คำว่าวิภัตติ ในทางไวยากรณ์ก็จะหมายถึงการผันคำ โดยเป็นการแบ่ง จำแนก หรือจัดกลุ่มของคำโดยการเติมคำต่อท้ายลงไป อาจจะเพื่อบ่งบอกถึงกาล เช่น ปกติกาล หรือ ปัจจุบันกาล อนาคตกาล อดีตกาล หรือบ่งบอกถึงเพศ พจน์ อื่นๆ มีใช้ในภาษาบาลี สันสกฤต หรือภาษาที่มีการนำภาษาบาลี สันสกฤตมาใช้งาน อย่างภาษาพม่า
ดังนั้น กริยาวิภัตติ ก็จะหมายถึงการผันคำกริยาโดยการเติมคำต่อท้ายลงไป คำที่ต่อท้ายลงไปในคำกริยานี้ เราก็จะเรียกว่า กริยาวิภัตติ (* ถ้าต่อท้ายไปในคำนาม เราก็จะเรียกว่า นามวิภัตติ จะได้พูดถึงในตอนหน้า)
ในประโยคของภาษาพม่า มักจะมี กริยา ในรูปของ กริยาแท้ ปรากฎอยู่ เพื่อแสดง อาการ สภาพ หรือปรากฎการณ์ โดย กริยาแท้ จะไม่แสดงขึ้นมาเลยๆ ในประโยค แต่จะมีตัวต่อท้าย หรือคำบ่งชี้กริยา ที่เรียกว่า กริยาวิภัตติ กำกับไว้ท้ายกริยา โดยนอกจากจะทำหน้าที่บ่งชี้กริยา หรือก็คือทำให้เรารู้ว่า ถ้ามีคำนี้มาต่อท้าย คำด้านหน้าจะเป็นคำกริยา แล้ว ยังอาจแสดงกาลของประโยคได้ด้วย ซึ่งประกอบไปด้วย ปกติกาล อนาคตกาล และ อดีตดาล
กริยาวิภัตติปกติกาล တယ်
ปกติกาล หรือหมายถึง การแสดงปัจจุบันกาล มีกริยาวิภัตติ คือ တယ် แด่ ซึ่งใช้สำหรับประโยคบอกเล่าเท่านั้น โดยมีรูปแบบการใช้งาน ร่วมกับ กริยาในประโยค เป็นดังนี้คือ
กริยาหลัก + တယ်
ดูตัวอย่างการใช้งาน (ตัวอย่างด้านล่าง เราใช้เครื่องหมาย ။ เรียกว่า ပုဒ်မ โป้ดมะ หรือเครื่องหมายจบประโยค)
ကတယ် ။ — ก้ะ แด่ — เต้น,รำ
စတယ် ။ — ซ้ะ แด่ — เริ่ม
ဝတယ် ။ — ว้ะ แด่ — อิ่ม,อ้วน
ဆာတယ် ။ — ซ่า แด่ — หิว
နာတယ် ။ — หน่า แด่ — เจ็บ
ဝါတယ် ။ — หว่า แด่ — เหลือง(ออกสีเหลือง,อร่าม)
နေတယ် ။ — เหน่ แด่ — อาศัย
ဝေတယ် ။ — เหว่ แด่ — แจก
ကားတယ် ။ — กา แด่ — กาง
စားတယ် ။ — ซา แด่ – กิน
တားတယ် ။ — ตา แด่ — ห้าม
နားတယ် ။ — นา แด่ — ผักผ่อน
ဝါးတယ် ။ — วา แด่ — เคี้ยว
ယားတယ် ။ — ยา แด่ — คัน
စေးတယ် ။ — เซ แด่ — เหนียว
ဆေးတယ် ။ — เซ แด่ — ล้าง
ဝေးတယ် ။ — เว แด่ — ไกล
ကယ်တယ် ။ — แก่ แด่ — ช่วย(ชีวิต)
ငယ်တယ် ။ — แหง่ แด่ — เยาว์(อายุน้อย)
ဝယ်တယ် ။ — แหว่ แด่ — ซื้อ
จากที่เราพอรู้มาบ้างแล้วว่า รูปประโยคของภาษาพม่า จะอยู่ในรูปแบบ
ประธาน + กรรม + กริยา
ดังนั้น ถ้าเป็นประโยคบอกเล่าส่วนใหญ่ เมื่อมีการลงท้ายด้วยคำกริยา เราก็มักจะได้ยินคำว่า แด่ ปิดท้ายประโยคเสมอ
