ภาษาไทใหญ่
ภาษาไทใหญ่ หรือ ภาษาไตย หรือบ้างก็เรียก ภาษาฉาน เป็นภาษาตระกูลขร้า-ไท ใช้พูดในภาคเหนือของประเทศพม่า ประเทศไทย เป็นภาษาตระกูลเดียวกับภาษาไทย ถูกใช้โดยคนไตยหรือไทใหญ่ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรัฐฉานประเทศพม่าและในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่ ประเทศไทย โดยเฉพาะแม่ฮ่องสอนซึ่งมีคนไตยมาอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยก่อน เพราะอยู่ใกล้กับรัฐฉาน โดยลักษณะของภาษานี้จะใกล้เคียงกับคำเมืองและภาษาอีสานในประเทศไทย
ภาษาไทใหญ่มีสำเนียงแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น ฉานเหนือ ฉานใต้ เชียงตุง และพรมแดนติดกับจีนเรียกว่า ไทเหนือ สำเนียงของฉานเหนือ และฉานใต้จะแตกต่างโดยชัดเจน ส่วนที่เชียงตุง คนส่วนใหญ่มีเชื้อสายไทขืน โดยมีส่วนต่างกับภาษาไทใหญ่อื่น ๆ มาก และมีศัพท์เฉพาะค่อนข้างมาก และเสียง ร ไม่เป็น ฮ ไปทั้งหมด
ภาษาไทใหญ่มีระบบเสียงที่ประกอบไปด้วย พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เช่นเดียวกับภาษาไทย ดังนั้น การที่เราจะเข้าใจภาษาไทใหญ่ เราก็ต้องเริ่มศึกษา และทำความรู้จักกับพยัญชนะ สระ และองค์ประกอบอื่นๆ ของภาษา เมื่อเข้าใจและจดจำแต่ละองค์ประกอบได้บ้างแล้ว ก็เริ่มทำการประสมเป็นคำ แล้วสร้างเป็นประโยค เพื่อให้สามารถเข้าใจภาษา และวัฒนธรรมของคนไตยได้มากขึ้น เพราะภาษาจะบอกเล่าอะไรหลายๆ อย่างได้เป็นอย่างดี
မႂ်ႇသုင်ၶႃႈ
ตัวอย่างพยัญชนะไทใหญ่ ทั้ง 19 ตัว
ตัวอย่างตัวเลขภาษาไทใหญ่ เทียบกับเลขไทย
ตัวอักขระในแป้นพิมพ์ ภาษาไทใหญ่ ทั้งหมด
႑ ႒ ႓ ႔ ႕ ႖ ႗ ႘ ႙ ႐ – =
ၸ တ ၼ မ ဢ ပ ၵ င ဝ ႁ ႂ် ‘ /
ေ ႄ ိ ် ွ ႆ ႃ ု ူ ႈ ၾ
ၽ ထ ၶ လ ယ ၺ ၢ ႇ ႉ ။ꧡ ꧢ ꩦ ꩧ ꩨ ꩩ ိံ * ( ) _ +
ꩡ ၻ ꧣ ျွ ြႃ ၿ ၷ ရ သ ႁႂ် x ” %
ဵ ႅ ီ ြ ႂ ၢႆ ေႃ ို ိူ း ꧦ
ꧤ ꩪ ꧠ ꩮ ျ ႁူ ႁွ ႊ ံ ၊႞ ႟ … ႍ