ในตอนที่แล้ว เราได้พูดถึงกริยาวิภัตติ หรือตัวบ่งบี้คำกริยาในประโยค รวมทั้งแสดงกาลของประโยคได้ได้ เนื้อหานี้เราจะมาดูอีกส่วนของการใช้วิภัตติ ซึ่งจะเป็นการใช้กับนาม เราจึงเรียก วิภัตตินี้ว่า นามวิภัตติ โดยจะใช้สำหรับบ่งชี้นาม ที่เป็นประธาน หรือ กรรม ของประโยค รูปแบบการใช้งานก็คล้ายกับ กริยาวิภัตติ เพียงแต่คราวนี้ จะวางไว้หลังคำนาม นามวิภัตติ ไม่เพียงแต่ใช้สำหรับบ่งชี้ประธาน หรือบ่งชี้กรรมของประโยค ยังสามารถใช้สำหรับ บ่งชี้การมีส่วนร่วม บ่งชี้พาหนะ บ่งชี้วิธีการ บ่งชี้สถานที่ รวมไปถึงใช้สำหรับการเปรียบเทียบ หรือใช้สำหรับการเชื่อมประโยคได้อีกด้ย ดังจะแสดงตามรายละเอียด้านล่าง
นามวิภัตติ က ဟာ และ ကို
က ก้ะ ဟာ ห่า ใช้สำหรับบ่งชี้ประธานของประโยค
ကို โก่ ใช้สำหรับบ่งชี้กรรมของประโยค
เนื่องจากประธานหรือกรรมที่ประกอบล้วนเป็นคำนาม ดังนั้นจึงเรียกว่า นามวิภัตติ
โดย นามวิภัตติ จะวางไว้หลังคำนามที่ใช้งาน
က ก้ะ มักใช้ในประโยคที่มีคำกริยาอาการ
ဟာ ห่า มักใช้ในประโยคที่มีคำกริยาสภาวะ หรือการบอกลักษณะ
บอกอาการ
ဆရာမက အိုတယ် ။ — ครูผู้หญิงแก่
သမီးက ငိုနေတယ် ။ — ลูกสาวร้องให้
မိုးက မစဲသေးဘူး ။ — ฝนยังไม่หยุด
သူခိုးက ဘဲကလေးကို ခိုးပါတယ် ။ — ขโมยลักลูกเป็ด
การบอกสภาวะ หรือลักษณะ
ဒီရေဟာ မပူပါဘူး ။ — น้ำนี้ไม่ร้อน
သူမဟာ မယားငယ်ပါ ။ — หล่อนเป็นเมียน้อย
หากต้องการเน้นประธานหรือกรรมในประโยคให้ชัดเจน เราสามารถกำหนด
นามวิภัตติเข้าไปได้ เพื่อบ่งชี้ว่าคำไหนคือประธาน คำไหนคือกรรมของประโยค
ตัวอย่างเช่น
ဆရာက ဆရာမကို မေးနေတယ် ။ — ครูชายกำลังถามครูหญิง
မမာလာက မမြကို ဖြေနေတယ် ။ — มะมาลากำลังตอบมะมยะ
จะเห็นว่า ครูชาย เป็นประธาน บ่งชี้ด้วย က ครูหญิงเป็นกรรม บ่งชี้ด้วย ကို
มะมาลา เป็นประธาน บ่งชี้ด้วย က มะมยะ เป็นกรรม บ่งชี้ด้วย ကို
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีเป็นรูปแบบหรือข้อบังคับ ว่าจะต้องมีการใช้งานนามวิภัตติ
ในทุกประโยค เราสามารถละไม่ใส่นามวิภัตติก็ได้ หากประโยคนั้นๆ มีความชัดเจน
และไม่กำกวม
ข้อควรรู้เพิ่มเติม
สระในภาษาพม่า ที่เป็นสระแท้ หรือสระเปิด จะสามารถผันกับวรรณยุกต์สูงตก(รัสสระ)
ตัว့ เอ้ากะมิ้น วรรณยุกต์ต่ำระดับ(ฑีฆสระ) และวรรณยุกต์กลางตก(ครุสระ) ตัว วิจสะนะลงเป้า း