โครงสร้างประโยคพื้นฐานของภาษาพม่าข้างต้น ประธาน ไม่จำเป็นต้องมาก่อน กรรม เสมอไป อาจจะอยู่ในรูป
กรรม + ประธาน + กริยา
ก็ได้ เช่น ต้องการเน้น คำนาม ที่เป็นกรรม และจะมีการใช้งาน นามวิภัตติ เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเราจะพูดถึงในบทถัดไป
คำว่า วิภัตติ ถ้าเทียบกับภาษาไทย และอังกฤษ ก็คือ ปัจจัย หรือ (Suffix) คำที่ต่อท้าย นอกจากจะมีคำต่อท้ายแล้ว ก็ยังจะมี คำอุปสรรค (Prefix) หรือคำที่วางไว้ด้านหน้า หรือรวมถึง คำคุณศัพท์ คำวิเศษณ์ หรือกริยาช่วยต่างๆ อีกด้วย ดังนั้น ให้เราค่อยๆ ศึกษาไป
ยกตัวอย่างประโยค
ကျွန်တော် ထမင်း စားတယ်။ – จะหน่อ ทะมิน ซา แด่ — ฉันกินข้าว
หรือแยกเป็นโครงสร้างประโยคได้เป็น
ประธาน + กรรม + กริยา + กริยาวิภัตติ
ကျွန်တော် + ထမင်း + စား + တယ်
ฉัน + ข้าว + กิน
ตัวบ่งชี้ประโยคบอกเล่า ก็คือ တယ်
กริยาช่วย နေ
นอกจากรูปแบบข้างต้น ยังมี การใช้งาน กริยาช่วย เข้ามาเสริมกริยา เพื่อต้องการแสดงสภาวะ หรือเวลา เช่น อยาก ต้อง ควร ลอง สามารถ มัก จะ กำลัง แล้ว (ทำ)ดู (ทำ)ให้ (ทำ)ไหว (ทำ)เป็น เป็นต้น โดย กริยาช่วย จะวางในรูปแบบดังนี้
ประธาน + กรรม + กริยา + กริยาช่วย + กริยาวิภัตติ
บางครั้งกริยาช่วย อาจเป็นกริยาแท้ได้ ในที่นี้จะกล่าวถึง กรืยาช่วย နေ เหน่ ที่แปลว่า กำลัง.. หมายถึง กำลังจะทำอะไรอยู่ หรือแปลว่า …อยู่ ตัวอย่าง กินอยู่ นอนอยู่ กำลังกิน กำลังเดิน เป็นต้น ดูตัวอย่าง เมื่อใช้กับประโยคที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
ကျွန်တော် ထမင်း စားနေတယ်။ – จะหน่อ ทะมิน ซา เหน่ แด่ — ฉันกำลังกินข้าว
หรือแยกเป็นโครงสร้างประโยคได้เป็น
ประธาน + กรรม + กริยา + กริยาช่วย + กริยาวิภัตติ
ကျွန်တော် + ထမင်း + စား + နေ + တယ်
ฉัน + ข้าว + กิน + กำลัง
ตัวอย่างเพิ่มเติม
ကနေတယ် ။ — ก้ะ เหน่ แด่ — กำลังเต้นอยู่
စားနေတယ် ။ — ซา เหน่ แด่ — กำลังกินอยู่
နားနေတယ် ။ — นา เหน่ แด่ — กำลังผักผ่อนอยู่
ယားနေတယ် ။ — ยา เหน่ แด่ — กำลังค้นอยู่
ဝယ်နေတယ် ။ — แหว่ เหน่ แด่ — กำลังซื้ออยู่
ဝေနေတယ် ။ — เหว่ เหน่ แด่ — กำลังแจกอยู่
กริยาช่วย စေ
กริยาช่วย စေ เซ่ ใช้งานในรูปแบบคล้าย နေ โดยความหมายสามารถจำแนกได้ใน 2 นัย คือ ถ้าประกอบคำกริยาอาการ จะสื่อความหมายถึงว่า ยอมให้กระทำ อาจเทียบได้กับคำว่า (ยอม)ให้..
