คำสันธาน โดยความหมายในทางไวยากรณ์ คือ ชนิดของคำที่เชื่อมคำ ประโยค วลี
หรือประโยคย่อยเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงความคล้อยตาม ความขัดแย้งเหตุผล
หรือเชื่อมความให้สละสลวย
ในภาษาพม่า ประโยคที่มีความซับซ้อนจะประกอบด้วยประโยคหลักและประโยครอง
โดยจะวางประโยคหลักไว้หลังประโยครอง และมี คำสันธาน ทำหน้าที่เชื่อมประโยค
ทั้งสอง ในรูปแบบ
ประโยครอง + สันธาน + ประโยคหลัก
หรือบางครั้งเราเรียกสันธานในลักษณะนี้ว่า สันธานเกาะท้ายประโยครอง
สันธานเกาะท้ายประโยครอง
สันธาน ကတည်းက กะเด ก้ะ (ตั้งแต่)
ကတည်းက กะเดก้ะ เป็นสันธานใช้เชื่อมประโยค ใช้ในความหมาย ตั้งแต่
จะวางไว้หลังดำกริยาในประโยครอง ดังนี้ (วลีตัวเอียง คือส่วนของประโยครอง)
ဆရာပေးကတည်းက သူယူတယ် ။ — เขาเอา(ไป)ตั้งแต่ครูไห้
ဆရာမရေးကြကတည်းက သူ စာကူးတယ် ။ — เขาคัดลอกหนังสือ(ไว้)ตั้งแต่ครู(ญ)เขียนให้(แล้ว)
သူလာကတည်းက မူးနေပြီ ။ — เขาเมาตั้งแต่เขามาแล้ว
สันธานเชื่อมนาม နဲ့ แหนะ (กับ,และ)
နဲ့ แหนะ เป็นสันธานใช้เชื่อมระหว่างคำนามกับคำนาม เทียบได้กับ และ หรือ กับ เช่น
ရေုနဲ့ ဖားသား — หอยและเนื้อกบ
ဆရာနဲ့ ဆရာမ — ครูผู้ชายและครูผู้หญิง
ပုဆိုးနဲ့ ပဝါ — โสร่งและผ้าคลุมไหล่
ဖေဖေနဲ့ မေမေ — พ่อและแม่
ဖေဖေ ၊ မေမေနဲ့ ညီမလေး — พ่อ แม่ และ น้องสาว
မမြနဲ့ ဦးလ — มะมยะและอูละ
သားနဲ့ သမီး — ลูกชายและลูกสาว
အမဲသားနဲ့ ဘဲသား — เนื้อวัวและเนื้อเบีด
ตัวอย่างประโยค
မမြနဲ့ဦးလ လာမယ် ။ — มะมยะและอูละจะมา
မမြ ခရုနံ့ ဖားသားကို မစားဘူး ။ — มะมยะไม่กินหอยและเนื้อกบ
မအေး အမဲသားနဲ့ ဘဲသားကို မစားဘူး ။ — มะเอไม่กินเนื้อวัวและเนื้อเบีด
မေမေ ပုဆိုးနဲ့ ပဝါကို ဝယ်မယ် ။ — แม่จะซื้อโสร่งและผ้าคลุมไหล่
สันธานเชื่อมนาม ဖြစ်ဖြစ်…ဖြစ်ဖြစ် พยิพยิ…พยิพยิ (ไม่…ก็)
ဖြစ်ဖြစ်…ဖြစ်ဖြစ် พยิพยิ…พยิพยิ เป็นคำเชื่อมนาม ใช้ระบุว่าไม่อย่างใดก็อย่างหนึง ในดวามหมาย ไม่..ก็..
