ในภาษาขืน จะเรียกการควบกล้ำตัวอักษรว่า การซ้อน หรือคำซ้อน เช่นเดียวกับรูปแบบการใช้ อักษรนำ ᩉ ตัว ห๊ะ ที่เป็นการผสมพยัญชนะ 2 ตัวเพื่อให้ได้พยัญชนะเสียงสูง เนื้อหาตอนนี้เราจะมาดูการใช้งานตัว ᩁ ร๊ะ หรือ ร เรือในภาษาไทย สำหรับเป็นคำซ้อน
เมื่อทำการซ้อนตัว ᩁ กับพยัญชนะ ต่างๆ ตัว ᩁ จะเปลี่ยนรูปไปใช้เป็นตัว ᩕ (ร่ะ ขอบ หรือ ร่ะรอบ หรือ ร่ะฮอบ) แล้วตามด้วยตัวพยัญชนะควบ แต่การออกเสียง จะได้เป็นเสียงใหม่ ดังนี้
ถ้าเทียกกับภาษาไทย ก็เป็นลักษณะการควบคล้ำด้วย ร เรือ แต่ในภาษาขืน อาจจะมองภาพออกยาก ด้วยเพราะ ตัว ร จะไม่ค่อยเห็นใช้กันมากนัก ดังนั้น เวลาออกเสียง จึงไม่ค่อยนิยมมี ร แทรกเข้าไปมากนัก ตัวอย่าง คำว่า พระพุทธเจ้า ในภาษาขืน ก็อาจจะเป็น พะพุตเจ่า ดูตัวอย่าง เช่น
ᨻᩕᨻᩩᨴ᩠ᨵᨧᩮᩢᩢᩣ ก็จะอ่านเป็น พะพุตต่ะเจ่า
หรือคำว่าครู ก็ ออกเสียงแค่ ฅู แต่เวลาเขียน ก็ยังมีตัว ร๊ะ ควบอยู่
ᨣᩕᩪ หรือ ᨣᩕᩪᨷᩤ ก็จะอ่านเป็น คู หรือ คูบา
อีกตัวอย่าง คำว่า ประการ ประเสริฐ ภาษาขืน ก็จะออกเสียงเป็น พ่ะกาน พ่ะเสิด
ᨷᩕᨠᩣ᩠ᩁ อ่านออกเสียงเป็น พ่ะกาน
ᨷᩕᩈᩮᩨ᩠ᨮ อ่านออกเสียงเป็น พ่ะเสิด
นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบการซ้อนคำ อื่นๆ โดยเมื่อเป็นคำซ้อน ตัวแรกจะออกเสียงกึ่งเสียง หรือครึ่งเสียง
ᩈ᩠ᨶᩣ᩠ᨾ อ่านออกเสียงเป็น สะหนาม
ᩈ᩠ᨿᩣ᩠ᨾ อ่านออกเสียงเป็น สะหยาม
ᩃᩣ᩠ᨠᩈ᩠ᨾᩣ อ่านออกเสียงเป็น ลักสะมา
ᨻ᩠ᩃᩣ᩠ᨯ อ่านออกเสียงเป็น ตะหลาด
ᨣ᩠ᩃᩣ᩠ᨯ อ่านออกเสียงเป็น ฅะหลาด
ᨨ᩠ᩃᩣ᩠ᨠ อ่านออกเสียงเป็น ฉะหลาก
ᩈ᩠ᨾᩣ᩠ᨯ อ่านออกเสียงเป็น สะหมาด
ᨧ᩠ᩃᩣ᩠ᨯ อ่านออกเสียงเป็น จะหลาด
ᨨ᩠ᩃᨦ᩠ᩋ อ่านออกเสียงเป็น ฉะหลอง
ᨲ᩠ᩃᨶ᩠ᩋ อ่านออกเสียงเป็น ตะหลอด
ᨲᩕᩣ᩠ᨷ อ่านออกเสียงเป็น ทะหราบ
ᩋ᩠ᨶᩫᨴᩕᩣ᩠ᨿ อ่านออกเสียงเป็น อันทะราย
ᩈᩮᨯ᩠ᨧ อ่านออกเสียงเป็น สะเด้ด
ᩈᩕᩩᨷ อ่านออกเสียงเป็น สะหรุบ
ᩈᩕᩪᨷ อ่านออกเสียงเป็น สะหรูบ
ᩈ᩠ᨾᨦ᩠ᩋ อ่านออกเสียงเป็น สะหมอง
ᩈᩮ᩠ᨾᩨᩋ อ่านออกเสียงเป็น สะเหมอ
ᩈᩮ᩠ᨶᩨᩋ อ่านออกเสียงเป็น สะเหนอ
ᩈ᩠ᨶᨦ᩠ᩋ อ่านออกเสียงเป็น สะหนอง
ᩈ᩠ᨿᨦ᩠ᩋ อ่านออกเสียงเป็น สะหยอง
ᩈ᩠ᨶᩣᩴ อ่านออกเสียงเป็น สะหนำ
ᨡ᩠ᨾᨾ᩠ᩋ อ่านออกเสียงเป็น ขะหนอม
เราจะได้ดูเกี่ยวกับ รูปแบบการซ้อนคำ หรือคำซ้อน ในอีกรูปแบบ เพิ่มเติมในตอนหน้า