ตัวเลขในภาษาขืนเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่ง ที่เราจำเป็นต้องจดจำไว้
ถึงแม้เราจะเข้าใจว่า ตัวเลขในภาษาขืน ก็มีแค่ 9 – 10 ตัวเหมือนตัวเลข
ทั่วไป แต่สิ่งที่ทำให้เราจำเป็นต้องเข้าใจตัวเลขภาษาขืน ก็เพราะว่า รูปแบบ
ตัวเลข มีความคล้ายคลึงกับรูปแบบของพยัญชนะ หากเพิ่งเริ่มศึกษาภาษาขืน
ก็อาจจะสับสน และทำให้การฝึกอ่านต่อเนื่องไปได้ยาก จะแยกไม่ออกว่าอันไหน
คือตัวพยัญชนะ อันไหนคือตัวเลข เป็นต้น
เนื้อหาในส่วนนี้ ผู้เขียนจะพยายามรวบรวมและมาอัพเดท หากมีรายละเอียดใหม่ๆ
เพิ่มเติม ดังนั้น อาจจะไม่ครบถ้วนทั้งหมด
᪑ ᪒ ᪓ ᪔ ᪕ ᪖ ᪗ ᪘ ᪙ ᪐
หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า ศูนย์
1 2 3 4 5 6 7 8 9 0
᪑ หนึ่ง 1
᪒ สอง 2
᪓ สาม 3
᪔ สี่ 4
᪕ ห้า 5
᪖ หก 6
᪗ เจ็ด 7
᪘ แปด 8
᪙ เก้า 9
᪐ ศูนย์ 0
᪑᪐ 10 สิบ
᪑᪑ 11 สิบเอ็ด
᪒᪐ 20 ซาว (ยี่สิบ)
᪑᪐᪐ 100 ปาก (หนึ่งปาก)
᪑,᪐᪐᪐ 1,000 เหง (หนึ่งเหง)
᪑᪐,᪐᪐᪐ 10,000 หนึ่งหมื่น
᪑᪐᪐,᪐᪐᪐ 100,000 หนึ่งแสน
᪑,᪐᪐᪐,᪐᪐᪐ 1,000,000 หนึ่งล่าน
การสร้างตัวเลข
จะใช้วิธีเหมือนตัวเลขอารบิกทั่วไป คือนำมาประกอบต่อกัน เช่น
᪑᪑ 11 สิบเอ็ด สิบเอ็ด
᪑᪓ 13 สิบสาม สิบสาม
᪒᪒ 22 ซาวสอง ยี่สิบสอง
᪑᪖᪐ 160 ปากหกสิบ หนึ่งร้อยหกสิบ
᪑,᪕᪐᪐ 1500 เหงห้าปาก หนึ่งพันห้าร้อย
᪑,᪐᪒᪓ 1023 เหงซาวสาม หนึ่งพันยี่สิบสาม
ตัวเลขภาษาพม่าที่อาจจะเห็นแทรกในตัวหนังสือภาษาขืน
เวลาอ่าน จะอ่านเป็นภาษาขืน
᪁ – หนึ่ง
᪂ – สอง
᪃ – สาม
᪄ – สี่
᪅ – ห้า
᪆ – หก
᪇ – เจ็ด
᪈ – แปด
᪉ – เก้า
᪀ – ศูนย์
วันและเดือนในภาษาขืน
ᩈᨲ᩠ᨲᩣᩉ สัปดาห์
ᩅ᩠ᨶᩢᩋᩣᨴ᩠ᨲᩥ᩠᩼ᨿ / ᩋᩣᨴ᩠ᨧᩥ วันอาทิต วันอาทิตย์
ᩅ᩠ᨶᩢᨧᩢᨶ᩠ᨴ᩼ / ᨧᨶ᩠ᨴ᩼ วันจั๋น วันจันทร์
ᩅ᩠ᨶᩢᩋᩘᨣᩤ᩠ᩁ วันอังคาน วันอังคาร
ᩅ᩠ᨶᩢᨻᩩᨵ วันพุท วันพุธ
ᩅ᩠ᨶᩢᨹᩢ᩠ᩈ วันพัส วันพฤหัสบดี
ᩅ᩠ᨶᩢᩈᩩᨠᩕ วันสุก วันศุกร์
ᩅ᩠ᨶᩢᩈᩮᩢᩣ วันเสา วันเสาร์
ᩅ᩠ᨶᩢᩁᩣᩉᩪ วันราหู วันราหู
ᨯᩮ᩠ᨶᩨ เดือน
ᨧ᩠ᨿᨦ แจง (เจียง) มกราคม
ᨿᩦ᩵ ยี่ กุมภาพันธ์
ᩈᩣ᩠ᨾ สาม มีนาคม
ᩈᩦ᩵ สี่ เมษายน
ᩉᩢᩣ ห้า พฤษภาคม
ᩉ᩠ᨠᩫ หก มิถุนายน
ᨧᩮ᩠ᨯ เจ็ด กรกฏาคม
ᨸᩯ᩠ᨯ แปด สิงหาคม
ᨠᩮᩢᩢᩣ เก้า กันยายน
