราะเมือง (สูด คือ สวด)
ประเพณีเข้าวาสา (เข้าพรรษา)
ประเพณีสวดกลางใจศีล เป็นการสวดมนต์สืบชาตาสะเดาะเคราะห์ให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข
มักจัดในวันพระที่ 2 หลังเข้าพรรษา แต่บางวัด เช่น วัดหัวข่วง จัดในเดือน 10 ข้างแรม
ประเพณีส่งเคราะห์เมือง เป็นพิธีสืบชาตาเมือง จัดพิธี ณ ใจกลางเมืองเชียงตุง
ᨯᩮᩨ᩠ᨶ ᪑᪐. ᨷᩅᩮᨱᩦ ᩈᩪᨯᨵᨾ᩠ᨾ᩼ ᨡ᩠ᨷᩢᨹᩦᩃᩱ᩵ᨷᩕᩮ᩠ᨲ
เดือน 10 ประเพณี สูดธรรม ข้บผีไล่เปรต (สูด คือ สวด)
ประเพณีสูตมนต์ไล่ผีปล่อยเผต หรือ พิธีสวดมนต์ขับไล่พวกผีเปรตไม่ให้มารังควาน
และทำความเดือดร้อนแก่ผู้คน จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ
ᨯᩮᩨ᩠ᨶ ᪑᪑. ᨷᩅᩮᨱᩦ ᨲ᩠ᨦᩢᩢᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᨾᩉᩣᩅᩮᩔᨶ᩠ᨲᩁ(ᨷᩅᩮᨱᩦ) ᩓᩢ
ᨲ᩠ᨦᩢᩢᨵᨾ᩠ᨾ᩶ᨣᩢᩣᩴᨶᩣ᩠ᨾ᩵ ᨾᩦᨠᩣ᩠ᩁᩈᩪᨯᨵᨾ᩠ᨾ᩼ ᩰᨯ᩠ᨿᨣ᩠ᨱᩡᨵᨾ᩠ᨾᩈ᩠ᨠᩧᩈᩣ
ᩮᨾ᩠ᨦᩨᨩ᩠ᨿᨦᨲᩩᨦᨴᩩᨠᩅ᩠ᨶᩢᩈᩦ᩠ᩃᨴᩩᨠᩅ᩠ᨯᩢ ᨠᩣ᩠ᨦᩅᩔᩣ
เดือน 11 ประเพณี ต้้งธรรมมหาเวสสันตระ (ประเพณี) และ ตั้งธรรมค้ำน่าม มีการสูดธรรม
โดยคณะธรรมศึกษา เมืองเชียงตุงทุกวันศีลทุกวัด กางพรรษา
ประเพณีตั้งธรรมเวสสันตระ หรือ เทศน์มหาชาติ
ประเพณีทานธรรมค้ำนาม คือ การทานธรรมประจำวันเกิด และปีเกิดของเจ้าภาพ
มักจัดพร้อมไปกับการตั้งธรรมเวสสันตระ
ᨯᩮᩨ᩠ᨶ ᪑᪒. ᨷᩅᩮᨱᩦ ᩋ᩠ᩋᨠᩅᩔᩣ ᨧᩥᨴ᩠ᨿᩁᨷᩪᨩᩣᨻᩕᨻᩩᨴ᩠ᨵᨧᩮᩢᩢᩣ
เดือน 12 ประเพณี ออกวาสา จีเทียนบูชาพระพุทธเจ้า
ประเพณีออกวาสา (ออกพรรษา) จุดเทียนบูชาพระพุทธเจ้า
ᨯᩮᩨ᩠ᨶ ᨧ᩠ᨿᨦ. ᨷᩅᩮᨱᩦ ᨷᩥᨱ᩠ᨯᩥᨷᩤ᩠ᨲᩅ᩠ᨯᩢᨻᩕᨧᩮᩢᩢᩣᩉᩖᩅ᩠ᨦ, ᨴᩤ᩠ᨶᨨ᩠ᩃᩣ᩠ᨠ, ᨴᩤ᩠ᨶᨹᩢᩣᨠᨮᩥᨶ
เดือน 1 ประเพณี บิณทบาตรวัดพรเจ้าหลวง ตานฉลาก ตานผ้ากฐิน
ประเพณีตักบาตรวัดพระเจ้าหลวง จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน เกี๋ยง (แจง หรือ เจียง) (ตรงกับวันลอยกระทง ของไทย)
ในงานสมโภชวัดพระเจ้าหลวง โดย นิมนต์พระสงฆ์จากวัดต่าง ๆ ทั้งฝ่ายไทขืน ไทใหญ่ และพม่า มารับบิณฑบาต จากประชาชน ตามเส้นทางตั้งแต่หน้า วัดหัวข่วง วัดพระเจ้าหลวง วัดพระแก้ว เลี้ยวซ้ายเข้าโรงแรมนิวเชียงตุง กลับมาวัดหัวข่วง
ประเพณีทานซองสลาก
ประเพณีทานผ้ากฐิน
ᨯᩮᩨ᩠ᨶ ᨿᩦ᩵. ᨷᩅᩮᨱᩦ ᨡᩮᩢᩢᩣᨷᩁᩥᩅᩤᩈᨠᨾ᩠ᨾ᩼ ᩓᩢ ᨳ᩠ᩅᩣ᩠ᨿ ᩮᨡᩢᩢᩣᨸᩮ᩠ᨠᩨᨡᩮᩢᩢᩣᩈᩣ᩠ᩁ