ดูรูปแบบการผันสระกับวรรณยุกต์ *จะขอใส่พยัญชนะ อ้ะ အ เพื่อให้แสดงสระได้เท่านั้น แทน အ ด้วย – บางตัวมีรูปแบบที่ผิด
หากเทียบเสียงอย่างง่าย รัสสระ ก็จะเหมือนกับไม้โท ฑีฆสระ ก็จะเหมือนกับไม้เอก และ ครุสระ ก็จะเหมือนเสียงสามัญ ตัวอย่างเช่น
อุ้ – อู่ – อู
เอ้ะ – เอ่ – เอ
แอ้ะ – แอ่ – แอ
กลับมาที่เนื้อหา นามวิภัตติ กันต่อ สำหรับตัว ကို ที่ใช้บ่งชี้นามที่เป็นกรรมของประโยค หากพยางค์ตัวท้ายที่ไปเกาะ เป็นรูปแบบ ฑีฆสระ มักจะแปลงเสียงไปใช้ รัสสระ แทน เช่น မေမေ ก็จะเป็น မေမေ့
ဖေဖေက မေမေ့ကို ဆူနေတယ် ။ — พ่อกำลังดุแม่
မေမေက ဖေဖေ့ကို ဆူနေတယ် ။ — แม่กำลังดุพ่อ
แต่มีข้อยกเว้น กรณี หากเป็นชื่อคน ที่นำหน้าด้วย မ นางสาว จะไม่แปลงเสียงเป็น รัสสระ
မဖြူက မဝါကို အားနာတယ် ။ — มะพยูเกรงใจมะหว่า
မမာလာက မဟောကို မေ့တယ် ။ — มะมาลาลืมมะเหมา
การเรียงประธาน กับ กรรมในประโยค ไม่จำเป็นว่าจะต้องขึ้นต้นด้วย ประธาณเสมอไป โดยเฉพาะถ้าเรามีการใช้งาน นามวิภัตติ ระบุชัดเจนอยู่แล้วว่า ส่วนไหนคือประธาน ส่วนไหนคือกรรม เราก็สามารถสลับตำแหน่งกันได้ เช่น หากต้องการเน้นไปที่ กรรม ของประโยค ก็ ขึ้นต้นประโยคด้วย นามที่เป็นกรรมได้
မေမေ့ကို ဖေဖေက ဆူနေတယ် ။ — แม่ ถูกพ่อดุอยู่
ဖေဖေ့ကို မေမေက ဆူနေတယ် ။ — พ่อ ถูกแม่ดุอยู่
จะเห็นว่า คนที่ถูกตุ เป็นกรรมของประโยค เราต้องการเน้น ว่าใครถูกดุ ก็สามารถนำ กรรม มาแสดงเริ่มต้นประโยค ได้
นามวิภัตติ နဲ့
နဲ့ ออกเสียง แหน้ะ มีความหมายแปลว่า กับ,ด้วย,โดย
ตัวอย่างในความหมายว่า โดย บ่งชื้พาหนะ เช่น
ကားနဲ့ လာတယ် ။ — มาโดยรถยนต์
ကားနဲ့ ပို့ပေးမယ် ။ — จะส่งให้โดยรถยนต์
ရထားနဲ့ လာတယ် ။ – มาโดยรถไฟ
ตัวอย่างในความหมายว่า ด้วย บ่งชี้วิธี หรือ เครื่องมือ
တူနဲ့ စားတယ် ။ — กินด้วยตะเกียบ
တူနံ့ ထုတယ် ။ — ตอกด้วยค้อน
ตัวอย่างในความหมายว่า กับ บ่งชี้การมีส่วนร่วม
တူလေးနဲ့ လာတယ် ။ — มากับหลานชาย
တူမလေးနဲ့ ကစားတယ် ။ — เล่นกับหลานสาว
ဘဲဥနဲ့ စားတယ် ။ — กิน(ข้าว)กับไข่เป็ด
မဝါ မနီနဲ့ မတည့်ဘူး ။ — มะหว่าไม่ถูกกับมะหนี่
သားနဲ့ နေတယ် ။ — อาศัยอยู่กับลูกชาย
သမီးနဲ့ စားနေတယ် ။ — กำลังกินอยู่กับลูกสาว
นามวิภัตติ ရဲ့