ဝယ်စေတယ် ။ — แหว่ เซ่ แด่ — ให้ซื้อ
နေစေတယ် ။ — เหน่ เซ่ แด่ — ให้อาศัยอยู่
စားစေတယ် ။ — ซา เซ่ แด่ –ให้กิน
နားစေတယ် ။ — นา เซ่ แด่ — ให้พัก
แต่ถ้าใช้งานร่วมกับ กริยาสภาวะ จะสือความหมายว่าก่อให้เกิด เทียบได้กับคำว่า ทำให้…
နာစေတယ် ။ — หน่า เซ่ แด่ — ทำให้เจ็บ
ဝစေတယ် ။ — ว้ะ เซ่ แด่ — ทำให้อ้วน
ဝါစေတယ် ။ — ว่า เซ่ แด่ — ทำให้เหลือง
ယားစေတယ် ။ — ยา เซ่ แด่ — ทำให้คัน
ความรู้เพิ่มเติม
สรรพนามแทนตัวผู้พูด ในภาษาพม่า จะแบ่งออกเป็นเพศชาย และเพศหญิง เหมือนกับภาษาไทย คำว่า ผม กับ ดิฉัน โดยในภาษาพม่าจะใช้เป็น
ကျွန်တော် — จะหน่อ – ผม
ကျွန်မ — จะม่ะ — ดิฉัน
มีคำนำหน้าชื่อ เป็น
မောင် … — หม่อง… — นาย…
မ … — ม่ะ… — นาง…
กริยาวิภัตติอนาคตกาล မယ်
อนาคตกาล มีกริยาวิภัตติ คือ မယ် แหม่ เทียบได้กับคำว่า จะ ในภาษาไทย เวลาใช้วางไว้ตำแหน่งเดียวกับคำว่า တယ် ใช้บ่งชี้ถึงสิ่งที่จะเกิด สิ่งที่จะทำ ในอนาคตข้างหน้า
စမယ် ။ — ซ้ะ แหม่ — จะเริ่ม
လာမယ် ။ — ลา แหม่ — จะมา
စားမယ် ။ — ซา แหม่ — จะกิน
နားမယ် ။ — นา แหม่ — จะพัก
သေမယ် ။ — เต่ แหม่ — จะตาย
နေမယ် ။ — เหน่ แหม่ — จะอยู่
ပေးမယ် ။ — เป แหม่ — จะให้
မေးမယ် ။ — เม แหม่ — จะถาม
ဆေးမယ် ။ — เซ แหม่ — จะล้าง
သယ်မယ် ။ — แต่ แหม่ — จะขน
ဝယ်မယ် ။ — แหว่ แหม่ — จะซื้อ
ประโยคบอกเล่าอนาคตกาล จะอยู่ในรูปแบบ
ประธาน + กรรม + กริยา +(กริยาช่วย) + မယ်
ดูตัวอย่างรูปประโยคเพิ่มเติม
ကား လာမယ် ။ — กา ลา แหม่ — รถจะมา
ကလေး နာမယ် ။ — ก้ะ เล หน่า แหม่ – เด็กจะเจ็บ
ဘဘ သေမယ် ။ — บ้ะบ้ะ เต่ แหม่ — ลุงจะตาย
မေမေ ငါးစားမယ် ။ — เมเม งา ซา แหม่ — แม่จะกินปลา
မမ ဆေးစားမယ် ။ — ม้ะม้ะ เซ ซา แหม่ — พี่สาวจะกินยา
ဖေဖေ ကားဆေးစေမယ် ။ — เพเพ กา เซ เซ่ แหม่ — พ่อจะล้างรถ
เปรียบเทียบ ปกติกาล กับ อนาคตกาล
လာတယ် ။ — มา / လာမယ် ။ — จะมา
စားတယ် ။ — กิน / စားမယ် ။ — จะกิน
ဆေးတယ် ။ — ล้าง / ဆေးမယ် ။ — จะล้าง
ဝယ်တယ် ။ –ซื้อ / ဝယ်မယ် ။ — จะซื้อ
ปกติกาลแบบมีกริยาช่วย กับ อนาคตกาล
ငါး ဝယ်နေတယ် ။ — กำลังซื้อปลา / ငါး ဝယ်မယ် ။ — จะซื้อปลา
ကား ဆေးနေတယ် ။ — กำลังล้างรถ / ကား ဆေးမယ် ။ — จะล้างรถ
ဘဘ ဆေးစားနေတယ် ။ — ลุงกำลังกินยา / ဘဘ ဆေးစားမယ် ။ — ลุงจะกินยา
သား ကားဆေးနေတယ် ။ — ลูกกำลังล้างรถ / သား ကားဆေးမယ် ။ — ลูกจะล้างรถ
กริยาวิภัตติอดีตกาล ပြီ