ᩈᩥ᩠ᨷ สิบ ตุลาคม
ᩈ᩠ᨷᩥᩋᩮ᩠ᨯ สิบเอ็ด พฤศจิกายน
ᩈ᩠ᨷᩥᩈ᩠ᩋᨦ สิบสอง ธันวาคม
ตั้งแต่เดือน 3 เป็นต้นใปการนับเดือน ก็จะใช้เป็นเลขลำดับแทน
เดือนของไทขืน จะเริ่มเร็วกว่า เดือนในปฏิทินไทย 1 เดือน
การนับเริ่มปฏิทินไทยแบบจันทรคติ จะเริ่มนับตั้งแต่วัน ขึ้น 1 ค่ำเดือน 1 หรือที่เรียกว่า เดือนอ้าย
เป็นวันเดียวกับวันปีใหม่ของไทใหญ่ นั่นคือ เมื่อเข้าสู่เดือน 1 ของปฏิทินไทย จะหมายถึง เดือน 2 ของไทขืน
(*วันปีใหม่ไทใหญ่จะนับวัน ขึ้น 1 ค่ำเดือน 1 (แจ๋ง) )
วันปีใหม่ของไทขืนจะอยู่ในช่วงวันสงกรานต์เดือนหกของไทขืน และประมาณ
เดือนเมษายนของปฏิทินสากล จะเริ่มเฉลิมฉลองตั้งแต่วันสงกรานต์ ต่อไปวันเนา และวันพระยาวันมา
ของไทขืน ถ้าเทียบกับเมืองไทย ก็จะเป็น วันมหาสงกรานต์ ต่อด้วยวันเนา และจบที่วันเถลิงศก
มักจะตรงกับวันที่ 16 เมษายน ซึ่งเป็นวันขึ้น จุลศักราชใหม่ แต่เวลาของการเถลิงศกที่สำหรับ
ขึ้นจุลศักราชใหม่ อาจจะอยู่ในช่วงบ่าย ของวันที่ 16 ดังนั้นอาจจะด้วยรูปแบบนี้ วันเริ่มปีใหม่ของไทขืน
จึงอาจจะนับไปเป็นวันที่ 17 เมษายน หรือหลังวันพระยาวันมา 1 วัน ก็ได้
ดังนั้นเพื่อไม่ให้สับสนกับคำว่าวันปีใหม่ไทขืน กับ วันเริ่มปีใหม่ ให้เราเข้าใจคร่าวๆ ว่าเป็นช่วง
วันเทศกาลปีใหม่ไทขืนจะเริ่มในช่วงวันสงกรานต์เป็นต้นไป
ลองเปรียบเทียบวันของไทย – วันไทขืน – และกิจกรรมที่ยืดปฏิบัติของคนไทขืนในเชียงตุง
วันมหาสงกรานต์ – วันสงกรานต์ – วันกินข้าวซอย
วันเนา – วันเนา – วันทำขนมแอ๊ป
วันเถลิงศก – วันพระยาวันมา – วันเที่ยวทำบุญวัดต่างๆ
ปฏิทินของไทยขืนจะมีคาบเกี่ยวของ 2 ปี คือ เริ่ม 16 (หรือ 17) เมษายน ปีปัจจุบัน ถึง 15 (หรือ 16) เมษายน
ของปีถัดไป ปีไทขืนใช้จุลศักราช คิดจากปี พ.ศ. ลบด้วย 1181 ถ้าปีนี้คือปี 2565 ก็จะเป็นปี 1384
เวลาขึ้นปีปฏิทินก็จะเริ่มตั้งแต่เดือน 6
ในปีที่มีแปดสองหน ตามปฏิทินไทย ในปฏิทินไทขืน จะเป็นเดือนเก้าสองหน
สำหรับชาวไตยเหนือหรือไทเหนือที่มีเชื้อสายมาจากชาวจืน จะใช้
มีวันปีใหม่เป็นวันตรุษจีน
อย่างไรก็ตามการเทียบเดือนตามสากลก็จะเรียกตามลำดับเดือนปกติ