ก่อนหน้านี้เราได้รู้จักกริยาวิภัตติสำหรับบ่งชี้กาลอของกริยาว่าเป็นปัจจุบันกาลหรือปกติวิสัย อนาคตกาล และอดีตกาลไปแล้ว เราได้รู้จักกริยาช่วย ที่ใช้สำหรับขยายความให้กับกริยาหลัก ซึ่ง กริยานำ ก็เหมือนกริยาช่วย เพียงแต่ว่า เราวางไว้ด้านหน้าของคำกริยาหลัก เป็นการนำมาใช้กรณีว่าเกิดการกระทำหรืออาการ 2 ลักษณะ พร้อมๆ กันหรือในเวลาไล่เลี่ยกัน หรืออาจเกี่ยวเนื่องกัน เช่น มากิน มาถาม ให้กิน ซื้อกิน เป็นต้น
รูปแบบของกริยาวลีที่มีการนำกริยานำในประโยค
กริยานำ + กริยาหลัก + (กริยาช่วย) + กริยาวิภัตติ
ตัวอย่างกรณีที่ไม่มีกริยาช่วย
ဝယ်စားတယ် ။ — ซื้อกิน
ဝါးစားတယ် ။ — เคี้ยวกิน
ပေးစားတယ် ။ — ให้กิน
ပေးနေတယ် ။ — ให้อาศัย(อนุญาต)
လာစားတယ် ။ — มากิน
လာမေးတယ် ။ — มาถาม
စဝတယ် ။ — เริ่มอ้วน
စဝယ်တယ် ။ — เริ่มซื้อ
စဆေးတယ် ။ — เริ่มล้าง
ตัวอย่างที่มีทั้ง กริยานำ กริยาหลัก และ กริยาช่วย
ဝယ်စားနေတယ် ။ — กำลังซื้อกิน
ဝါးစားနေတယ် ။ — กำลังเคี้ยวกิน
ပေးစားနေတယ် ။ — กำลังให้กิน
ဝယ်စားစေတယ် ။ — ให้ซื้อกิน
ဝါးစားစေတယ် ။ — ให้เคี้ยวกิน
กริยาหลายหน้าที่
เมื่อรูปประโยคมีส่วนของคำกริยาต่างๆ มาเกี่ยวข้อง และบางกริยาบางตัวก็ทำหน้าที่ในหลายหน้าที่ ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน และการวางตำแหน่งของกริยานั้น เช่น อาจจะใช้เป็นกริยานำ หรือเป็นกริยาหลัก หรือแม้แต่เป็นกริยาช่วย ซึ่งก็คือ ถ้านำไปวางหน้ากริยาหลัก ก็จะทำหน้าที่เป็นกริยานำ ถ้าวางไปหลังกริยาหลัก ก็จะเป็นกริยาช่วย หรือแม้แต่ถ้าไปวางอยู่ด้านหน้ากริยาช่วย ก็จะทำหน้าที่เป็นกริยาหลัก แบบนี้ เป็นต้น
ตัวอย่างเปรียบเทียบ
การใช้งาน လာ หล่า
แปลว่า มา ในรูปแบบ กริยาหลัก
แปลว่า …มา ในรูปแบบกริยาช่วย
และ แปลว่า มา… ในรูปแบบกริยานำ ตามลำดับ
ဘဘ လာတယ် ။ — ลุงมา
ဘဘ ဝယ်လာတယ် ။ — ลุงซื้อมา
ဘဘ လာဝယ်တယ် ။ — ลุงมาซื้อ
မေမေ လာတယ် ။ — แม่มา
မေမေ သယ်လာတယ် ။ — แม่ขนมา
မေမေ လာသယ်တယ် ။ — แม่มาขน
ဖေဖေ လာတယ် ။ — พ่อมา
ဖေဖေ စားလာတယ် ။ — พ่อกินมา
ဖေဖေ လာစားတယ် ။ — พ่อมากิน
မဝါ လာတယ် ။ — มะหว่ามา
မဝါ မလာတယ် ။ — มะหว่ายกมา
မဝါ လာမတယ် ။ — มะหว่ามายก
การใช้งาน ပေး เป
แปลว่า ให้ ในรูปแบบ กริยาหลัก
แปลว่า …ให้ ในรูปแบบกริยาช่วย
และ แปลว่า ให้… ในรูปแบบกริยานำ ตามลำดับ
မမ ပဝါပေးမယ် ။ — พี่สาวจะให้ผ้าคลุมไหล่
မေးပေးမယ် ။ — จะถามให้
ပေးမေးတယ် ။ — ให้ถาม
ဖေဖေ ကားပေးမယ် ။ — พ่อจะให้รถ
သယ်ပေးတယ် ။ — จะขนให้
ပေးသယ်တယ် ။ — ให้ขน
ဘဘ ဆေးပေးမယ် ။ — ลุงจะให้ยา
ဆေးဝယ်ပေးမယ် ။ — จะซื้อยาให้
ဆေးပေးဝယ်တယ် ။ — ให้ซื้อยา
ကားဆေးပေးမယ် ။ — จะล้างรถให้
ကားပေးဆေးတယ် ။ — ให้ล้างรถ
မပေးတယ် ။ — ยก(ของ)ให้
ပေးမတယ် ။ — ให้ยก(ของ)
