เนื้อหาตอนต่อไปนี้ จะมาดูเกี่ยวกับรูปแบบคำตาย บางส่วนที่มักพบใช้งาน และก็ดูเกี่ยวกับการใช้หรือไม่ใช้รูปแบบการซ้อนคำในปัจจุบัน
คำตาย เป็นรูปแบบคำเฉพาะตัว ไม่เปลี่ยนแปลง มีความหมายในตัว หมายถึง ถ้าเราจะใช้คำที่สื่อความหมายนี้ ต้องใช้คำในรูปแบบที่ตายตัว เท่านั้น
คำว่า ᨣᩢ
อ่านว่า ก้อ ᨣᩳᩢ ตัวอย่าง
ᨺ᩠ᨶᩫᨣᩢᨲ᩠ᨠᩫᨯᩯ᩠ᨯᨣᩢᩋ᩠ᩋᨠ อ่านว่า ฝนก้อต่กแดดก้อออก
ถ้าเทียบภาษาไทย ก็คือคำว่า ก็
คำว่า ᨣᩢ ในภาษาขืน จะใช้คำอื่นแทนความหมายนี้ไม่ได้ ถ้าเขืยนว่า ᨣᩳᩢ อ่านว่า ก้อ เหมือนกัน
แต่จะเป็นคำที่ใช้ในความหมายอื่น คำนี้เป็นคำแทนลักษณะนาม แทนจำนวนคน หนึ่งก้อ ก็คือ หนึ่งคน
ดังนั้น ถ้าจะใช้ในความหมายว่า ก็ ต้องใช้คำว่า ᨣᩢ เท่านั้น
คำว่า ᨧᩢ
อ่านว่า จัก ᨧ᩠ᨠᩢ ตัวอย่าง
ᨣᩢᨧᩢᨯᩱᩢ อ่านว่า ก็จักได้
ถ้าเทียบกับภาษาไทยน่าจะหมายถึงคำว่า จะ
คำว่า ᩁᩂ
อ่านว่า รือ ᩁᩨ
คำว่า ᨠ᩠ᨴᩴᩣ
อ่านว่า กะทำ ᨠᨴᩴᩣ
ถ้าเทียบกับภาษาไทย ก็คือ กระทำ หรือ การกระทำ
คำว่า ᨷᩢ
อ่านว่า เบ่า ᨷᩮᩤᩢ᩵ ตัวอย่าง
ᨷᩢᩁᩪᩢ อ่านว่า เบ่าฮู้
ᨷᩢᩉ᩠ᨶᩢ อ่านว่า เบ่าฮัน
ᨷᩢᨿ᩠ᨶᩥ อ่านว่า เบ่ายิน
จะเป็นคำใช้สำหรับการปฏิเสธ การห้าม หรือ ก็คือคำว่า ไม่ ในภาษาไทย คล้ายกับคำว่า บ่ ที่แปลว่าไม่ในภาษาเหนือ หรือภาษาอีสาน หรือถ้าเป็นภาษาพูด ก็จะมักใช้เป็นเสียงว่า ᩋᩧ (อึ่) ก็จะเป็น อึ่ฮู้ (ไม่รู้) อึ่ฮัน (ไม่เห็น) อื่ยิน (ไม่ได้ยิน) หรือ หม๊ะ (ม่า) ก็ใช้ในความหมายว่า ไม่ ในภาษาพูดเหมือนกัน เช่น ᨾ᩵ᩣᨸ᩠ᩋᩫᨧᩱ (ไม่เข้าใจ) ᨾ᩵ᩣᨧᩱᩢ (ไม่ใช่) อย่างไรก็ตามในภาษาเขียน ที่จะสื่อความหมายที่แปลว่า ไม่ ต้องใช้เป็นคำตายว่า ᨷᩢ
คำว่า ᩓ
อ่านว่า แล ᩃᩯ ตัวอย่าง
ᨸᩮ᩠ᨶᨯ᩠ᨦ᩶ᨶᩦᩢᩓ อ่านว่า เป็นดั่งนี้แล
ᨩᩣᩓ อ่านว่า จาแล
ᨷᩢᨯᩦᩮᩉ᩠ᨯᩓ อ่านว่า เบ่าดีเห่ดแล
จะเป็นคำไว้เติมท้ายประโยคให้มีความสละสลวยสวยงาม ส่วนใหญ่พบเห็นการใช้งานในคำบรรยายธรรม แต่ถ้าเขียนว่า ᩯᩃ จะหมายถึง การมองหา การดู มองดู ซึ่งอ่านว่า แล เหมือนกัน ดังนั้น ถ้าเราจะใช้เพื่อเติมท้ายในคำ ก็ต้องใช้เป็นคำตายคำว่า ᩓ
คำว่า ᩓᩢ
อ่านว่า แล่ะ ᩃᩯᩢ ตัวอย่าง