ရဲ့ ออกเสียง แหย้ะ มีความหมายว่า ของ ใช้สำหรับแสดงความเป็นเจ้าของ โดยวางไว้หลังนามที่เป็นเจ้าของ และอยู่หน้า นามหลัก ที่ถูกเป็นเจ้าของ ดูตัวอย่างด้านล่างประกอบ ส่วนแรกคือ ส่วนขยาย ตามด้วย นามหลัก และรวมกัน
ถ้าเข้าใจอย่างง่าย ส่วนขยาย ก็จะหมายถึง ของใคร ส่วนนามหลัก ก็คือ อะไรที่ถูกเป็นเจ้าของ
ဆရာရဲ့ — ของครู — စကား — คำพูด
ဆရာရဲ့ စကား — คำพูดของครู
ဆရာမရဲ့ — ของครูผู้หญิง — ဖေဖေ — พ่อ
ဆရာမရဲ့ ဖေဖေ — พ่อของครูผู้หญิง
ဖေဖေရဲ့ — ของพ่อ — ကား — รถยนต์
ဖေဖေရဲ့ ကား — รถยนต์ของพ่อ
သမီးရဲ့ — ของลูกสาว — စာ — จดหมาย
သမီရဲ့ စာ — จดหมายของลูกสาว
သူရဲ့ — ของเขา — ဘဝ –ชีวิต
သူရဲ့ ဘဝ — ชีวิตของเขา
การแสดงความเป็นเจ้าของ อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ ရဲ့ ในวลีก็ได้ แต่ต้องใช้ในรูปแบบดังนี้คือ ถ้าพยางค์สุดท้ายอยู่ในรูป ฑีฆสระ ให้แปลงเสียงนั้นเป็น รัสสระ โดยใช้ เอ้ากะมิ้น กำกับ
ဆရာ့ — ครู — စကား — คำพูด
ဆရာ့စကား — คำพูดครู
ဖေဖေ့ — พ่อ — ကား — รถยนต์
ဖေဖေ့ကား — รถยนต์พ่อ
လူ့ — คน — ဘဝ — ชีวิต
လူ့ ဘဝ — ชีวิตคน
လူ့ — คน — အား — กำลัง
လူ့ အား — กำลังคน
သူ့ — เขา — ခါး — เอว
သူ့ ခါး — เอวเขา
သူ့ — เขา — ဘဝ ชีวิต
သူ့ ဘဝ – ชีวิตเขา
จะเห็นว่าคำพยางค์สุดท้ายอยู่ในรูป ฑีฆสระ เช่น ဖေဖေ ที่แปลว่าพ่อ ก็จะเป็น ဖေဖေ့
อีกกรณีที่อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ ရဲ့ ในวลี ถ้าพยางค์สุดท้าย อยู่ในรูป รัสสระ อยู่แล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องเิม เอ้ากะมิ้นเข้าไป ให้คงรูปแบบเดิมได้เลย เช่น คำว่า ครูผู้หญิง ဆရာမ ซึ่งลงท้ายด้วย ม้ะ ก็ไม่ต้องเปลียนเป็น รัสสระ เพราะพยางค์สุดท้ายเป็น รัสสระอยูแล้ว
ဆရာမ — ครูผู้หญิง — ဖေဖေ — พ่อ
ဆရာမဖေဖေ — พ่อครูผู้หญิง
ဘဘ — ลุง ထီး — รม
ဘဘထီး — ร่มลุง
မမ — พี่สาว — ဒူး — เข่า
မမဒူး — เข่าพี่สาว
သမီး — ลูกสาว — စာ — จุดหมาย
သမီးစာ — จดหมายลูกสาว
ဦးလေး — อา — စကား — คำพูด
ဦးလေးစကား — คำพูดอา
นามวิภัตติ ဖို့
ဖို့ ออกเสียง โพ้ะ มีความหมายว่า เพื่อ,สำหรับ เป็นได้ทั้ง นามวิภัตติ และสันธานเชื่อมประโยค
ဆရာမဖို့ ယူလာတယ် ။ — เอามาเพื่อครูผู้หญิง
ညီမလေးဖို့ ခူးလာတယ် ။ — เด็ดมาเพื่อน้องสาว