ในการใช้ร่วมกับนาม ….ဖြစ်ဖြစ်…ဖြစ်ဖြစ် จะวางไว้หลังคำนาม ดังเช่น
ဖေဖေဖြစ်ဖြစ် မေမေဖြစ်ဖြစ် လာမယ် ။ — ไม่พ่อก็แม่จะมา
ဖေဖေ ဆီးသီးဖြစ်ဖြစ် မာလာကာသီးဖြစ်ဖြစ် စားမယ် ။ — พ่อจะกินไม่พุทราก็ฝรั่ง
မဖြူဖြစ်ဖြစ် မဝါဖြစ်ဖြစ် ဖြေမယ် ။ — ไม่มะพยูก็มะหว่าจะตอบ
สันธาน လို့ โล้ะ (เพราะ)
လို့ โล้ะ เป็นสันธานเกาะท้ายประโยครองแสดงเหตุผล มีความหมายว่า เพราะ
ဆရာမဆူလို့ ငိုတယ် ။ — ร้องไห้เพราะแม่ดุ
ဆာလို့ စားတယ် ။ — กินเพราะหิว
ဆီများလို့ ဆီတယ် ။ — เลี่ยนเพราะน้ำมันมาก
နေပူလို့ မလာခဲ့ဘူး ။ — ไม่ได้มาเพราะแดดร้อน
မစားဖူးလို့ မစားရဲဘူး ။ — ไม่กล้ากินเพราะไม่เคยกิน
ရာသီဉတုအေးလို့ ဖျားတယ် ။ — เป็นไข้เพราะอากาศเย็น
လို့ เป็นสันธานเชื่อมประโยค วางไว้หลังประโยครองชื่งทำหนัาที่อย่างกรรม
มีความหมาย ว่า จะใช้กับกริยา พูดว่า,รู้ว่า,ถามว่า,ตอบว่า,พบว่า,เห็นว่า ดังเช่น
မလာဘူးလို့ သူပြောတယ် ။ — เขาพูดว่าไม่มา
ဆရာက ဘာ ပေးမလဲလို့ သူမေးတယ် ။ — เขาถามว่าครูจะห้อะไร
ဆရာက မသိဖူးလို့ သူသိတယ် ။ — เขารู้ว่าครูไม่เคยรู้
ဒီနေရာကို ရောက်တော့မယ်လို့ သူဖြေတယ် ။ — เขาตอบว่าจะมาถึงที่นี่แล้ว
นอกจากนี้ยังอาจใช้ လို့ เป็นวิภัตติเกาะนาม เช่น
သူ့နာမည်က မမာလာလို့ ခေါ်ပါတယ် ။ — ชื่อของเขาเรียกว่ามะมาลา
สันธาน ဖို့ โพ้ะ (เพื่อว่า)
ဖို့ โพ้ะ เป็นสันธานเกาะท้ายประโยครองแสดงวัดถุประสงค์ ความหมายเทียบได้กับ เพื่อ…. หรือ เพื่อว่า….
နေဖို့ စားတယ် ။ — กินเพื่ออยู่
မမာလာစားဖို့ ခူးလာတယ် ။ — เด็ดมาให้มะมาลากิน
ရေကူးဖို့ လာပါတယ် ။ — มาเพื่อว่ายน้ำ
သတိရစေဖို့ ပုလဲကိုပေးတယ် ။ — ให้ไข่มุกเพื่อให้ระลึกถึง
สันธาน ပေမဲ့ เป่ แหมะ (แม้ว่า)
ပေမဲ့ เป่ แหมะ เป็นสันธานเกาะท้ายประโยครองแสดงความขัดแย้ง ความหมายเทียบได้กับ แม้ว่า..แต่ก็
သူက ကတိပေးဖူးပေမဲ့ မေ့နေတယ် ။ — แม้เขาเคยให้สัญญาแต่ก็ลืม
သူက ဆီမစားပေမဲ့ ဝတယ် ။ — แม้เขาไม่กินน้ำมันแต่ก็อ้วน
သူက မအားပေမဲ့ လာသေးတယ် ။ — แม้เขาไม่ว่างแต่ก็ยังมา
သူ့ဖေဖေက သူ့ကိုဆူပေမဲ့ သူမငိုဘူး ။ — แม้ว่าพ่อเขาเอ็ดเขาแต่เขาก็ไม่ร้องไห้
สันธาน သလို ตะ โหล่ (อย่างที่)
သလို ตะ โหล่ เป็นสันฐานเชื่อมประโยค เพื่อแสดงการเปรียบเทียบ ในความหมายว่า อย่างที่,เหมือนอย่างที่
ဆရာမ ရေးသလို ရေးပါ ။ — เขียนอย่างที่ครูเขียนนะ
ဆရာမ ရေးသလို သူရေးတယ် ။ — เขาเขียนอย่างที่ครูเขียน
ဖေဖေ စားသလို သူစားတယ် ။ — เขากินอย่างที่พ่อกิน