ᨤ᩠ᨶᩫᩉ᩠ᨶᩧ᩵ᨦᩓᩢᨤ᩠ᨶᩫᩉ᩠ᨶᩧ᩵ᨦ ᨿ᩠ᩋ᩵ᨾᨾᩦᨶᩥᩈᩱ᩠ᨿᨻᩮᩨ᩠ᨦᨠ᩠ᨶᩢ
อ่านว่า คนหนึ่งแหล่ะคนหนึ่ง ย่อมมีนิสัยเปิ่งกั๋น
จะเป็นคำใช้สำหรับเชื่อมคำสองคำ เพื่อเรียกรวมกันเป็นคำเดียว หรือก็คือคำว่า และ ในภาษาไทยนั่นเอง แต่ถ้าใช้เป็นคำว่า ᩯᩃᩢ ซึ่งอ่านว่า แหล่ะ เหมือนกัน แต่จะหมายถึง การหลบ การหลีกหนี
คำว่า ᩓᩢ᩠ᩅ
อ่านว่า แล้ว ᩃᩯ᩠ᩅᩢ ตัวอย่าง
ᩋᩣ᩠ᨷᨶᩣᩴ᩶ᩓᩢ᩠ᩅᨣ᩠᩵ᨿᨠ᩠ᨶᩥᨡᩮᩢᩢᩣ อ่านว่า อาบน่ำแล่วค่อยกิ๋นเข่า
ᩱᨻ ᩋᩯ᩠᩵ᩅᨾᩣᩓᩢ᩠ᩅᨲᩯ᩵ᩅᩢ᩠ᨶᩅᩤ อ่านว่า ไปแอ่วมาแล้วแต่วันวา
จะเป็นคำจบประโยค แสดงถึงการกระทำที่เสร็จสิ้นลงไปแล้ว เทียบกับภาษาไทย ก็คือคำว่า แล้ว หรือ เสร็จแล้ว แต่ถ้าเป็นภาษาพูด จะใช้คำว่า ᨿᩮᩢᩢᩣ (เหย้า) ก็ได้เหมือนกัน เข่น จะสื่อว่า เสร็จแล้ว ก็จะใช้เป็น ᩓᩢ᩠ᩅᨿᩮᩢᩢᩣ (แล่วเหย้า) แทน ᩓᩢ᩠ᩅᩓᩢ᩠ᩅ (แล่วแล่ว) ตัวอย่าง
ᨠᩥ᩠ᨶᨡᩮᩢᩢᩣᩓᩢ᩠ᩅᩌᩢᩣ ? อ่านว่า กิ๋นเข่าแล่วฮ่ะ ?
ᨠᩥ᩠ᨶᨡᩮᩢᩢᩣᩓᩢ᩠ᩅᨿᩮᩢᩢᩣ อ่ายว่า กิ๋นเข่าแล่วเหย้า
คำว่า ᩐᩢᩣ
อ่านว่า เอา ᩋᩮᩢᩣ ตัวอย่าง
ᩐᩢᩣᨠᩮᩨ᩠ᨶᨾᨾᩣᨠ᩵ᩣ᩠ᨿᨧᩥ᩠᩵ᨦᨧᩢᨩ᩵ᩣ᩠ᨦᨡᩨᩢ᩠ᨶᨯᩱᩢ อ่านว่า เอาเกิ๋นมาก่ายจึงจักจ่างขึ่นใด่
ᩐ (ตัวอู) + ᩢ(ไม้ซัด) + ᩣ (สระไม้ก๋า) อ่านว่า เอา จะหมายถึงคำว่า เอามา ถือมา ในภาษาไทย
นอกจากคำเหล่านี้ อาจจะมีอีกหลายๆ คำ ที่เป็นคำตายที่ไม่ได้พูดถึงในที่นี้ ก็ใหิอาศัยประสบการณ์ จดจำการใช้งานเอาไว้
การซ้อนคำ
มาดูเกี่ยวกับการใช้งานคำซ้อน เนื่องจากสมัยโบราณอาจจะมีความจำเป็นในเรื่องของการซ้อนคำ เพื่อให้มีความสั้น และกระชับ เพื่อให้สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ ลงในใบลานให้ได้มากที่สุด แต่ในปัจจุบัน รูปแบบคำซ้อนในลักษณะดังกล่าว ไม่ค่อยนิยมใช้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นไปในรูปแบบมาตรฐาน และเป็นสากลมากยิ่งขึ้น มาดูตัวอย่างคำซ้อนสมัยก่อน และ คำที่ควรใช้ในปัจจุบัน
ᨻᩱ᩠ᨾᩣ ควรใช้เป็น ᨻᩱᨾᩣ (ไปมา)
ᨩᩨ᩠᩵ᩅᩣ ควรใช้เป็น ᨩᩨ᩵ᩅᩤ᩵ (จือหว่า)
ᨣ᩠ᨱᩡ ควรใช้เป็น ᨣᨱ (ก๊ะน่ะ)
ᨣᩦᩢ᩠ᨯ ควรใช้เป็น ᨣᩢᨯᩦ (ก็ดี)
ᨣᩢ᩠ᨾᩣ ควรใช้เป็น ᨣᩢᨾᩣ (ก็มา)
เรียนมาถึงหัวข้อนี้ แล้ว อันนี้ยากจริงๆครับ ต้องจำอย่างเดียวเลย