ตัวสะกดในภาษาไทใหญ่มีด้วยกัน 8 ตัว โดยจะใช้พยัญชนะ และตามด้วย ตัว ် เรียกว่า แพด
เทียบกับตัวสะกดในภาษาไทย ก็คือ แม่ กก กด กบ กง กม กน เกย เกอว
ในตอนที่แล้ว เรารู้จักกับสระหลักในภาษาไทใหญ่ โดยเฉพาะสระ เอ๋ ေ และ แอ๋ ႄ ที่เมื่อประสมรวมกับตัวสะกด หรือ ตัวแพด ก็จะเปลี่ยนรูปไปใช้ตัวที่ขืนด้านบนแทน จาก ေ เอ๋ ก็เป็น เอ๋ต่าง ဵ จาก ႄ แอ๋ ก็เป้น แอ๋ต่าง ဵ เช่นคำว่า เกน กับคำว่า แกน
ၵ + ေ + ၼ် จะไม่เขียนว่า ၵေၼ် แต่จะเขียนเป็น ၵဵၼ် แทน
ၵ + ႄ + ၼ် จะไม่เขียนว่า ၵႄၼ် แต่จะเขียนเป็น ၵႅၼ် แทน
ตัวสะกดยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ
- ตัวเสียงสั้น หรือเสียงขาด ประกอบด้วยตัว ก๊ะ แพด ၵ် ต๊ะ แพด တ် และ ป๊ะ แพด ပ်
- ตัวเสียงยาว หรือเสียงก้อง ประกอบด้วยตัว ง๊ะ แพด င် ม๊ะ แพด မ် และ น๊ะ แพด ၼ်
สระผสมในภาษาไทใหญ่
สระเสียงซ้อนหรือสระผสมในภาษาไทใหญ่ทั้ง 13 ตัว ในตารางจะใช้ตัว ဢ อ๊ะ ประสม เพื่อให้ออกเสียง และเขียนง่ายขึ้น
ตัวสะกดที่อยู่ในสระผสม เห็นได้ชัดจะมีตัว ၺ် ญ๊ะ แพด และ ဝ် ว๊ะ แพด
เป็นรูปแบบสระผสมเบื้องต้น ที่เราสามารถนำไปใช้ตัวสะกดอื่นๆ อีก 6 ตัว เพื่อสร้างเป็นสระผสมเพิ่มเติมได้
ตัว ဢႂ် จะเหมือน สระใอ ในภาษาไทย
เช่นคำว่า ၸႂ်ႉ ออกเสียงเป็น ใจ้
และ ၼႂ်း ออกเสียงเป็น ใน๊
ตำแหน่งสระผสม และตัวพยัญชนะที่ใช้เป็นตัวสะกด ใน keyboard
เนื้อหาในตอนหน้า เรามาดูเกี่ยวกับพยัญชนะควบกล้ำในภาษาไทใหญ่