ถ้าเสียงพยางค์สุดท้ายของนามเป็น ฑีฆสระ จะแปลงเสียงนั้นเป็น รัสสระ โดยใช้ตัว เอ้ากะมิ้น
ဆရာ့ဖို့ ယူလာတယ် ။ — เอามาให้ครูผู้ชาย
ဖေဖေ့ဖို့ ပို့လာတယ် ။ — ส่งมาให้พ่อ
မေမေ့ဖို့ ဝယ်လာတယ် ။ — ซื้อมาให้แม่
သူ့ဖို့ ဖြည့်ထားတယ် ။ — เติมไว้ให้เขา
ဝါဝါ့ဖို့ ဝယ်လာတယ် ။ — ซื้อมาให้หว่าหว่า
แต่มีข้อยกเว้น กรณี หากเป็นชื่อคน ที่นำหน้าด้วย မ นางสาว จะไม่แปลงเสียงเป็น รัสสระ
မဖြူဖို့ ထီးဝယ်လာတယ် ။ — ซื้อร่มมาให้มะพยู
မမာလာဖို့ ခူးလာတယ် ။ — เด็ดมาให้มะมาลา
မဝါဖို့ ယူလာတယ် ။ — เอามาให้มะหว่า
นามวิภัตติ လို
လို ออกเสียง โหล่ มีความหมายว่า อย่าง,เหมือน ในลักษณะการเปรียบเทียบ วางไว้หลังนาม
ကလေးလို ငိုနေတယ် ။ — ร้องให้อย่างเด็ก
မမြလို ရေးပါး ။ — จงเขียนอย่างมะมยะ
ရေခဲလို အေးတယ် ။ — เย็นเหมือนน้ำแข็ง
ถ้าเสียงพยางค์สุดท้ายของนามเป็น ฑีฆสระ จะแปลงเสียงนั้นเป็น รัสสระ โดยใช้ตัว เอ้ากะมิ้น
သူ့လို ဆိုပါ ။ — จงร้องอย่างเขา
သူအဖေ့လို ဖြေတယ် ။ — ตอบอย่างพ่อของเขา
นามวิภัตติแสดงสถานที่
นามวิภัตติ မှာ
မှာ ออกเสียง หม่า ใช้ต่อหลังนาม เพื่อบ่งชี้สถานที่ เทียบได้กับคำว่า ที่
တောမှာ နေတယ် ။ — อยู่ในป่า
မမြအိမ်မှာ ချိန်းထားတယ် ။ — นัดไว้ที่บ้านมะมยะ
ဒီမှာ ထားပါ ။ — วางไว้ที่นี่
ဟိုမှာ နေတယ် ။ — อาศัยอยู่ที่นั่น
အပေါ် မှာ ထားတယ် ။ — วางไว้ข้างบน
နောက်မှာ ထားတယ် ။ — วางไว้ข้างหลัง
အောက်မှာ ထားတယ် ။ — วางไว้ข้างล่าง
အိမ်ပေါ် မှာ ထားတယ် ။ — วางไว้บนบ้าน
အိမ်နောက်မှာ ထားတယ် ။ — วางไว้ข้างหลังบ้าน
အိမ်အောက်မှာ ထားတယ် ။ — วางไว้ใต้ถุนบ้าน
ကားပေါ် မှာ ထားတယ် ။ — วางไว้บนรถ
ကားနောက်မှာ ထားတယ် ။ — วางไว้ข้างหลังรถ
นามวิภัตติ က
က ออกเสียง ก้ะ นอกจากใช้สำหรับบ่งชี้ประธานของประโยคหรือวลีแล้ว ยังสามารถใช้ในการแสดงสถานที่ โดยใช้สำหรับบ่งชี้ต้นทาง เทียบได้กับคำว่า จาก
အိမ်က လာတယ် ။ — มาจากบ้าน
ဟိုနေရာက လာတယ် ။ — มาจากที่นั้น
ရထားပေါ် က ဆင်းလာတယ် ။ — ลงจากรถไฟ
အိမ်ပေါ် က ဆင်းလာတယ် ။ — ลงมาจากบ้าน
นามวิภัตติ ကို
ကို ออกเสียง โก่ นอกจากใช้บ่งชี้กรรมของประโยคตามที่อธิบายไปแล้ว ยังสามารถใช้ในการแสดงสถานที่ โดยใช้สำหรับบ่งชี้ปลายทาง
ဒီကို လာပါ ။ — มาที่นี่
ဒီနေရာကို ခေါ် လာပါ ။ — เรียกมาที่นี่