อดีตกาล มี กริยาวิภัตติ คือ ပြီ ปหยี แต่เวลาออกเสียงจะออกเสียงเป็น บี่ โดยไม่ควบกล้ำ ြ มีความหมายเทียบได้กับคำว่า แล้ว ในภาษาไทย เป็นการบ่งบี้ถึงอดีตที่สืบทอดมาถึงปัจจุบันแบบสมบูรณกาล
โดยคำกริยาที่เกิดกับ ပြီ มักจะเป็นคำกริยาสภาวะ เช่น แสดงความรู้สึก หิว อิ่ม หรือบอกสภาพ เช่น อ้วน รู้ หรือบางทีก็อาจจะใช้ร่วมกับกริยาอาการบางตัวได้ เช่น ไป มา
ပြီ กับกริยาสภาวะ
ဆာပြီ ။ — ซ่า บี่ — หิวแล้ว
နီးပြီ ။ — นี ปี่ — ใกล้แล้ว
နးပြီ ။ — นะ บี่ — ยุ่ยแล้ว
ပူပြီ ။ — ปู่ บี่ – ร้อนแล้ว
ဝပြီ ။ — วะ บี่ — อ้วนแล้ว
ပြီ กับกริยาอาการ
ဆူပြီ ။ — ซู่ บี่ — เดือดแล้ว
ရပြီ ။ — ย้ะ บี่ – ได้แล้ว
သေပြီ ။ — เต่ บี่ — ตายแล้ว
သိပြီ ။ — ติ บี่ — รู้แล้ว
ပြီးပြီ ။ – ปี บี่ — เสร็จแล้ว
ပြီ อาจแสดงความสืบเนื่องของเหตุการณ์ที่เริ่มแล้ว มาจนถึงปัจจุบัน
စားပြီ ။ — ซา บี่ — (กำลัง)กิน(อยู่)แล้ว
ပြပြီ ။ — ปย้ะ บี่ –(กำลัง)แสดง(อยู่)แล้ว
လာပြီ ။ — หล่า บี่ — (กำลัง)มาแล้ว
ပြီ อาจใช้ร่วมกับ เหน่ เพื่อบ่งชี้ปัจจุบัน แสดงการเป็นหรือเกิดขึ้นอยู่แล้ว เข่น
ပြနေပြီ ။ — ปย้ะ เหน่ บี่ — กำลังแสดงอยู่แล้ว
ဖျားနေပြီ ။ — พยา เหน่ บี่ — กำลังเป็นไข้อยู่แล้ว
မူနေပြီ ။ — มู เหน่ บี่ — กำลังเมาอยู่แล้ว
များနေပြီ ။ — มยา เหน่ บี่ — กำลังมาก
ရယ်နေနေ ။ — แหย่ เหน่ บี่ — กำลังหัวเราะอยู่แล้ว
ရးနေပြီ ။ — ยะ เหน่ บี่ –กำลังบ้าอยู่แล้ว
ဝနေပြီ ။ — ว้ะ เหน่ บี่ — กำลังอิ่มอยู่แล้ว
သီးနေနေ ။ — ตี เหน่ บี่ — กำลังออกผลอยู่แล้ว
รูปแบบการใช้งานในประโยค
ဆီးသီး စားနေပြီ ။ — ซีตี ซา เหน่ บี่ — กำลังกินลูกพุทราอยู่แหละ
နာရီ ယူလာပြီ ။ — หน่ายี ยู หล่า บี่ — เอานาฬิกามาแล้ว
နီးလာပြီ ။ — นี หล่า บี่ — ใกล้เข้ามาแล้ว
မေမေ သိပြီ ။ — เมเม ติ บี่ — แม่รู้แล้ว
သူ လာနေပြီ ။ — ตู หล่า เหน่ บี่ — เขากำลังมาอยู่แล้ว
သမီး ပြေးလာပြီ ။ — ตะมี ปเย หล่า บี่ — ลูกสาวกำลังวิ่งมา
ในเนื้อหาเกี่ยวกับกริยาวิภัตติข้างต้น เราได้รู้จักรูปแบบการใช้งาน วิภัตติในแต่ละกาล ไปแล้ว จะพอสังเกตเห็นได้ว่า ในภาษาพม่า เราสามารถใช้วิภัตติข้างต้นแยกคำกริยาของประโยคออกมาได้ในกรณีที่เราเพิ่งศึกษา เช่น ถ้ามีคำวิภัตตินี้อยู่ในประโยค และอยู่หลังคำไหน เราก็พอเดาเบื้องต้นได้ว่า คำด้านหน้า จะเป็นคำกริยา
นอกจากคำกริยาวิภัตติเที่เราได้กล่าวถึง ยังมีกริยาช่วย เพิ่มเติมที่เราได้กล่าวถึงไปบ้างแล้ว ซึ่งจะวางไว้หน้าคำ กริยาวิภัตติอีกที คือ နေ เหน่ กับ စေ เซ่ ยังมีกริยาช่วยอื่นๆ เพิ่มเติม ที่จะได้นำเสนอต่อไป รอติดตาม