ᩯᨠ᩵ᩈᩣᩈᨶᩣ ᨻᩮ᩠ᩋᩨ᩵ᩉᩨᩢᩈᩣᩈᨶᩣᩀᩪ᩵ᨿᩣ᩠ᩅᨤᩣ᩠ᩅᩉ᩠ᨦᩨ
เดือน 2 ประเพณี เข้าปริวาสกรรม และกวายข้าวเปือกข้าวสาร แก่ศาสนา เพื่อหื้อศาสนาอยู่ยาวคาวหึง (ให้ศาสนาอยู่ยาวนาน)
ประเพณีเข้าก๋ำ มี 2 อย่างคือ การเข้าก๋ำหลวง หรือ การเข้าปริวาสกรรม มีกำหนด 10 วัน ระหว่าง
วันขึ้น 5 ค่ำ ถึง วัันขึ้น 15 ค่ำ กับ การเข้าก๋ำน้อย หรือ การเข้ารุกขมูลกรรม มีกำหนด 7 วัน ไม่ถือวัตร
ปฏิบัติเคร่งครัดเหมือนเข้าก๋ำหลวง ส่วนมากจะนิยมจัดการเข้าก๋ำหลวง และชาวเชียงตุง ถือว่าพระสงฆ์
ที่ไม่เคยต้องอาบัติสังฆาทิเสส ก็สามารถเข้าก๋ำหลวงได้ เพื่อชำระศีลให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น
ᨯᩮᩨ᩠ᨶ ᩈᩣ᩠ᨾ. ᨷᩅᩮᨱᩦ ᩃ᩠ᨿᩢᨦᩉ᩠ᨶᨦ᩠ᩋᨲᩩᨦ
เดือน 3 ประเพณี เลี้ยงหนองตุง (คำว่า หนอง ลำดับการเรียงอาจจะแปลก แต่ก็พอเดาคำได้)
ประเพณีเลี้ยงหนองตุ๋ง เป็นพิธีเซ่นไหว้บวงสรวงวิญญาณบรรพบุรุษผู้ปกครองเมืองเชียงตุง
นิยมจัดในวันแรม 3 ค่ำ หรือวันที่ตรงกับ วันกาดเท่า
ᨯᩮᩨ᩠ᨶ ᩈᩦ᩵. ᨷᩅᩮᨱᩦ ᨴᩤ᩠ᨶᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᨶᩣᩴᩢᩋ᩠ᨿᩢ ᩓᩢ ᨠᩣ᩠ᩁᩈ᩠ᩋᨷᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᨷᩕᨧᩴᩣᨸᩦᨾᩮ᩠ᨦᩨᨩ᩠ᨿᨦᨲᩩᨦ
ᩋᩢ᩠ᨶᨸᩮ᩠ᨶᨠᩣ᩠ᩁᨠ᩠ᨴᩴᩣᩉᩨᩢᨤ᩠ᨶᩫᩁᩮᩢᩣᨾᩦᨣ᩠ᩅᩣ᩠ᨾᩁᩪᩢ
เดือน 4 ประเพณี ตานน้ำอ้อย และการสอบธรรมประจำปีเมืองเชียงตุง อันเป็นการกระทำให้คนเรามีความรู้
ประเพณีทานธรรมน้ำอ้อย สมัยก่อน นิยมแต่งงานกันในช่วงนี้ ซึ่งอ้อยกำลังแก่ และให้น้ำหวานอย่างเต็มที่
จึงมีการทำบุญฟังธรรมและถวายทานน้ำอ้อย เพื่อความเป็นสิริมงคลในการครองเรือน
ᨯᩮᩨ᩠ᨶ ᩉᩢᩣ. ᨷᩅᩮᨱᩦ ᨡ᩠ᨶᩨᩢᨵᩤ᩠ᨲᩩᨧᩮᨯᩦ᩠ᨿᩉ᩠ᨶᨦ᩠ᩋᨺᩣ, ᩃ᩠ᨿᩢᨦᨠᩣ᩠ᨯᨠᩮ᩵ᩢᩣ, ᩁᩴᩣᨯ᩠ᩋᨠ
เดือน 5 ประเพณี ขื้นธาตุเจดีย์หนองฝา เลี้ยงตลาดกาดเก่า รำดอก
ประเพณีขึ้นธาตุเจดีย์หนองผา หรืองานสมโภชพระธาตุหนองผา จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ
ประเพณีเลี้ยงกาด คือการเซ่นไหว้บวงสรวงวิญญาณเทวดาที่รักษาดูแลตลาดเก่า ข้างวัดเชียงจันทร์
จัดในวันแรม ที่เป็นเลขคี่ และตรงกับวันกาดเท่า
ประเพณีรำดอก คือการบูชาพระรัตนตรัยด้วยดอกไม้ต่าง ๆ จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ
ปฏิทินไทขืน
คลิกดู ปฏิทินไทขืน เพิ่มเติม