မဝါ မေးသလို သူမေးတယ် ။ — เขาถามเหมือนอย่างที่มะหว่าถาม
สันธาน ပြီးတော့ ปี เดาะ (เมื่อ…(เสร็จ)แล้ว)
ပြီးတော့ ปี เดาะ เป็นสันธานเชื่อมประโยค วางไว้หลังประโยครอง มีความหมาย เมื่อ .. (เสร็จ)แล้ว
หรือ หลังจาก… เช่น
ကစားပြီးတော့ စာရေးမယ် ။ — เมื่อเล่นเสร็จแล้ว จะเขียนหนังสือ
ကော်ဖီသောက်ပြီးတော့ ပန်းကန်ဆေးမယ် ။ — เมื่อดื่มกาแฟเสร็จแล้ว จะล้างจาน
စျေးရောက်ပြီးတော့ ပန်းသီးဝယ်မယ် ။ — เมื่อถึงตลาดแล้ว จะซื้อแอปเปิ้ล
စျေးဝယ်ပြီးတော့ မြန်မြန်ပြန်လာပါ ။ — จ่ายตลาดเสร็จแล้ว กลับมาไวๆ
ပန်းကန်ဆေးပြီးတော့ ရေဖြည့်မယ် ။ — เมื่อล้างจานเสร็จแล้ว จะเดิมน้ำ
สันธาน ရင် หยื่น (ถ้า)
ရင် หยื่น จะวางหลังกริยาของประโยครอง ใช้แสดงเงื่นไขในความหมาย ถ้า
ဆရာအားရင် သူလာမယ် ။ — ถ้าครูว่างเขาจะมา
ဆရာမစာရေးပြီးရင် မဖြူ ဒီကိုလာမယ် ။ —
ถ้าครูหญิงเขียนจดหมายเสร็จ มะพยูจะมาที่นี่
လူကြီးခေါ်ရင် သမီးပြန်ထူးရမယ် ။ — ถ้าผู้ใหญ่เรียก ลูกจะต้องขานตอบ
သား ပြန်ချင်ရင် ဖေဖေ့ကို ပြောနော် ။ — ถ้าลูกอยากกลับ บอกพ่อนะ
กรณีที่ประธานของทั้งสองประโยคเป็นคนหรือสิ่งเดียวกัน ให้ใช้ประธานเพียงครั้งเดียว
โดยมักวางประธานไว้ต้นประโยค
သူ အားရင် လာမယ် ။ — ถ้าเขาว่างจะมา
သူ စာရေးပြီးရင် ဒီကို လာမယ် ။ — ถ้าเขาเขียนจดหมายเสร็จจะมาที่นี่
โดยปกติประธานอาจถูกละไว้ได้ เมื่อใช้ในการ แนะนำ หรือ ให้สัญญา เช่น
ထမင်းဆာရင် အရင်စားပါ ။ — ถ้าหิวข้าว (ก็)กินก่อน
တီဗီကြည့်ချင်ရင် ကြည့်ပါ ။ — ถ้าอยากดูทีวี(ก็)ดูซิ
မောရင် ခဏနားပါ ။ — ถ้าเหนื่อย (ก็)พักซะ
စာတော်ချင်ရင် စာကြိုးစားရမယ် ။ — ถ้าอยากเรียนเก่ง (ก็)จะต้องขยัน
စျေးကြီးရင် မဝယ်လာနဲ့ ။ — ถ้าราคาแพง (ก็)อย่าซื้อมา
မစားချင်ရင် မစားနဲ့ ။ — ไม่อยากกิน (ก็)อย่ากิน
မလာချင်ရင် မလာနဲ့ ။ — ถ้าไม่อยากมา (ก็)อย่ามา
မသိရင် မေးသင့်တယ် ။ — ถ้าไม่รู้ควรถาม
สันธาน ချင်း ชิน (ทันทีที่)
ချင်း ชิน จะวางหลังกริยาในประโยครอง โดยกริยาในประโยครองนั้นจะต้องอยู่ในรูปคำซ้ำ มีความหมายว่า ทันทีที่
နိုးနိုးချင်း ရေချိုးတယ် ။ — อาบน้ำทันทีที่ตื่น
စားပြီးပြီးချင်း ရေမသောက်နဲ့ ။ — อย่าดื่มน้ำทันทีที่กินเสร็จ
သိသိချင်း လာတယ် ။ — มาทันทีที่รู้
ကြားကြားချင်း လာတယ် ။ — มาทันทีที่ได้ยิน(ข่าว)
สันธาน မှ หม้ะ (ต่อเมื่อ)
မှ หม้ะ เป็นสันธานที่ใช้ในความหมาย ต่อเมื่อ เช่น
ဆာမှ စားမယ် ။ — กินต่อเมื่อหิว