นอกจากนั้นในบางตัว ตำแหน่งอาจจะไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่การทำหน้าที่เปลี่ยนไปตามการใช้งานของประโยค โดยสามารถทำหน้าที่ได้ทั้งสองแบบคือ อาจจะเป็นได้ทั้งกริยาช่วย หรือกริยาแท้ ยกตัวอย่าง
การใช้งาน နေ เหน่
แปลว่า อยู่ โดยประโยคเดียวกัน แต่สามารถมองความหมายได้ใน 2 รูปแบบ โดยหาก နေ เหน่ เป็นกริยาช่วย คำนำหน้า နေ เหน่ ก็จะเป็นกริยาหลัก แต่ถ้าหาก နေ เหน่ เป็นกริยาหลัก คำนหน้า နေ เหน่ ก็จะเป็นกริยานำ
—————— กริยาช่วย —- กริยาหลัก
စနေတယ် ။ — กำลังเริ่ม — เริ่มอาศัย
လာနေတယ် ။ — กำลังมา — มาอาศัย
ပေးနေတယ် ။ — กำลังให้ — ให้อาศัย
การใช้งาน ပြန် ปยะ
แปลว่า กลับ ถ้าใช้งานในรูปแบบ กริยาหลัก
แปลว่า …อีกแล้ว ถ้าใช้งานในรูปแบบ กริยาช่วย หรือลักษณะการทำซ้ำ
แปลว่า อีกครั้ง,ใหม่อีก ถ้าใช้งานในรูปแบบ กริยานำ ในลักษณะการทำซ้ำ
ပြန်ခေါ်ပါ ။ — เรียกใหม่ซิ
ပြန်ပြောပါ ။ — พูดใหม่ซิ
ပြန်ရေးပြီ ။ — เขียนใหม่แล้ว
ပြန်လာမယ် ။ — จะมาใหม่
ပြန်မေးနေတယ် ။ — กำลังถามใหม่
การใช้งาน လိုက် ไล่
แปลว่า ตาม ถ้าใช้งานในรูปแบบ กริยาหลัก
แปลว่า …เลย,..ไปเลย ถ้าใช้งานในรูปแบบ กริยาช่วย เป็นลักษณะการยืนยันให้กระทำใดๆ
แปลว่า (ทำ)ตาม หรือ ตาม(ไปทำ) ถ้าใช้งานในรูปแบบ กริยานำ
လိုက်ဆိုပါ ။ — พูดตามซิ,ว่าตามซิ
လိုက်ရေးပါ ။ — เขียนตามซิ
လိုက်ကြည့်မယ် ။ — จะตามไปดู
လိုက်လာမယ် ။ — จะตามมา
စာလိုက်မေးတယ် ။ — ตามไปถามหนังสือ
လိုက်ဝယ်ပေးတယ် ။ — ตามไปซื้อให้
การใช้งาน ထပ် ท่ะ
ความหมายเทียบได้กับ ซ้ำอีก คล้ายกับกริยานำ ပြန် ปยะ ที่กล่าวไปแล้วด้านบน
ထပ်ခေါ်နေတယ် ။ — เรียก(ซ้ำ)อีกครั้ง
ထပ်ပေးတယ် ။ — ให้(ซ้ำ)อีกครั้ง
ထပ်ပြောပါ ။ — ช่วยพูด(ซ้ำ)อีกครั้ง
ထပ်တောင်းနေတယ် ။ — ขอ(ซ้ำ)อีกครั้ง
ထပ်တွေ့ချင်တယ် ။ — อยากพบอีกครั้ง
ထပ်လှောင်ထားတယ် ။ — กักไว้(ซ้ำ)อีก
ထပ်သွားချင်တယ် ။ — อยากไป(ซ้ำ)อีก
การใช้งาน ဆက် แซ่ะ
แปลว่า ต่อ,ติดต่อ ถ้าใช้งานในรูปแบบ กริยาหลัก
แปลว่า …ต่อไป,…สืบไป ถ้าใช้งานในรูปแบบ กริยานำ
ဆရာမက ဆက်ပြောမယ် ။ — ครูจะพูดต่อ
ပြိုင်ပွဲ ဆက်ပြိုင်နေတယ် ။ — งานแข่งขันกำลังแข่งขันต่ออยู่
ဖေဖေ ဒီအလုပ် ဆက်လုပ်မယ် ။ — พ่อจะทำงานนี้ต่อ
ဘွားဘွားက ဒီမှာ ဆက်နေမယ် ။ — ย่าจะอยู่ที่นี่ต่อ
မောင်မောင် စာ ဆက်ကျက်နေတယ် ။ — หม่องๆ กำลังอ่านหนังสือต่อ
သူက ဘန်ကောက်ကို ဆက်သွားမယ် ။ — เขาจะไปกรุงเทพต่อ
จากรูปแบบการใช้งานกริยานำ และกริยาช่วย เราอาจจะพอสังเกตได้เบื้องต้นว่า กริยาที่ขึ้นก่อน จะเหมือนเป็นการกระทำ หรืออาการที่เกิดขึ้นก่อน แล้วตามด้วยกริยาอาการในลำดับถัดไป หรือกริยาที่ตามหลัง อย่างไรก็ตามกริยานำ หรือกริยาช่วยบางตัว ก็ให้ความหมายในรูปแบบที่แตกต่างไปได้ เช่น เป็นการทำซ้ำจากการกระทำเดิม เป็นต้น