ပုဂံမြို့ကို ရောက်ခဲ့တယ် ။ — ได้ไปถึงเมืองพุกามแล้ว
အိမ်ကို ပြန်လာပြီ ။ — กลับมาบ้านแล้ว
หากตำแหน่งต้นทาง หรือปลายทาง เป็นผู้คน ให้ใช้คำว่า ซีหม่า ဆီမှ ในความหมาย ที่ และ ซีก้ะ ဆီက ในความหมาย จาก และ ซีโก่ ဆီကို ในความหมาย ยัง
သူများဆီမှာ ရှိတယ် ။ — อยู่ที่คนอื่น
ဖေဖေဆီက ယူလာတယ် ။ — เอามาจากพ่อ
ဆရာဆီကို သွားတွေ့မယ် ။ — จะไปพบครู
นามวิภัตติ ကြောင့်
ကြောင့် ออกเสียง จ้อง ใช้สำหรับบ่งชี้ถึงสาเหตุ เทียบได้กับคำว่า เพราะ
မိုးကြောင့် စပါးကောင်းတယ် ။ — ข้าวดีเพราะฝน
မမြကြောင့် မလှ ဒီကိုလာရတယ် ။ — มะละได้มาที่นี่เพราะมะมยะ
ยของนามเป็น ฑีฆสระ จะแปลงเสียงนั้นเป็น รัสสระ โดยใช้ตัว เอ้ากะมิ้น
သူ့ မေမေ့ကြောင့် မနီနောက်ကျတယ် ။ — มะหนี่(มา)สายเพราะแม่ของเธอ
ဒေါ် မာလာ့ကြောင့် မဝါ မလာနိင်သူး ။ — มะหว่ามาไม่ได้ เพราะด่อมาลา
သူ့ ကြောင့် ဒီကလေးက ငိုနေတယ် ။ — เด็กคนนี้ร้องให้เพราะเขา
นามวิภัตติ ထက်
ထက် ออกเสียง แท่ ใช้เพื่อแสดงการเปรียบเทียบในขั้นกว่า เทียบได้กับคำว่า กว่า… ในรูปแบบ นาม + ထက် + กริยา
မမာလာက မဟေမာထက် လှတယ် ။ — มะ-มาลาสวยกว่ามะเห-มา
မဖြူက မဝါထက် အသားညက်တယ် ။ — มะ-พยูผิวละเอียดกว่ามะ-หว่า
မမြက မောင်လတ်ထက် တော်တယ် ။ — มะ-มยะเก่งกว่าหม่องลัด
မြန်မာစာက ထိုင်းစာထက် ခက်တယ် ။ — ภาษาพม่ายากกว่าภาษาไทย
မြန်မာစာက တရုတ်စာထက် လွယ်တယ် ။ — ภาษาพม่าง่ายกว่าภาษาจีน
นอกจากนี้ หน้ากริยาหลักอาจะใช้คำกริยา ပို โป่ ในความหมายว่า เกิน ร่วมด้วยได้
ဒီဖရဲသီးက ဟိုဖရဲသီးထက် ပိုချိုတယ် ။ — แตงโมลูกนี้หวานกว่าแตงโมลูกนั้น
မမာလာက မဟေမာထက် ပိုလှတယ် ။ — มะมาลาสวยกว่ามะเห-มา
นามวิภัตติ အတွက်
အတွက် ออกเสียง อะตั้วะ ใช้สำหรับแสดงเป้าหมาย เทียบได้กับคำว่า สำหรับ.. หรือ เพื่อ…
မဖြူက ဆရာမအတွက် စံပယ်ပန်းယူလာတယ် ။
มะพยูเอาดอกมะลิมาสำหรับคุณครู(ญ)
မမာလာက သူ့ အမေအတွက် အားဆေးဝယ်လာတယ် ။
มะมาลาซื้อยาบำรุงกำลังมาสำหรับแม่
အတွက် ใช้แสดงวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับคำว่า ဖို့ โพ้ะ ต่างกันที่ ဖို့ โพ้ะ ใช้กับคำนามทั่วไป แต่ အတွက် มักใช้กับคำนามบุคคลที่มีฐานะสูงกว่า นอกจากนั้นยังใช้แสดงความมุ่งหมายในรูปนามธรรม
ဘိုးဘိုးက ကောင်းမူအတွက် ရေလှူထားတယ် ။
ปู่ถวายน้ำเพื่อกุศล