ကြိုက်မှ ဝယ်မယ် ။ — ชื้อต่อเมื่อชอบ
ဖေဖေ ပြန်ရောက်မှ သူက မေးမယ် ။ — เขาจะถามต่อเมื่อพ่อกลับมาถึง
ဆရာဆီကို သွားတွေ့ပြီမှ ဒီမှာ လာပါနော် ။
(ต่อเมื่อ)ไปพบครูแล้ว (ก็)มาที่นี่นะ
สันธาน အောင် อ่อง (เพื่อให้)
အောင် อ่อง ใช้ลงท้ายกริยาในประโยครอง มีความหมายว่า เพื่อให้ เช่น
ဝအောင် စားပါး ။ — กินให้อิ่ม
စာမေးပွဲမကျအောင် စာကြိုးစားရမယ် ။ — จะต้องขยันเรียนเพื่อไม่ให้สอบตก
အသားမမည်းအောင် ပေါင်ဒါလိမ်းပါ ။ — ทาแป้งเพื่อไม่ให้ผิวดำ
မကြောက်အောင် ပြောထားတယ် ။ — บอกไว้เพื่อไม่ให้กลัว
မမေ့အောင် သတိပေးပါ ။ — เตือน เพื่อไม่ให้ลืม
မဟောင်းအောင် ကောင်းကောင်းထားပါ ။ — เก็บไว้ดีๆเพื่อไม่ให้เก่า
สันธาน ခင် ขิ่น
ခင် ขิ่น ใช้ลงท้ายกริยาในประโยครองรูปปฏิเสธ ในรูปแบบ
မ + กริยา + ခင်
มีความหมายว่า อย่าเพิ่ง…/ไม่ทัน… เช่น
ကျောင်းမဆင်းခင် မိုးရွာလာတယ် ။ — ไม่ทันเลิกเรียน ฝนตกลงมาก่อน
စာမဖတ်ခင် ပန်းကန်ဆေးရမယ် ။ — ไม่ทันอ่านหนังสือ จะต้องล้างจานก่อน
မမှောင်ခင် အိမ်ရောက်ရမယ် ။ — ไม่ทันมืด จะต้องถึงบ้านก่อน
ထမင်းမစားခင် ဆေးသောက်ပါ ။ — อย่าเพิ่งกินข้าว จงกินยาก่อน
အပြင်မသွားခင် သနပ်ခါးလိမ်းပါ ။ — อย่าเพิ่งไปข้างนอก จงทาตะนะคาก่อน
สันธาน တုန်း โดน (ขณะที่)
มีความหมายว่า ขณะที่ ใช้แสดงเหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน
โดยที่เหตุการณ์หนึ่งกำลังดำเนินอยู่ แล้วมีอีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดซ้อนขึ้นมา
โดย တုန်း จะเกาะท้ายกริยาในประโยครอง ดังเช่น
သူ လှမ်းလျှောက်နေတုန်း မိုးရွာလာတယ် ။
ฝนตกขณะที่เขากำลังเดินอยู่
သူ ထမင်းစားနေတုန်း ဧည့်သည်ရောက်လာတယ် ။
แขกมาถึงขณะที่เขากินข้าวอยู่
ဆရာစာသင်နေတုန်း မဝါတို့စကားပြောကြတယ် ။
พวกมะหว่าพูดกันขณะที่ครูสอนหนังสือ
အိပ်ပျော်နေတုန်း အိပ်မက်မက်တယ် ။
ฝันขณะที่กำลังนอนหลับอยู่
สันธานนำหน้าประโยคตาม
สันธาน ဒါပေမဲ့ ท่า เป่ แหมะ (แต่ว่า)
ဒါပေမဲ့ ท่า เป่ แหมะ เป็นสันธานเชื่อมประโยค 2 ประโยค โดยจะวาง ဒါပေမဲ့ ไว้หน้าประโยคหลัง
ซึ่งเรียกว่าประโยคตาม เพื่อแสดงความหมายเชิงขัดแย้ง เทียบได้กับ แต่ว่า เช่น
မီးလာတယ် ။ ဒါပေမဲ့ ရေမလာဘူး ။
ไฟมาแต่ว่าน้ำไม่มา
မဝါက မဖြူကို ပဝါဝယ်ပေးတယ် ။ ဒါပေမဲ့ မဖြူ မယူဘူး ။
มะหว่าซื้อผ้าคลุมไส่ให้มะพยู แต่ว่ามะพยูไม่เอา
သူက ဒီစာကို မသိဘူး ။ ဒါပေမဲ့ သူက မမေးဘူး ။
เขาไม่รู้หนังสือเรื่องนี้ แต่ว่าไม่ถาม